หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 / กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ / กลุ่มสำนัก GE / เทคนิคการจัดการระบบ GE Smart Classroom สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ) สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ มีพันธกิจหลักคือจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไประดับปริญญาตรีภาคปกติ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และบริการวิชาการตามความต้องการของหน่วยงานและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถประยุกย์ใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ จึงได้รับมอบหมายจากสำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ สื่อประกอบการเรียนการสอน และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป และอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ให้กับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเรียนการสอนแบบออนไลน์มาประยุกต์กับการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในปัจจุบัน จึงได้ทำการพัฒนาระบบ GE Smart Classroom สำหรับสำนักวิชาการศึกษาทั่วไปฯ เพื่อรองรับการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนในรูปแบบออนไลน์ได้ อีกทั้งยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น แบบทดสอบออนไลน์ได้ สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เห็นความสำคัญของกระบวนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ดังกล่าว ดังนั้นฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ จึงได้จัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติกลุ่มความรู้เทคนิคการจัดการระบบ GE Smart Classroom สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ องค์ความรู้เรื่องเทคนิคการจัดการระบบ GE Smart Classroom สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ ให้มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมีความสามารถในการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดการระบบ GE Smart Classroom สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ 2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานเทคนิคการจัดการระบบ GE Smart Classroom สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ 3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม ใช้ระบบ GE Smart Classroom ในการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนแบบออนไลน์ สำหรับการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป 3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่ ใช้ระบบ GE Smart Classroom ในการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนแบบออนไลน์ ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยมีการให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและคะแนนแบบทดสอบ สำหรับการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป 4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป) R การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน £ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน R สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ 5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี) ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ สัญญาณอินเทอร์เน็ตและระบบการถ่ายทอดสดต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ระหว่างที่มีการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้เรียนและผู้สอนเกิดความพึงพอใจในการใช้งาน 6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ) จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นต่อการเรียนรู้ ได้แก่ คะแนน และจำนวนนักศึกษา 7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ) กลุ่มความรู้ได้เทคนิคจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ GE Smart Classroom โดยได้องค์ความรู้เป็นคู่มือการจัดการเรียนการสอน GE Smart Classroom และ Model การจัดการเรียนการสอน GE Smart Classroom 8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ) จากผลการศึกษาโดยกลุ่มความรู้ได้นำเทคนิคจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ GE Smart Classroom และ Model การจัดการเรียนการสอน GE Smart Classroom ไปใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาต้นแบบ 1 รายวิชา ได้แก่ รายวิชา GEN0102 สุนทรียภาพของชีวิต ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2563 พบว่าความพึงพอใจของผู้ใช้งานอยู่ในระดับดี โดยเทคนิคที่นำมาใช้นี้เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่มีจำนวนจั้งแต่ 100-200 คน 9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ) ประโยชน์ที่ได้รับของกลุ่มความรู้การพัฒนาเทคนิคการจัดการระบบ GE Smart Classroom สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ ได้แก่ การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานของบุคลากรในการเช็ครายชื่อเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาที่เรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการชั้นเรียนในรูปแบบออนไลน์ และเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ)
11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ) เนื่องจากสำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และไม่ได้ให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน จึงไม่ได้นำระบบ GE Smart classroom มาใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป แต่หากสำนักฯ มีการเพิ่มคะแนนการเข้าชั้นเรียนจึงสามารถนำเทคนิคการจัดการระบบ GE Smart Classroom สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ มาใช้งานอีกครั้งในอนาคต |
|
||
GE_Smart_Classroom.pdf (2.63 mb) |
|
||
แนวทางการพัฒนากระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบจากผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ผู้สอน |