หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 / กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ / กลุ่มสำนัก GE / แนวทางการพัฒนากระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบจากผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ผู้สอน
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ) การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นกระบวนการหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพคลังข้อสอบ ซึ่งเป็นการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบเป็นรายข้อ เพื่อพิจารณาว่าข้อสอบแต่ละข้อนั้น มีระดับความยากหรือค่าความง่าย (Difficulty index or Easiness) และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (Disciminant index) เพียงใด รวมทั้งพิจารณาถึงประสิทธิภาพของตัวลวงในข้อเลือกตอบของข้อสอบข้อนั้นด้วย ผลการวิเคราะห์จะทำให้ทราบว่าข้อสอบแต่ละข้อมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ข้อสอบที่มีคุณภาพจะสามารถนำไปวัดและประเมินผลได้อย่างเที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามบริบทการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป รวมถึงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและส่งผลให้บุคลากรภายในองค์กรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างเหมาะสม จึงเห็นควรมีการจัดการความรู้ เรื่อง แนวทางพัฒนากระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ เพื่อหาแนวทางพัฒนากระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบจากผู้ปฏิบัติงานแลอาจารย์ผู้สอนที่มีคุณภาพพร้อมทั้งสามารถประยุกต์ใช้หลักการจัดการความรู้ รวมถึงการศึกษาและค้นหาแนวทางในการพัฒนากระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ พร้อมทั้งนำมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบและเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร 2. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปฯ/ ข้อสอบ ขั้นตอนที่ 2 จัดประชุมเตรียมความพร้อมอาจารย์ผู้สอน เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน โดยเรื่องข้อสอบ เป็นส่วนหนึ่งของการประชุม ขั้นตอนที่ 3 อาจารย์ผู้สอนออกข้อสอบ ขั้นตอนที่ 4 ตรวจทานข้อสอบ ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ 3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปฯ/ ข้อสอบ/ ทบทวนคลังข้อสอบ ขั้นตอนที่ 2 ประชุมเตรียมความพร้อมคณะดำเนินงานและผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและการประเมินผล และด้านการออกข้อสอบ ขั้นตอนที่ 3 กำหนดกรอบและเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาคุณภาพข้อสอบ ขั้นตอนที่ 4 จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการออกข้อสอบ การวัดและประเมินผล หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ขั้นตอนที่ 5 อาจารย์ผู้สอนออกข้อสอบ ขั้นตอนที่ 6 ตรวจทานข้อสอบ ขั้นตอนที่ 7 นำข้อสอบให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 8 ทดลองใช้และวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ ขั้นตอนที่ 9 คัดเลือกข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์เก็บลงในคลังข้อสอบ 4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป) £ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน £ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน £ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ 5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี) การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีผลต่ออาจารย์ผู้สอนและการออกข้อสอบ 6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ) กลุ่มความรู้ได้ดำเนินงานภายใต้กระบวนการการจัดการความรู้ 6 ขั้นตอน
7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ) กลุ่มความรู้แนวทางพัฒนากระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบได้นำข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ มาปรับกระบวนการ/วิธีการปฏิบัติงาน เรื่อง แนวทางพัฒนากระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ และสรุปองค์ความรู้ เรื่อง แนวทางการพัฒนากระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ จากผู้ปฏิบัติงานแลอาจารย์ผู้สอน จัดทำเป็นกระบวนการ/วิธีปฏิบัติงาน เรื่อง กระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ ที่พร้อมเผยแพร่ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องนำสู่การปฏิบัติ โดยมีกระบวนการ/วิธีการปฏิบัติงาน 8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ) ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพที่สามารถนำไปสร้างเป็นคลังข้อสอบได้ 9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ) 1. ช่วยสร้างองค์ความรู้ขององค์กรให้เป็นระบบและได้มาตรฐาน เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถของบุคลากรสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ 2. การจัดการความรู้จะช่วยรักษาประสิทธิภาพระบบการทำงานขององค์กรให้ดำเนินต่อไปได้ 3. ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานและความซับซ้อนของงาน 4. ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงานส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพสูงและมีความมั่นใจในการทำงานในองค์กร 5. ได้เอกสารองค์ความรู้ เรื่อง แนวทางการพัฒนากระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ จากผู้ปฏิบัติงานแลอาจารย์ผู้สอน พร้อมทั้งนำมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบและเผยแพร่ 10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) กำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะการสร้างการมีส่วนร่วมของทีมงานส่งผลต่อการตัดสินใจและการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลและชัดเจน 11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ) สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปฯ ได้จัดทำและพัฒนาระบบจัดสอบออนไลน์ รวมถึงการสร้างคลังข้อสอบเพื่อใช้สอบวัดความรู้แก้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนของรายวิชาศึกษาทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กระบวนการในการจัดสอบและข้อสอบนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการวัดและประเมินผล รวมถึงการนำไปจัดทำงานวิจัย R2R ในปีถัดไป |
|
||
E___I__i_COA_Ue2564_NEW.pdf (397 kb) |
|
||
เทคนิคการจัดการระบบ GE Smart Classroom สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ |