Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


การส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้าน ICT ของนักศึกษาวิชาชีพครู

£ บุคคล ชื่อ - สกุล...................................... ตำแหน่ง................................ หน่วยงาน...........................

þ ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) กลุ่มหลัก การพัฒนานักศึกษา กลุ่มย่อย ที่ 3

หัวข้อการจัดการความรู้ (KM)

การส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้าน ICT ของนักศึกษาวิชาชีพครู

องค์ความรู้

การส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้าน ICT ของนักศึกษาวิชาชีพครู

เลขที่เอกสาร (ถ้ามี)

วันที่รายงาน

13 กันยายน 2564

ประเภท

£ การจัดการเรียนการสอน

£ การวิจัย

þ การพัฒนาการปฏิบัติงาน

คณบดี/ผู้อำนวยการ

หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้าฝ่าย

จัดทำโดย

ผศ.ดร.กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์

นางรวินันท์ พระยาน้อย

นางสาวอรดี หอมวงศ์

1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)

การจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนานักศึกษา ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตราฐานระดับอุดมศึกษา ตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์  ด้านที่ 5  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ให้กับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในด้าน การศึกษา ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนและการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานทางการศึกษามากยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มความรู้การพัฒนานักศึกษา จึงให้ความสำคัญกับพัฒนาส่งเสริมคุณภาพนักศึกษา

กลุ่มการพัฒนานักศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนและการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานทางการศึกษา ยุคศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนและการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานทางการศึกษา

2. วัตถุประสงค์

          2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.2 เพื่อพัฒนาศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีกับการวัดและประเมินผลของนักศึกษา

3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

          จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ICT เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) ในหัวข้อ การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ อิเลิกทรอนิกส์สำหรับการตรวจข้อสอบ โดยใช้ แอพพลิเคชั่น ZIP Grade และ Google From ให้กับนักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 – 5 และศิษย์เก่า โดยมีนักศึกษาลงทะเบียนเข้ารับการอบรม 311 คน

4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)

          £ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน

          £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

          þ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

          £ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)

การดำเนินการจัดการความรู้ ปัญหาคือ เรื่องเวลาเนื่องจากสมาชิกมีภาระหน้าที่งานที่รับผิดชอบ และอยู่ต่างหน่วยงานทำให้สมาชิกบางท่านไม่สามารถร่วมประชุมได้ และเกิดปัญหาโรคระบาด (COVID-19) ทำให้ไม่ได้จัดกิจกรรม ได้หลากหลาย

6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)

แอพพลิเคชั่นที่ใช้ทางการศึกษาการใช้งาน ZIP Grade

Zip Grade เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจคำตอบประเภทปรนัยที่แสดงผลลัพธ์แบบทันที โดยใช้ร่วมกับกระดาษที่ทางแอปพลิเคชันนี้ ได้ทำขึ้น สำหรับใช้ในการประเมินผลต่างๆ เช่น exit tickets, formative assessments หรือควิซทั่วไป โดยทั่วไปการตรวจข้อสอบปรนัยอาจใช้เวลาและต้องมาทำผลทางสถิติอีก Zip Grade ถือเป็นตัวช่วยในการลดภาระงานและเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้สอนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการใช้งาน Zip Grade แบบฟรีมีข้อจำกัด คือ รองรับการสแกนคำตอบได้แค่เดือนละ 100 ครั้งเท่านั้น

โดย Zip Grade มีจุดเด่น ดังนี้

  • ใช้ smartphone หรือ tablet ในการสแกนเพื่อตรวจคำตอบ
  • สามารถรองรับคำตอบที่ใช้ปากกาสีแดง สีน้ำเงินและดินสอสีดำได้
  • มีความรวดเร็วแม่นยำในการประมวลผล ไม่เกิน 5 วินาที ต่อ 1 แผ่น
  • บอกค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด/สูงสุดของคะแนนสอบ และค่าสถิติของตัวข้อสอบด้วย
  • ในขั้นตอนการตรวจคำตอบนั้นไม่ต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
  • Export ผลออกมาในรูปแบบไฟล์ CSV หรือ PDF

7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)

ความรู้ที่ได้จากการกลั่นรองความรู้ เรื่องการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้าน ICT ของนักศึกษาวิชาชีพครู ได้มาจากการที่คณะครุศาสตร์ มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูด้านการใช้เทคโนโลยี ซึ่งโลกในยุคศตวรรษที่ 21 มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร (Information Technology and Communications) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในด้าน การศึกษา ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนและการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานทางการศึกษา เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)

สมาชิกได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์การทำงานให้สมาชิกได้รับทราบข้อมูลกรณีการศึกษาต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ยังคงต้องดำต่อไปเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด COVID – 19 ยังไม่สามารถควบคุมได้ และการใช้โปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครูที่จะต้องออกไปฝึกสอนหรือสังเกตุการสอนตามโรงเรียนต่าง ๆ มีเทคนิค และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อการสอน

9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)

  1. ประโยชน์ในการพัฒนางาน และแสดงให้เห็นถึงผลการปฏิบัติที่ดีขึ้น พร้อมทั้งมีหลักฐานประกอบ)

นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการใช้โปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่น Zip Grade, Google Form ที่จะมาช่วยการในการพัฒนาการเรียนการสอน และนักศึกษาได้รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับทักษะมาตรฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียน

10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) 

การระดมความคิดและการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์การปฏิบัติงานจริงทำให้ทราบข้อมูลที่จำเป็น

จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ICT เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) ในหัวข้อ การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ อิเลิกทรอนิกส์สำหรับการตรวจข้อสอบ โดยใช้ แอพพลิเคชั่น ZIP Grade และ Google From ให้กับนักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 – 5 และศิษย์เก่า โดยมีนักศึกษาลงทะเบียนเข้ารับการอบรม 311 คน

11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)

กลุ่มความรู้ การพัฒนานักศึกษาได้นำข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ มาปรับกระบวนการ/วิธีการปฏิบัติงาน เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้าน ICT ของนักศึกษาวิชาชีพครู และสรุปองค์ความรู้เรื่องการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้าน ICT ของนักศึกษาวิชาชีพครู จัดทำเป็นกระบวนการ/วิธีปฏิบัติงาน โดยมีกระบวนการ/วิธีการปฏิบัติงาน ดังนี้

  1. สำรวจความต้องการของนักศึกษาที่ต้องการพัฒนาศักยภาพฯ
  2. จัดทำแผนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ทั้ง 5 ด้าน
  3. ดำเนินกิจกรรมตามแผนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านที่ 5  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
  4. บันทึกการจัดกิจกรรม
  5. สรุปและประเมินการจัดกิจกรรม