หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 / กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ / กลุ่ม IT / เทคนิคการป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคล
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคดิจิตอล ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในความเป็นอยู่ของคนเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังเห็นได้จากการดำรงชีวิตของทุกคนที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคล 2.2 เพื่อให้บุคลากรสามารถใช้งานระบบสารสนเทศได้อย่างปลอดภัยและเต็มประสิทธิภาพ 3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ยังไม่ทราบถึงการนำเรื่องความปลอดภัยตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล มาใช้ในองค์กร 3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับความรู้ความเข้าใจในการนำเรื่องความปลอดภัยตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล มาปรับใช้ในองค์กรมากขึ้น 4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป) £ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน £ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน R สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ 5. ข้อควรระวัง บุคลากรควรศึกษาผลกระทบและข้อควรระวังในการใช้ข้อมูลสารสนเทศบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่จะมีผลต่อพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล 6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) - ต้องดำเนินการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน - ถอดบทเรียนจากบุคลากรสายสนับสนุนที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องนี้ - จัดอบรมการให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) - ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 7. ผลของการดำเนินงาน (Output) เทคนิคการป้องกันภัยคุกคามข้อมูลส่วนบุคคล ในแง่ขององค์กร กลุ่มความรู้ ขอนำเสนอในรูปแบบความรู้ความเข้าใจ หลักการสำคัญตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้สามารถนำไปใประโยชน์ต่อองค์กรต่อไป เทคนิคการป้องกันภัยคุกคามข้อมูลส่วนบุคคล ในแง่ของบุคคล กลุ่มความรู้ ขอนำเสนอในรูปแบบแนวทางปฏิบัติในการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Policy) เพื่อใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) จากการกลั่นกรองความรู้ที่ได้รับ สกัดออกมาเป็นรายงานสรุปองค์ความรู้เรื่อง เทคนิคการป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคล โดยการจัดโครงการอบรม การป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และเอกสารเทคนิคการป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคล 9. ประโยชน์ที่ได้รับ 9.1 มีการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่น ๆ ในองค์กร และ 9.2 สามารถศึกษาวิธีการการป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคลจากเอกสารที่เผยแพร่ได้ 10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคล กับผู้ใช้สามารถดำเนินการได้ตามแผนการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ เนื่องจากเกิดจากแรงบันดาลใจ และความสามารถของสมาชิกในกลุ่ม ดังนี้ - สมาชิกในกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น - ความรู้ที่ได้จากการกลั่นกรอง เป็นประโยชน์ต่อองค์กร - ความร่วมมือภายในกลุ่มที่ช่วยกันแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับโดยตรง - บุคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถเรียนรู้การป้องกันภัยคุกคามด้านข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยตนเอง 11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จะต้องดำเนินการ |
|
||
a_eAE___I__i_COA_Ue.pdf (277 kb) |
|
||
การลงระบบปฏิบัติการด้วย USB ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด | ||
แอพพลิเคชั่น Video Conference ที่สนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |