หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 / กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ / กลุ่มวิทยาเขตนครปฐม / วิธีการเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดรายบุคคลของบุคลากร
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ) ด้วยบุคลากรของวิทยาเขตนครปฐมและวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จะได้รับการประเมินด้วยเกณฑ์ของหน่วยงาน เพื่อนำมาพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปี และปรับเงินเดือน ซึ่งจะแตกต่างกับหน่วยงานตามโครงสร้าง หรือหน่วยงานที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้บริหารคาดหวังที่จะกำหนดเกณฑ์หรือตัวชี้วัดที่สามารถประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน ๒. วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อเป็นเครื่องมือวัดประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานต่อไป ๒) ผู้บริหารสามารถใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้ เป็นเครื่องมือในการวัด/ประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือน และเงินรางวัลประจำปีได้ ๓. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ๓.๑ สภาพการปฏิบัติงานเดิม ไม่มีตัวชี้วัดและวิธีการเก็บข้อมูล สำหรับการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ไม่สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน ๓.๒ สภาพการปฏิบัติงานใหม่ บุคลากรมีตัวชี้วัดรายบุคคลตามงานที่ปฏิบัติ มีวิธีการเก็บข้อมูลที่เหมาะสมกับงาน รวมทั้งแบบเก็บข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ สามารถสรุปและประเมินผลสำเร็จของงานที่ทำได้อย่างชัดเจน ๔. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป) ¨ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน ¨ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ¨ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน þ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ ๕. ข้อควรระวัง (ถ้ามี) - ๖. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ) สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์ความรู้นี้ แก่บุคลากรทุกฝ่าย/ทุกคน ๗. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ) บุคลากรทุกคนให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นอย่างดี ๘. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ) มีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและวิธีการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดอย่างเหมาะสม สามารถนำไปใช้งานได้จริง ๙. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ) จากเดิมไม่มีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน แต่เมื่อนำกระบวนการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้ร่วมกันคิดและกำหนดตัวชี้วัดตามภาระงานของตัวเอง มีวิธีการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดอย่างเหมาะสม มีระเบียบ แบบแผน ทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้บริหารได้นำไปใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรเงินรางวัล (โบนัส) ประจำปี และปรับขึ้นเงินเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๑๐. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) บุคลากรให้ความสำคัญกับการดำเนินงานจัดการความรู้ และให้ความร่วมมือในทุกๆกิจกรรมของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันระดมความคิด เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวชี้วัด วิธีเก็บข้อมูล และแบบเก็บข้อมูลที่สมบูรณ์แบบที่สุด ๑๑. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ) มีการพัฒนา/ปรับปรุงตัวชี้วัดและแบบเก็บข้อมูลเพื่อให้เป็นปัจจุบัน ทันต่อสถานการณ์การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ได้ตัวชี้วัดและแบบเก็บข้อมูลที่เสถียรและสมบูรณ์แบบที่สุด สามารนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง |
|
||
a_eAI__i_COA_Ue____eACO___O_a_c__eIAU__OA.pdf (1.62 mb) |