|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริม สมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาตนอันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและในระดับอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะตามที่กำหนดโดยเร็ว กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ดังนี้ 1. ขยายโครงการพิเศษด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ได้แก่ (1) English Program (EP) (2) Mini English Program (MEP) (3) International Program (IP) สำหรับ ผู้เรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง (4) English Bilingual Education (EBE) โดยจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และศิลปศึกษาแบบสองภาษา (ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ) และ (5) English for Integrated Studies (EIS) ด้วยการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็น ภาษาอังกฤษ 2. พัฒนาห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Enrichment Class) เพื่อให้ผู้เรียนที่มี ศักยภาพทางภาษาอังกฤษสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทางสังคม (Social Interaction) และด้านวิชาการ (Academic Literacy) และพัฒนาห้องเรียนสนทนาภาษาอังกฤษ (Conversation Class) ที่เน้นทักษะการฟังและการพูดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรและรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับประกอบอาชีพ โดยเฉพาะสำหรับผู้เรียนที่จะจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และในโรงเรียนขยายโอกาส 3. จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เช่น (1) การเข้าค่ายภาษาอังกฤษแบบเข้ม ระยะ 2-4 สัปดาห์ (84-170 ชั่วโมง) ในช่วงปิดภาคเรียน สำหรับนักเรียนทั่วไป และค่ายนานาชาติสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถสูง (2) การเพิ่มชั่วโมงเรียน การเรียนอย่างต่อเนื่อง ครึ่งวัน/ทั้งวัน/หรือมากกว่านั้น รวมทั้ง (3) การจัดสภาพแวดล้อม/บรรยากาศที่ ส่งเสริม/กระตุ้นการฝึกทักษะการสื่อสาร เช่น English Literacy Day, English Zone, English Corner, การประกวดแข่งขันต่างๆ ป้ายสารนิเทศ และการเพิ่มกิจกรรมการอ่านในและนอกห้องเรียน ด้วยเนื้อหาสาระที่หลากหลาย เป็นต้น 4. ให้มีการเรียนการสอนวิชาสนทนาภาษาอังกฤษเป็นการทั่วไป และมีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น รวมถึงจัดให้เป็นสาระเพิ่มเติมในลักษณะวิชาเลือกได้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจความถนัดและศักยภาพ วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาที่ดำเนินการตามหลักพันธกิจ 4 ด้าน คือ ให้การศึกษา วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมถึงให้การบริการวิชาการแก่หน่วยงานภายนอก เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาให้กับบุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งบุคลากรในสังกัดต่างๆ ด้วยวิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มีหลักสูตรการสอนภาคภาษาอังกฤษ จึงมีความรู้ ความสามารถ และเทคนิคต่างๆ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ทั้งเทคนิคการสอน รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาภาษาอังกฤษต่างๆ จากความสำคัญดังกล่าว วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ จึงได้กำหนดการจัดตั้งกลุ่มองค์ความรู้ กระบวนการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านภาษา เพื่อยกระดับการพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านภาษาให้กับหน่วยงานสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ 2. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการการให้บริการวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาในด้านภาษาต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ 3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม 3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่
4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป) £ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน £ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน þ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ 5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี) 6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ให้เหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน เช่น ระดับอนุบาล จะให้มีกิจกรรมการสังเกตระดับชั้นประถมศึกษา จะมีการเรียนการสอนในหนังสือประกอบกับกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษา จะเป็นการเรียนการสอนตามหนังสือ ตำรา และเสริมสร้างกิจกรรมการออกแบบความคิดสร้างสรรค์ เป็นกลุ่ม 7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ) นักเรียนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น 8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ) 1. นักเรียนมีความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ 2. นักเรียนมีความสนใจในรายวิชาภาษาต่างประเทศ 3. บุคลากรของสถานศึกษาสามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศได้ 9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ) ประโยชน์ขององค์ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ได้รับองค์ความรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์สูงหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารการศึกษา การจัดกิจกรรมเสริมทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน นำแนวทางและกระบวนการพัฒนาฯ ไปใช้ในการบริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สู่การเป็นโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านภาษา ปีการศึกษา 2563 โดยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนในห้องเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ ส่งผลให้ผู้เรียนมาความสนใจในการเรียนวิชาภาษาต่างประเทศมากยิ่งขึ้น มีเจ้าของภาษาชาวต่างชาติเป็นผู้สอนนักเรียน, การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างชาติต่างๆ, การจัดกิจกรรมเสริมนอกห้องเรียน ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความกล้าแสดงออก และชื่นชอบในการเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น 10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) การทำงานเป็นทีม การร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกกลุ่มความรู้ ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จหลักของการทำกิจกรรมนี้ เนื่องจากสมาชิกของกลุ่มความรู้ฯ มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการโครงการได้อย่างหลากหลาย สมาชิกกลุ่มความรู้ฯ ร่วมกันระดมความคิด จนเกิดเป็นองค์ความรู้ กระบวนการ วิธีการที่นำมาสู่ความสำเร็จของกิจกรรม KM 11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ) กลุ่มความรู้ฯ เตรียมที่จะพัฒนากระบวนการการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาต่อไป โดยดำเนินการในด้านการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด |