หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 / การจัดการความรู้ บัณฑิตวิทยาลัย / Crack Click KM / เทคนิคการออกแบบกระบวนการพัฒนาชุดโครงการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ
|
|
|||||
องค์ความรู้ โดย ผศ.ดร. กิติกร จามรดุสิต กล่าวถึง Become an Excellent Researcher ว่า ผู้วิจัยต้องรู้จักนิยามของตัวเอง เช่น “knowledge production investment in (industrial) research by profit maximizing firms” อีกส่วนหนึ่งของผู้วิจัย คือ อาศัยประสบการณ์ในการทำงานวิจัย ส่วนที่เป็นจุดเริ่มต้นและความสำคัญทางวิชาการ ซึ่งเข้าใจว่าความสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของงานวิจัย คือ การเป็นงานวิชาการ การได้กองทุนสนับสนุน ซึ่งหมายความว่า การได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จึงจัดโครงการขึ้น โดยแต่ก่อนเริ่มจากการที่นักธุรกิจและนักวิจัยในทะเลแดง ทำการศึกษา ผู้ที่สามารถทำการศึกษาวิจัยที่เป็นสิ่งใหม่ แปลก และเกิดขึ้นใหม่จะมีชื่อเสียง แต่ปัจจุบันผู้ทำงานวิจัยเป็นกลุ่มอาจารย์ หรือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยันได้คือ ทุน ฉะนั้น ในปีหนึ่ง ๆ วช. มีการเปิดทุนรับทำโครงการวิจัย ถ้าจำเพาะกลุ่มอาจารย์ทั่วประเทศประมาณ 3,000 คน ที่ต้องเข้าระบบคิดเป็นเงินหลายพันล้าน จึงไม่แปลกว่าทำไมงานวิจัยบางเรื่องจึงไม่ได้ถูกเผยแพร่ การทำวิจัยผมเชื่อว่า 1) ผู้ทำวิจัยต้องมีความรู้พอสมควร สามารถอธิบายรายละเอียดที่เป็นที่มา ความสำคัญของงานวิจัย สิ่งที่ผมชอบอย่างหนึ่งของนักวิจัย คือ การทำการศึกษาค้นคว้างานวิจัย เพื่อตอบโจทย์ปัญหาของงานวิจัย 2) การใช้โจทย์พลิกปัญหาเพื่อสร้างคุณค่าให้กับงานวิจัย ถือว่าเป็นจุดประกายของ จินตนาการ (Inspiration) ซึ่งเป็นการสร้างจินตนาการของตัวเอง สร้างแรงบันดาลในสู่เป้าหมาย
ทำไมต้องทำวิจัย สิ่งหนึ่งที่เป็นที่เข้าใจ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่จำเป็นที่ผู้วิจัยจะเป็นอาจารย์หรือนักวิจัย สังเกตเห็นได้จาก การตอกไข่ โดยพยายามสังเกตว่า ตอกอย่างไร อย่างนี้ถือเป็นปัญหาไปสู่งานวิจัย แต่งานวิจัยเป็นงานวิชาการจึงมีขั้นตอนกระบวนการที่ชัดเจน มีองค์ประกอบ หลักฐานที่เป็นผลการวิจัยชี้ชัด สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพอันเป็นผลจากการศึกษา และการวิจัยซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบการอ้างอิงได้ วิจัย => ศึกษา (ปัญหา) => แก้ปัญหา => สู่การพัฒนา
ประเด็นในการทำวิจัยและวัตถุประสงค์ในการวิจัย การพัฒนาชีวิต คือ มนุษย์คงความเป็นมนุษย์ทุกขั้นตอนที่เปลี่ยนแปลงเกิดจากการมีความรู้และใช้ความรู้ในการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา กล่าวคือการศึกษาเป็นเครื่องมือ การวิจัยคือการสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศ โดย หาปัญหา => ทำวิจัย => ผลวิจัย => สร้างสรรค์ปัญญา => ใช้ปัญญา => พัฒนาประเทศ Output => Outcome => Impact => Change การทำงานวิจัยมิใช่เพราะชื่อเสียง แต่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความเจริญของประเทศ แม้กระทั่งการบังคับใช้กฎหมาย วงการศึกษา และความเป็นอยู่ของสังคม โดยประเทศไทยต้องเริ่มจากระบบการศึกษาที่อยู่ในกรอบ เพื่อระเบิดจุดประกายสู่ภายนอก
คนพัฒนาได้เพราะวิจัยสร้างทักษะ - การค้นหาข้อมูล - การเรียบเรียง พัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูล - การวางแผนงาน - การจัดเวลาวิจัย - การสื่อสารทางเทคนิค - ปฏิสัมพันธ์กับคนหลายระดับ
ประเภทของงานวิจัย - Basic Research: วิจัยเพื่อค้นหาความรู้ใหม่ - Research and development (R & D): วิจัยเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน - Supply Push - Demand pull or market pull
องค์ความรู้ โดย คุณเวชยันต์ เฮงสุวณิช กล่าวถึง การเริ่มต้นกระบวนการวิจัย โดยต้องเริ่มจากการสร้างชุดโครงการวิจัย => ประเมินผลก่อนการวิจัย (เขียนโครงร่างการวิจัย) => ได้รับทุน => ดำเนินการวิจัย (มีคณะกรรมการติดตามการดำเนินการวิจัย) => ประเมินหลังการวิจัย => (ถ้างานวิจัยดี) เผยแพร่การวิจัย โดยการเขียนบทความจากงานวิจัย => ได้รับรางวัล (แสดงถึงความเป็นเลิศของผลงาน) โดยก่อนการวิจัยต้องคำนึงถึงการคิดโจทย์การวิจัยนั้น ว่าทำเรื่องวิจัยอย่างไร กำหนดประเด็นงานวิจัยอย่างไรจึงจะสร้างเป็นชุดโครงการขึ้นมา การกำหนดโจทย์การวิจัยจะต้องคำนึงถึง 1. กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ปัจจุบันฉบับที่ 8 พ.ศ. 2555-2559 2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 3. นโยบายของรัฐบาล 4. ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานตนเอง การเขียนโจทย์การวิจัยนั้น อย่าคำนึงถึงแต่ตนเอง ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ที่นำไปใช้ ต้องหาคนที่มีส่วนร่วมมาร่วมทำการวิจัยด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์และนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม (เน้นสังคม) ได้แก่ สังคมเข้มแข็ง คุณภาพชีวิต หน้าที่ตาม Job description พัฒนาสมรรถภาพ ท้องถิ่นมีภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง ปฏิรูปการศึกษา กระบวนการเรียนการสอน ฯลฯ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งท้องถิ่นใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือเน้นไปทางด้านการเกษตร ได้แก่ สร้างมูลค่าผลผลิตทางเกษตร และพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและการพึ่งพาตนเองของสินค้าเกษตร พัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสาธารณะ ฯลฯ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์เสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทำอย่างไรให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และให้ชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ สร้างองค์ความรู้ เน้นที่ดิน น้ำ ภัยพิบัติธรรมชาติ และด้านอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนานวัตกรรมและบุคลากรทางการวิจัย โดยเน้นองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี สังคม โดยคิดว่าทำอย่างไรให้บุคลากรสร้างองค์ความรู้ใหม่ เช่นการจัด KM ยุทธศาสตร์ที่ 5 การปฏิรูประบบวิจัยเพื่อการบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัย สร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ทรัพยากร และภูมิปัญญาของประเทศ สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสมเข้าถึงประชาชนและประชาสังคมอย่างแพร่หลาย เน้นการนำไปสู่เชิงพาณิชย์ ให้เกิด outcome และ impact ในการทำวิจัยให้ได้
กลุ่มเรื่องวิจัยเร่งด่วน นับว่าสำคัญมาก เนื่องจากปี 2555 เป็นต้นไป จะจัดสรรงบประมาณการวิจัยแบบบูรณาการ ประกอบไปด้วย - ประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง - ความมั่นคงของรัฐ และเสริมสร้างธรรมาภิบาล - การปฏิรูปการศึกษา และสร้างสรรค์การเรียนรู้ - การจัดการทรัพยากรน้ำ - ภาวะโลกร้อนและพลังงานทางเลือก - การเพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตรเพื่อการส่งออก - การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฯ - บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมฯ - เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม - การบริหารจัดการการท่องเที่ยว - สังคมผู้สูงอายุ - ระบบโลจิสติกส์ - การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ การจัดทำและพัฒนาชุดโครงการวิจัย ประกอบไปด้วยโครงการวิจัยมากกว่า 1 โครงการขึ้นไป แต่ละโครงการย่อยทั้งหมด เมื่อประมวลแล้วจะมีวัตถุประสงค์เดียวกัน มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน คล้ายคลึงกัน โดยจะหลอมรวมเป็นชุดโครงการวิจัยที่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นวงกว้างและสำเร็จเด็ดขาดกว่าโครงการเดี่ยว องค์ประกอบชุดโครงการวิจัย - แบบเสนอโครงแผนงานวิจัย (ชุดโครงการิวิจัย) - โครงการย่อย วัตถุประสงค์หลักในโครงการหลักควรมีข้อเดียว แต่ให้นำรายละเอียดไปใส่ในโครงการย่อย หลังจากเขียนโครงร่างงานวิจัยเรียบร้อยแล้ว ก็ดำเนินการส่งขอทุน => อนุมัติทุน => ดำเนินการวิจัย ภายใต้การติดตามจากแหล่งทุน => สิ้นสุดการดำเนินการวิจัย จะมีการประเมินผลจากผู้ทรงคุณวุฒิว่างานวิจัยมีคุณภาพอยู่ในระดับใด คือ พิจารณาคุณภาพโดยรวมของผลงานวิจัย จากนั้นผู้วิจัยอาจจะเผยแพร่ โดยการเขียนรายงานเพื่อเผยแพร่ อาจจะลงในวารสารที่ สกอ. ยอมรับ รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ นักวิจัยดีเด่น ผลงานวิจัยดีเยี่ยม วิทยานิพนธ์ สิ่งประดิษฐ์
องค์ความรู้ โดย ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช กล่าวถึงประสบการณ์การทำวิจัย และตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ เรื่องที่องค์การนาซ่าส่งยานอวกาศขึ้นไปสำรวจอวกาศ แต่ปรากฏว่าปากกาที่ใช้เขียนไม่สามารถเขียนได้ นาซ่าจึงใช้เวลา 7 เดือนในการพัฒนาหมึกที่ใช้เขียนในอวกาศได้จนสำเร็จ นี่เป็นตัวอย่างงานวิจัยเชิงพัฒนา ซึ่งประเทศรัสเซียประสบปัญหาเดียวกัน แต่รัสเซียไม่ได้ทำวิจัย แต่ใช้ดินสอแทน การวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างไร มีปัจจัยมากมายที่ต้องคำนึงถึง เรื่องที่สอง มีนักวิจัยคนหนึ่งกินเหล้าทุกวัน วันแรก Black label กับโซดา วันที่ 2 Red label กับโซดา วันที่ 3 ชีวาส กับโซดา วันที่ 4 แม่โขงกับโซดา ปรากฏว่าเมาทั้ง 4 วัน สรุปผลการวิจัยว่า โซดาเป็นปัจจัยที่ทำให้คนเมา เรื่องที่สาม อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุเดือนตุลาคม พวกท่านทราบไหมอะไรเป็นปัจจัยหลัก คำตอบคือ ยาหยอดตา เพราะว่าจอมพลประภาส ถูกขับไล่ออกนอกประเทศ แต่ตาของท่านเสียต้องใช้ยาหยอดตาของหมออุทัย คนทางนี้ไม่ยอมส่งยาไปให้ ท่านจึงต้องกลับมาประเทศไทย จนนักศึกษาเกิดการประท้องและเกิดเหตุการณ์นองเลือด ซึ่งเห็นชัดว่าการวิจัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสังคมศาสตร์ที่ไม่มีความแน่นอน คือเป็นทฤษฎีซึ่งสามารถลบล้างได้ในภายหลัง โดยสามารถพิสูจน์ได้จากการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงตาม กล่าวคือ การวิจัยคือ การพยายามทดแทนความเห็นด้วยความรู้แบบไม่หยุดยั้ง ลักษณะของนักวิจัยที่ดี - ต้องคำนึงถึงคิดปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ - จัดกลุ่มความสำคัญ และการเกี่ยวข้องตามลำดับก่อนหลัง - ให้ความสนใจ ใช้เวลากับข้อมูลพื้นฐานให้มาก ซึ่งต้องอาศัยความพยายาม ความอดทนในการได้มาซึ่งข้อมูล เช่นในแต่ละปีจะมีการจัดสรรงบประมาณไปยังกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เราจึงจะได้ตัวเลขเรื่องงบประมาณมา ซึ่งมีนักวิชาการท่านหนึ่ง ชื่อ Grand Bright ศึกษาเรื่องการจัดสรรงบ โดยที่หน่วยงานใหญ่จะได้งบมาก ซึ่งจะดูย้อนหลังในการจัดสรรให้เป็นเวลา 10 ปี แต่ก็ยังมีนักวิจัยที่ศึกษาถึงเหตุผลว่าเป็นจริงหรือไม่ จึงเข้าไปศึกษาเรื่องนั้นเพื่อพิสูจน์และค้นหาความจริง โดยศึกษาลึกลงไประดับจังหวัด เปรียบเทียบจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดกับจังหวัดที่เล็กที่สุด รวมถึงจังหวัดขนาดกลาง บางครั้งนักวิจัยทำไม่สำเร็จ เพราะได้รับข้อมูลบกพร่อง เช่นครั้งหนึ่ง ปี 2520 มีเหตุการณ์ทางการเมืองที่น่าสนใจ คือมีนายทหารชื่อ เติร์ก โดยอยากรู้ว่าเป็นใคร มีบทบาทอะไรบ้าง ซึ่งก็มีทฤษฎีต่าง ๆ ที่เป็นการรองรับโดยสมาคมที่รู้จักในตอนนั้น ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างหายาก หรือบางกรณีย้ายที่อยู่ไปแล้ว ทำการศึกษาเหตุการณ์ประกอบในขณะนั้น จึงต้องพยายามหาข้อมูล แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงขนาดไหนก็ตาม เช่น อุตสาหกรรมที่จังหวัดระยองในขณะนี้ โดยได้รับคำสั่งจาก พล.อ.เปรม ในการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หรือการไปพบผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำขึ้น แสดงให้เห็นว่า นักวิจัยต้องมีส่วนร่วมกับปัญหา พร้อมชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ถูกวิจัยด้วย ไม่เฉพาะต้องมีจริยธรรมในการไม่คัดลอกงานวิจัยเท่านั้น แต่ตองมีจริยธรรมในการเข้ามีส่วนร่วมในการเผชิญปัญหาและต้องนำผลการวิจัยที่ได้จากการวิจัยแจ้งกลับด้วยว่าเป็นอย่างไร เพื่อสามารถที่จะนำไปใช้ในการพัฒนา ดังนั้น งานวิจัยทางสังคมศาสตร์จึงต้องใช้วิจารณญาณและระมัดระวังในการนำเสนอข้อมูล โดยเริ่มต้นจากการสำรวจปัญหาในบ้านเมืองที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ที่เห็นได้ชัด คือ ปัญหาทางการเมืองในขณะนี้โดยเฉพาะการลงคะแนนเลือกตั้ง ดูว่ามีความรู้ในการเลือกมากน้อยเพียงใด ปัญหานี้จะกระจายไปยังองค์กรท้องถิ่น ซึ่งเป็นอำนาจทางการเมืองที่สะสมมานาน หรือถูกกระจุกตัวอยู่ในระดับใด นักวิจัยจึงน่าจะเป็นตัวเติมเต็มในองค์ประกอบที่ขาดหายไปในสังคม ว่างานวิจัยนั้นเป็นองค์ความรู้ที่แท้จริงหรือไม่ จะเห็นได้ว่า อาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องทำวิจัยระหว่างการสอนด้วย จุดประสงค์ของการทำวิจัย การทำวิจัยควรทำเพื่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อการพัฒนาซึ่งจะได้นำมาซึ่งทุนสนับสนุนหรือเพื่อรายได้ หรือการนำความรู้ไปเขียนหนังสือ งานวิจัยแบบบูรณาการที่ดี - ผู้ร่วมทำการวิจัย แบบสหสาขาวิชา - นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือองค์ความรู้ใหม่ - การวางกรอบในงานวิจัยให้ชัดเจน - คำนึงถึงความน่าสนใจของหัวข้อที่เลือกทำงานวิจัย ในการทำวิจัยอย่างคิดให้ซับซ้อนเกินไปนัก สิ่งสำคัญที่ต้องบอกในงานวิจัยคือ ข้อจำกัด |