Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


แอพพลิเคชั่น Video Conference ที่สนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

£ บุคคล ชื่อ – สกุล นายกฤษณ์ปกรณ์  บุญมา ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ หน่วยงาน คณะวิทยาการจัดการ

£ ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) กลุ่มหลัก  การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
     กลุ่มย่อย เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน

หัวข้อการจัดการความรู้ (KM)

องค์ความรู้

แอพพลิเคชั่น Video Conference ที่สนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เลขที่เอกสาร (ถ้ามี)

วันที่รายงาน

22 กันยายน พ.ศ. 2564

ประเภท

£ การจัดการเรียนการสอน

£ การวิจัย

R การพัฒนาการปฏิบัติงาน

คณบดี/ผู้อำนวยการ

หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้าฝ่าย

จัดทำโดย

ผศ.ดร.สมศักดิ์  คล้ายสังข์

นางสาวจิณห์จุฑา ศรีเหรา

นายกฤษณ์ปกรณ์ บุญมา

1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)

          กลุ่มการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) กลุ่มย่อย เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน ได้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดการระบาดของไวรัส Covid-19 และยังมีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มระยะห่างทางสังคมระหว่างกันของบุคลากรและนักศึกษา แต่ยังคงต้องดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาต่อไป ทำให้มีแนวคิดที่จะศึกษาการใช้งานแอพพลิเคชั่น Video Conference ที่สนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเพิ่มระยะห่างให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงได้ศึกษาประสิทธิภาพและความเหมาะสมของแอพพลิเคชั่น ในการผลิตสื่อวิดีโอเพื่อใช้สำหรับหรับการเรียนการสอนรวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ในสื่อสังคมออนไลน์ของมหาวิทยาลัยฯ รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติอย่างถูกวิธี เพื่อลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเผยแพร่ในการปฏิบัติงานให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ต่อไป

2. วัตถุประสงค์

          2.1 เพื่อให้บุคลากรสายสอนและสายสนับสนุนสามารถนำคู่มือไปปฏิบัติงานได้จริง

          2.2 เพื่อให้เป็นแอพพลิเคชั่นทางเลือกในการสร้างสื่อโซเชียลมิเดียในการให้ความรู้

3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

          3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม

               - ยังไม่มี คู่มือ OBS ในการปฏิบัติงาน ทำให้การทำงานล่าช้า

          3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่

               - มีคู่มือ OBS เป็นแนวทาง สามารถลดระยะเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติงานได้

4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)

          R การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน

          £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

          £ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

          £ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)

          -

6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)

          6.1 การอธิบายคู่มือมีความละเอียดย่อยลงลึกไปจนถึง Menu ต่าง ๆ

          6.2 มีขั้นตอนการ Live Streaming ผ่าน Facebook และ Youtube

7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)

          7.1  ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหาแนวทางการจัดทำ คู่มือ การใช้งานโปรแกรม OBS (Open Broadcaster Software Studio)

          7.2  ถอดองค์ความรู้จากบุคลากรภายในกลุ่ม โดยนำปัญหาที่พบเจอในสถานการณ์ปัจจุบัน มาค้นคว้าหาแอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนการทำงานแบบออนไลน์  จากนั้นนำแอพพลิเคชั่นมาเปรียบเทียบหาข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละแอพพลิเคชั่น เมื่อได้แอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมและครอบคลุมตรงตามความต้องการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงลงมือทดลองใช้งานแอพพลิเคชั่นด้วยตนเอง กลั่นกรองปัญหาที่พบหาแนวทางการแก้ปัญหาโดยการร่วมประชุมสมาชิกกลุ่ม เมื่อได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงจึงลงมือปฏิบัติจัดทำเป็น คู่มือ การใช้งานโปรแกรม OBS (Open Broadcaster Software Studio) (ฉบับร่าง)

7.3  นำ คู่มือ การใช้งานโปรแกรม OBS (Open Broadcaster Software Studio) (ฉบับร่าง) ให้กับบุคลากรสายสอนและสายสนับสนุนได้ทดลองใช้งาน และประเมินผล

          7.4  นำผลแบบประเมินความพึงพอใจและข้อเสนอแนะ คู่มือ การใช้งานโปรแกรม OBS (Open Broadcaster Software Studio) (ฉบับร่าง) (แบบสอบถามออนไลน์) มาสรุปข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงและพัฒนาเนื้อหาเป็นฉบับสมบูรณ์สามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง

          7.5  ประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนความรู้หลังจากที่นำองค์ความรู้เรื่อง คู่มือ การใช้งานโปรแกรม OBS (Open Broadcaster Software Studio) ฉบับสมบูรณ์ให้กับบุคลากรภายในหน่วยงานได้ทดลองปฏิบัติงานจริง

          7.6  จัดทำรายงานสรุปองค์ความรู้เรื่อง แอพพลิเคชั่น Video Conference ที่สนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องและที่สนใจทั้งในหน่วยงานและนอกหน่วยงานนำไปปฏิบัติ

8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)

          คู่มือ การใช้งานโปรแกรม OBS (Open Broadcaster Software Studio)

9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)

          บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยสามารถนำ คู่มือ การใช้งานโปรแกรม OBS  (Open Broadcaster Software Studio) ไปปฏิบัติการใช้งานได้จริง

10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) 

          การได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปปรับแก้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งสมาชิกภายในกลุ่มให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ช่วยค้นหาแอพพลิเคชั่นมาได้หลากหลายเพื่อทำงานเปรียบเทียบ และนำแอพพลิเคชั่นมาทดลองใช้ได้ จนได้ข้อสรุปในการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นและการจัดทำเป็นรูปเล่มคู่มือฯ ฉบับสมบูรณ์ตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)

          การสร้างคลังความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของ Channel Youtube ของหน่วยงาน อาทิเช่น การให้ความรู้ในการใช้งานโปรแกรม การใช้งานเว็บไซต์ประจำตัวอาจารย์ผู้สอน หรือการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน Microsoft Office เป็นต้น