หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 / กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ / กลุ่มพัฒนานักศึกษา / กระบวนการการจัดการความรู้โดยทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ) กองพัฒนานักศึกษาเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมสมรรถนะและทักษะต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนรู้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยได้ออกแบบกิจกรรมร่วมกันระหว่างSSRU และกองพัฒนานักศึกษาในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการการเสริมทักษะการเรียนรู้ การตัดสินใจ และการปฏิบัติจริง นอกเหนือการเรียนรู้ภายในห้องเรียน โดยการทดลองปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่เป็นผักปลอดสารพิษ สะอาด ปลอดภัย สามารถปลูกได้โดยไม่ใช้ดิน ดูแลง่าย ในแปลงทดลองบนอาคารศูนย์สุขภาพและกีฬา เป็นการฝึกนักศึกษาให้นำหลักในการบริหารจัดการมาใช้ในการวางแผนการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนการผลิต การวางแผนการตลาด การวางแผนการจัดจำหน่าย ฯลฯ โดยใช้เวลาว่างจากการศึกษา นอกจากนี้ยังสามารถนำผักที่ได้มารับประทาน นำไปขายสร้างรายได้ให้กับชมรมต้นกล้าจิตอาสา SSRU ไปใช้ในการจัดกิจกรรมด้านอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างเครือข่ายให้กับนักศึกษาชมรมในรุ่นต่อไปได้ จะเห็นได้ว่า การสอดแทรกกิจกรรมดังกล่าวเข้าไปในชีวิตประจำวันย่อมทำให้นักศึกษาเกิดภูมิคุ้มกันในตนเอง สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกฝนทักษะไปในการวางแผนการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาอย่างมีสติและอยู่รอดได้ดีในสังคม นำไปสู่พฤติกรรมที่สามารถนำบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ดังนั้น การบูรณาการทักษะการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในการพัฒนานักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ การบูรณการทักษะ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียนที่มุ่งที่ผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศัยกภาพ 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์และทักษะการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา 2. เพื่อเป็นการสร้างรายได้และเครือข่ายให้กับนักศึกษาชมรม 3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม การเสริมสร้างทักษะให้กับนักศึกษาโดยรูปแบบของกิจกรรมนั้น ทางกองพัฒนานักศึกษาเป็นผู้ออกแบบโดยที่นักศึกษาไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม 3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่ การมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมระหว่างผู้เรียนและการบูรณาการในการส่งเสริมความรู้ด้านทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป) £ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน £ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน R สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ 5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี) 6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ) คณะกรรมการกองพัฒนานักศึกษาทำหน้าที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงในทำกิจกรรม การอำนวยความสะดวกให้คำปรึกษา แนะนำการดำเนินงาน รวมถึงติดตามผลการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้นักศึกษาเกิดการฝึกฝนประสบการณ์ จนสามารถนำแนวคิด และทักษะที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ) กรอบการดำเนินงานของนักศึกษาชมรมต้นกล้า จิตอาสาSSRU 8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ) 1. ทักษะการเรียนรู้ ดังตาราง
2. ผลผลิตที่ได้จากการทำกิจกรรมและเครือข่ายระหว่างนักศึกษากับบุคคล กับเครือข่ายระหว่างนักศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ) ผู้ปฏิบัติงาน : บรรลุเป้าหมาย พันธกิจขององค์กร ผู้บริหาร : นำผลจากการดำเนินงานมาใช้สนับสนุนการวางแผนในการดำเนินงาน นักศึกษา : ทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต, ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง 10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) ปัจจัยด้านจิตใจ : แรงจูงใจภายนอกและภายในมีผลต่อการดำเนินงาน ประกอบด้วยความขยัน อนทน อดกลั้น และอดออม ซื่อสัตย์ สุจริต เห็นประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งนักศึกษาต้นกล้าจิตอาสา SSRU มีความตระหนักรู้ในคุณค่าตนเอง สร้างความความภูมิใจ โดยไม่มีความรู้สึกของการถูกบังคับ เกิดทักษะความคิด, ทักษะทางเจตคติ และทักษะด้านการกระทำ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ : ลดรายจ่าย นักศึกษาต้นกล้าจิตอาสา SSRU ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณทำให้ลดต้นทุนของต้นทุนคงที่, กระบวนการจัดการด้านทรัพยากรบุคคลที่มีการจัดสรรให้นักศึกษาจัดหน้าที่ ความรับผิดชอบในกิจกรรมทำให้ลดต้นทุนในด้านการจ้างงาน นอกจากนี้ยังลดต้นทุนน้ำ-ไฟ ซึ่งการไปประกอบอาชีพในอนาคตเพื่อสร้างรายได้จำเป็นต้องคำนวนจำนวนต้นทุนที่เหมาะสม ปัจจัยด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม : มีการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่า และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยจัดสถานที่ปลูกบนดาดฟ้าของกองพัฒนานักศึกษา ทำให้นักศึกษาไม่ต้องเดินทาง หรือต้องเช่าพื้นที่ในการปลูก ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม : มีการเชื่อมโยงจัดตั้งเป็นชมรมในการดำเนินงานร่วมกันก่อให้เกิดเครือข่ายระหว่างนักศึกษา ปัจจัยด้านเทคโนโลยี : การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีผลต่อการเจริญเติบโตของผัก 11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ) การพัฒนารูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในขณะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงควรมีการปรับรูปแบบในแบบที่ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง โดยผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมที่กิจกรรมนั้นสามารถนำประสบการณ์ แนวความคิดมาปรับใช้ได้ โดยไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกโดนบังคับ เกิดการไม่ยอมรับในกิจกรรมที่จัดขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายและไม่ได้ประโยชน์จากกิจกรรมนั้นแล้วยังสูญเสียงบประมาณในการดำเนินการอีกด้วย |
|
||
___EO__O___I_____C__O_E___63243_O_aE_OAE__AAO_.pdf (1.26 mb) |
|
||
การส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้าน ICT ของนักศึกษาวิชาชีพครู |