Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


แนวทางการดำเนินงาน Library Transform : Users Digitalization : ห้องสมุด

                 ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มงานห้องสมุด เกิดจากการรวมตัวของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด โดยมีลักษณะงาน คือ การจัดหา จัดเตรียมและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ Library transform : Users Digitalization เพื่อเตรียมความพร้อมในส่วนงานต่าง ๆ ของห้องสมุดให้สอดรับต่อการเป็นมหาลัยดิจิทัล โดยเป็นการต่อยอดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในปีงบประมาณ 2566 เรื่อง Library transform เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด เพื่อพัฒนาสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัลที่เต็มรูปแบบ ซึ่งจาก
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบประเด็นในการพัฒนางานห้องสมุด 4 ประเด็นหลัก คือ 1) ด้านบริการ (Service) 2) ด้านเนื้อหา รูปแบบของเนื้อหา 3) ด้านพฤติกรรมผู้ใช้ 4) ด้านผู้ให้บริการ ซึ่งจากประเด็นที่ได้ค้นพบ ในปีงบประมาณ 2566 ทางกลุ่มงานห้องสมุด ได้เลือกดำเนินการด้านบริการก่อน คือ Library transform : be digitize เพื่อหาแนวทางการให้บริการระบบห้องสมุดออนไลน์ Hibrary และใน
ปีงบประมาณ 2567 ได้เลือกดำเนินการด้านพฤติกรรมผู้ใช้ เพื่อหาแนวทางส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้เท่าทันในสังคมดิจิทัล ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ และเวลา มีสารสนเทศที่หลากหลาย ผู้ใช้บริการจึงต้องมีทักษะในการเลือกใช้ และใช้ได้อย่างถูกต้องในสภาพแวดล้อมออนไลน์ มีความเข้าใจในความปลอดภัยและจริยธรรมทางดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ใช้บริการให้สอดรับการเป็นมหาลัยดิจิทัลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
              กลุ่มงานห้องสมุด ได้ดำเนินงานจัดการความรู้ตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สกัดองค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในส่วนของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากห้องสมุด ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศให้กับผู้ใช้บริการ ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับ
ผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว สร้างจุดเชื่อมโยงการเข้าถึงสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการต้องการ การสร้างฐานข้อมูล บริการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์และบริการออนไลน์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เสริมสร้างพฤติกรรมการใช้สารสนเทศดิจิทัลที่ถูกต้องและปลอดภัย เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้ใช้ในปัจจุบันและสอดรับกบั นโยบายของมหาวิทยาลัยที่จะพัฒนาสู่การเปน็ มหาวิทยาลัยดิจิทัล