Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


การสนับสนุนการเรียนการสอนแบบระบบออนไลน์

องค์ความรู้

…...การสนับสนุนการเรียนการสอนแบบระบบออนไลน์......

เลขที่เอกสาร (ถ้ามี)

วันที่รายงาน

22 กันยายน 2564

ประเภท

£ การจัดการเรียนการสอน

£ การวิจัย

R การพัฒนาการปฏิบัติงาน

คณบดี/ผู้อำนวยการ

หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้าฝ่าย

จัดทำโดย

รศ.ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์

นางสาวน้ำทิพย์ กลีบบัวบาน

นางสาวรุจเรศ พินธุวัฒน์

1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 แม้ในช่วงแรกจะไม่ส่งผลกระทบต่อการศึกษามากนักเพราะเป็นช่วงระยะเวลาที่สถาบันการศึกษาส่วนมากปิดภาคการศึกษา 2/2562 เรียบร้อยแล้ว แต่ก็จะมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ได้รับผลกระทบหลังจากมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง มีประกาศปิดการเรียนการสอนและงดจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในสถาบัน รวมถึงมีการเลื่อน ยกเลิกการเรียนการสอน การสอบวัดผลปลายภาค 2/2562 ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 

     หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ไม่มีทีท่าจะยุติการแพร่ระบาดลงง่ายๆ ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาคือการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนที่ดำเนินการในเดือนเมษายน 2563 สถาบันต่างๆ ซึ่งรวมถึงวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจึงได้เริ่มมีการจัดประชุมเพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ ด้วยการใช้โปรแกรมการประชุมออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่างๆ คือ Google Meet, ZOOM Cloud Meetings, Skype, Slack และ Microsoft Team เป็นต้น

     จากนโยบายที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา SSRU Next ที่มุ่งเน้นให้บุคลากรสายวิชาการได้มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการมุ่งเน้นการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมออนไลน์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการได้ตอบสนองนโยบายในด้านดังกล่าวเป็นอย่างดี ด้วยการจัดการอบรมบุคลากรสายวิชาการด้วยโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาทักษะและเทคนิคการสอนที่ทันสมัยในศตวรรษที่ 21 ด้วยการเชิงวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมออนไลน์ของ Google มาเป็นวิทยากรบรรยายให้รู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้โปรแกรมออนไลน์ต่างๆ

     อีกทั้ง วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการได้มีการเปิดโอกาสทางการศึกษา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มนักศึกษาต่างประเทศ ซึ่งวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษาจีนที่เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทำให้นักศึกษาจีนไม่สามารถเข้ามาศึกษายังประเทศไทยได้ วิทยาลัยจึงได้ใช้การเรียนการสอนออนไลน์สำหรับนักศึกษาจีนแบบเต็มรูปแบบเพื่อเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาในกลุ่มดังกล่าว

          ดังนั้น เพื่อให้สนับสนุนด้านการจัดการสอนด้วยระบบออนไลน์เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน กลุ่มงาน CIM Support จึงเห็นความสำคัญในการปรับปรุง แก้ไขส่งเสริมการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์จึงได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อหาวิธีการ ขั้นตอน หรือการดำเนินงานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ดี

2. วัตถุประสงค์

1) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (องค์ความรู้) จากที่อยู่ในตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพื่อสนับสุนนการจัดการเรียนการสอนระบบออนไลน์

2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

          3) เพื่อให้ได้คู่มือการปฏิบัติที่ดีในการสนับสนุนการเรียนการสอนระบบออนไลน์

3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

          สภาพการปฏิบัติงานใหม่

4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)

          R การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน

          £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

          R พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

          R สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)

          ไม่มี

6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)

          องค์ความรู้ที่อยู่ภายในองค์กร ที่อยู่ภายในตัวบุคคล best practice คือ นายชนะอัญญ์ อุไรรักษ์ และนายวชิรศักดิ์ ถิ่นทวี เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับสมาชิกกลุ่มที่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือมีประสบการณ์อยู่แล้วบางส่วน นำความรู้ไปทดลองใช้ เมื่อทดลองใช้ พร้อมกับเรียนรู้จากภายนอกเพิ่มเติม นำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อีกครั้ง โดยมี best practice นำ กำกับ ถอดบทเรียนที่ได้ และนำมาจัดทำเป็นคู่มือการใช้งานระบบ ZOOM Cloud Meetings ทั้งนี้ เนื่องด้วยเป็นบุคคลากรด้วยกันเอง ทำให้ช่องว่างในการสอบถามตลอดจนมีความเป็นกันเอง ส่งผลให้สามารถสอบถามได้ง่าย กล้าถาม หรือถามได้บ่อย

7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)

          มีการสร้างความรู้ ให้กับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการทุกคนในวิทยาลัย จำนวน 19 คน เพื่อที่บุคลากรทุกคนสามารถให้การสนับสนุนการเรียนการสอนแบบระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings ได้

โดยนายชนะอัญญ์ อุไรรักษ์ และนายวชิรศักดิ์ ถิ่นทวี ซึ่งเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ และเป็นคุณวิศาสตร์ของกลุ่มได้ถ่ายถอดความรู้ผ่านการเล่าเรื่อง การพูด-คุยแลกเปลี่ยนรู้ ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ในเวลา และนอกเวลา เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมทำแบบสอบถามวัดระดับความรู้ เพื่อการจัดลำดับการให้ความรู้กับบุคลากรได้ถูกระดับตามความรู้ของบุคลากร จัดเวร ลงปฏิบัติงานจริงตามตารางเรียน โดยให้ผู้ที่มีความรู้ระดับขั้นสูง จำนวน 3 คน เป็นพี่เลี้ยงกำกับเพื่อน จนบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการทุกคนให้สนับสนุนการเรียนการสอนแบบระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings ในระดับเบื้องต้นได้

8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)

1. คู่มือ ขั้นตอนการใช้โปรแกรม ZOOM Cloud Meetings

2. วิจัย เรื่อง การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)

ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) กลุ่ม CIM Support องค์ความรู้เรื่อง การสนับสนุนการเรียนการสอนแบบระบบออนไลน์ ภายหลังจากได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความรู้ที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมเป็นลายลักษณ์อักษรคือ คู่มือ ขั้นตอนการใช้โปรแกรม ZOOM Cloud Meetings ทั้งนี้ ความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวบุคลากรทุกคนคือ บุคลากรทุกคนสามารถสนับสนุนการเรียนการสอนแบบระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings ได้ ตลอดจนนำโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings มาใช้ในการปฏิบัติงานอื่นๆ เช่น ประชุมติดตามผลงานในฝ่ายของตน ประชุมกลุ่มย่อยกับเพื่อนเพื่อปรึกษางานต่าง ๆ หรือแม้แต่การจัดประชุมอย่างเป็นทางการในการประชุมบุคลากรประจำวิทยาลัย กิจกรรมตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา การวิพากษ์หลักสูตร หรือมีแต่จัดกิจกรรมอบรม เป็นต้น

10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) 

1. ผู้บริหารให้ความสำคัญตลอดจนมอบนโยบายสู่การปฏิบัติ พร้อมเป็นผู้ให้ความรู้ ให้ข้อมูล เพื่อการดำเนินงานอย่างเต็มที่

2. ความร่วมมือบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ตลอดจนคณาจารย์ที่เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปฝึกปฏิบัติงานจริง อาจติดขัดในช่วงแรก ๆ แต่ก็ได้เรียนรู้ร่วมกัน

11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)

วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการมีนโยบายที่จะกำหนดรูปแบบจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ - แพลตฟอร์ม CIM-dU ที่เป็นของวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการเอง