|
||
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ) กลุ่มงานห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นกลุ่มของสมาชิกที่ปฏิบัติงานในด้านทางวิทยาศาสตร์ โดยหน้าที่หลักของนักวิทยาศาสตร์คือคอยอำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่มีความประสงค์จะใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ เครื่องมือ สารเคมีต่าง ๆ ในการทำงานวิจัย ปัญหาที่พบในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มาจากการจัดการกับสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนของแต่ละสาขาวิชา ซึ่งเกิดความหลากหลายของสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อน ทำให้นักศึกษาไม่สามารถแยกประเภทของสารเคมีปนเปื้อนได้อย่างถูกต้อง การบ่งชี้ที่ไม่ชัดเจนทำให้การรวบรวมสารเคมีปนเปื้อน ในการส่งกำจัดเกิดความล่าช้า นอกจากนี้ไม่มีการจัดทำระบบบันทึกข้อมูลปริมาณสะสมของสารเคมีปนเปื้อนที่เกิดขึ้นทำให้ต้องมีการสำรวจปริมาณสะสมก่อนการทำเรื่องขออนุมัติส่งกำจัด ทำการปฏิบัติงานต่าง ๆ ล่าช้า เกิดการสะสมของปริมาณสารเคมีปนเปื้อนมากเกินความจำเป็น จึงได้มีการกำหนดวิธีการแยกประเภทของสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อน ส่วนกลางเพื่อให้การแยกประเภทของสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนเป็นไปในทางทิศทางเดียวกัน และมีการจัดทำระบบบันทึกข้อมูลของปริมาณสะสมสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนผ่านระบบ Google Form เพื่อให้ทราบภึงปริมาณสะสมของสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อนมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนที่เกิดขึ้นภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการและฐานข้อมูลประมาณสะสมของสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์ 2.2 ศึกษาความรู้ ความเข้าใจในการใช้ระบบเพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ แยกประเภทสารเคมีปนเปื้อนแตกต่างกันตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา จนเกิดประเภทของสารเคมีปนเปื้อนมากเกินความจำเป็น ไม่มีการบันทึกปริมาณสะสมของสารเคมีปนเปื้อนจนมีปริมาณสะสมเกินความสามารถในการส่งกำจัด 3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่ มีการกำหนดประเภทของสารเคมีปนเปื้อนซึ่งเป็นการแยกประเภทตามบริษัทที่รับกำจัดสารเคมีปนเปื้อน มีการกำหนดสติ๊กเกอร์แยกสีตามชนิดของสารเคมีปนเปื้อน มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลบันทึกปริมาณสะสมของสารเคมีปนเปื้อน 4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป) £ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน £ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน £ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ 5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี) ควรมีการสำรวจการคัดแยกชนิดของสารเคมีปนเปื้อนจากแหล่งรับกำจัดสารเคมีบริษัทอื่น ๆ เพื่อให้การแยกประเภทสารเคมีปนเปื้อนตอบสนองต่อความต้องการของบริษัทรับกำจัดได้อย่างเหมาะสม 6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ) การขอรับคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อขอทราบแนวทางในการนำความรู้มาจัดการกับปัญหา และทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของข้อมูลที่จะนำมาแก้ไขปัญหาของกลุ่มโดยกำหนดประเภทการจำแนกสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อน และมีการขอรับคำแนะนำจากบริษัทที่รับกำจัดสารเคมีปนเปื้อน เพื่อให้การทำงานสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับกำจัดได้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งจัดทำระบบบันทึกข้อมูลของปริมาณสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนผ่านช่องทาง Google Form ขึ้นซึ่งเป็นวิธีการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุด 7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ) ระบบการจัดการสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อน ช่วยให้การแยกประเภทของสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อน มีความชัดเจนและทุกห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มีการแยกประเภทของสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ) ระบบการจัดการสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อน ช่วยให้การแยกประเภทของสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อน เป็นไปตามความต้องการของบริษัทที่จะเข้ามารับไปกำจัด ลดระยะเวลาในการคัดแยกสารเคมี 9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ) การบ่งชี้ขั้นตอนวิธีการในการจัดการสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อน ที่ชัดเจน ครอบคลุม ทำให้การจัดการสารเคมีปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามเป้าหมายที่ทางกลุ่มห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ตั้งไว้ 10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) ความร่วมมือของสมาชิกทุกคนในกลุ่มห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในการประชุม แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ปัญหา ในการทำงาน รวมทั้งร่วมกันค้นคว้าหาแนวทางในการจัดการกับปัญหาเพื่อให้มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในการแนะนำแนวทาง การรวบรวมข้อมูล การกลั่นกรองข้อมูล การจัดทำระบบให้มีความสมบูรณ์ รวมไปถึงการสนับสนุนจากผู้บริหาร 11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ) ความสมบูรณ์ของระบบการจัดการสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ความครอบคลุมของข้อมูลในการจัดทำระบบการจัดการสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ความต่อเนื่องของการดูแลระบบการจัดการสารเคมีปนเปื้อน สารเคมีเสื่อมสภาพ และภาชนะปนเปื้อนจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เที่รับผิดชอบในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ |