เนื่องจากกองกลาง สำนักงานอธิการบดี มีหน้าที่ดูแล รับผิดชอบครุภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 3,276 รายการ โดยประมาณ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ค. 2565) และมีการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์เป็นแบบบันทึกด้วยมือตามแบบฟอร์มที่กำหนดโดยระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ ต่อมาจึงใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ซึ่งช่วยให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นในการจัดเรียงข้อมูล ค้นหาข้อมูล แต่ด้วยรายละเอียดที่มีมากและความต้องการที่หลายหลายที่จะดึงข้อมูลมาใช้งาน จึงพบปัญหาต่างๆ เช่น ครุภัณฑ์ของกองกลาง ร้อยละ 70 ไม่มีการเขียนรหัสบนตัวครุภัณฑ์ ข้อมูลสถานที่จัดเก็บในแบบฟอร์มการตรวจนับจากระบบ ERP ไม่ตรงตามความเป็นจริง ครุภัณฑ์หลายรายการที่พบว่ามีเลขรหัสแต่ไม่มีครุภัณฑ์ จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้กองกลางไม่สามารถนำส่งรายงานผลการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปีได้ทันตามกำหนด ทำให้องค์กรหรือหน่วยงาน ต้องเรียนรู้และนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานในองค์กรหรือหน่วยงานของตน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารงานอย่างมากในปัจจุบัน ต่อมาในปี2565-2566 ได้นำโปรแกรมสำเร็จรูประบบทะเบียนคุมครุภัณฑ์ เข้ามาบริหารจัดการครุภัณฑ์ของกองกลางและมีการทำงานบนร่วมกันบน Google Drive เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สะดวก รวดเร็ว และเชื่อมโยงถึงกันได้มากขึ้น อีกทั้งลดความเสี่ยงในการสูญหายของข้อมูล