หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 / กลุ่มบุคลากรสายวิชาการ / รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบดิจิทัล : วิทยาลัยการเมืองฯ

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบดิจิทัล : วิทยาลัยการเมืองฯ

        
Views: 17
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 14 Oct, 2024
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
Updated: 04 Nov, 2024
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.

            มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจหนึ่งในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับแนวหน้า โดยมุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ทั้งให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและสังคมนานาชาติ ซึ่งเป็นไปตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ สมดั่งวิสัยทัศน์ที่ว่า “แม่แบบที่ดีของสังคม” ทางด้านการสอนวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จนเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บัณฑิตและสังคมสู่การเป็นเอตทัคคะที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ การที่มหาวิทยาลัยจะสามารถดำเนินภารกิจตามบทบาทหน้าที่ให้บรรลุผลได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยจะต้องมีความคล่องตัวและมีความอิสระในการดำเนินงานทั้งด้านการบริหารวิชาการ บริหารงบประมาณ และบริหารทรัพยากรต่าง ๆ และมีเสรีภาพทางวิชาการสามารถคิดค้น แสวงหาความรู้ เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการให้กับชุมชนและสังคม ตลอดจนประเทศชาติจนสามารถแข่งขันกับนานาอารยประเทศได้ควบคู่กับความรับผิดชอบ (accountability) ที่มหาวิทยาลัยพึงมีต่อสังคมและประเทศชาติ ภายใต้การกำกับและตรวจสอบโดยรัฐและประชาชน การบริหารจัดการเพื่อจัดการศึกษาระดับปริญญาของมหาวิทยาลัยจึงต้องมีเอกภาพทั้งในเชิงนโยบาย มีระบบการจัดการที่ดี มีระบบธรรมาภิบาล (good governance) และโปร่งใสมีการกระจายอำนาจ (empowerment) ให้ส่วนงานภายในสามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างเป็นระบบโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สนับสนุนและผลักดันให้ทุกหลักสูตรสามารถพัฒนาศักยภาพและมีความแข็งแกร่งทางวิชาการตามศาสตร์แห่งวิชาชีพได้อย่างเต็มที่
            ด้วยเหตุนี้เองจึงนำมาสู่แนวคิดการควบรวมหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตแขนงวิชาการปกครองท้องถิ่น แขนงวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ แขนงวิชาบริหารภาครัฐและเอกชน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สังกัดวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้อยู่ภายในส่วนงานเดียวกัน เพื่อร่วมกันผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความเป็นเลิศทางวิชาการในศาสตร์ทางด้านกฎหมาย การเมืองการปกครอง และการบริหารงานภาครัฐทั้งทางทฤษฎีและทางปฎิบัติ มีทักษะ ทางวิชาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรม ปัจจุบันวิทยาลัยการเมืองและการปกครอง เปิดสอนหลักสูตรจัดการเรียนการสอน จำนวนทั้งสิ้น 8 หลักสูตร จำแนกเป็นหลักสูตรปริญญาตรี จำนวน 5 หลักสูตร ปริญญาโท จำนวน 2 หลักสูตร ปริญญาเอก จำนวน 1 หลักสูตร

       

Attached files
file KM-Teaching.15.pdf (474 kb)
Others in this Category
document การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบ Hyflex : คณะครุศาสตร์
document รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบดิจิทัล HyFlex Learning : คณะวิทยาศาสตร์
document การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
document การจัดการเรียนรู้แบบ (Active Learning) : คณะวิทยาการจัดการ
document เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ : คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ
document การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : คณะศิลปกรรมศาสตร์
document การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : บัณฑิตวิทยาลัย
document การเรียนรู้ข้อมูลหลักสูตรเพื่อการแนะแนวรับสมัครนักศึกษายุคดิจิทัล : วิทยาลัยนวัตกรรมฯ
document การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำวิจัยเพื่อการเผยแพร่ทางวิชาการ : วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมฯ
document การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation Based Learning : SBL) : วิทยาลัยพยาบาลฯ
document รูปแบบการจัดการเรียนด้วยระบบ Hyflex Classroom : วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
document การสร้างหลักสูตรระยะสั้นร่วมกับเครือข่าย : วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
document การใช้ Project Based Learning เพื่อสนับสนุนการประกวดและได้รับรางวัลระดับชาติของนักศึกษาฯ : วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
document การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบ Hyflex : วิทยาลัยโลจิสติกส์ฯ
document การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ : โรงเรียนสาธิต
document การนำผลงานวิจัย งานนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน : คณะครุศาสตร์
document การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนด้วย BCG Model กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) : คณะวิทยาศาสตร์ฯ
document การสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับ 1-1500 (QS Ranking) : คณะมนุษยศาสตร์ฯ
document รูปแบบการบริการวิชาการการวิจัยที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน : คณะวิทยาการจัดการ
document การเขียนบทความวิจัยให้ได้การตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ : คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ
document รูปแบบการบริการวิชาการที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน : คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ
document การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอก : คณะศิลปกรรมศาสตร์
document รูปแบบการจัดหารายได้จากการบริการวิชาการ : คณะศิลปกรรมศาสตร์
document รูปแบบการวิจัยและบริการวิชาการที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนที่ผ่านการสกัดความร ู้จากกลุ่มความรู้ : บัณฑิตวิทยาลัย
document การบูรณาการสร้างเครือข่ายบริการวิชาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การพัฒนาบท ความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ : วิทยาลัยนวัตกรรมฯ
document การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ : วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมฯ
document แนวการสร้างรูปแบบการบริการวิชาการที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน : วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมฯ
document การจัดทำวารสารวิชาการเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI : วิทยาลัยพยาบาลฯ
document การตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารในประเทศ และต่างประเทศที่อยู่ในฐานข้อมูลTCI และ SCOPUS : วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
document การเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ : วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
document การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนด้วย BCG Model กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) : วิทยาลัยโลจิสติกส์ฯ
document การพัฒนางานสร้างสรรค์สู่งานวิจัย : วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์
document การเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง : วิทยาลัยการเมืองฯ
document การสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับ 1 - 1500 (QS Ranking) : วิทยาลัยการเมืองฯ