การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ : วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

        
Views: 156
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 02 Oct, 2021
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
Updated: 02 Oct, 2021
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.

R บุคคล ชื่อ - สกุล อาจารย์ ดร.อารยา ทิพย์วงศ์  ตำแหน่ง อาจารย์ประจำ หน่วยงาน วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

Rชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) (สายวิชาการ)

หัวข้อการจัดการความรู้ (KM)

องค์ความรู้

การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ

เลขที่เอกสาร (ถ้ามี)

-

วันที่รายงาน

17 กันยายน 2564

ประเภท

£ การจัดการเรียนการสอน

R การวิจัย

£ การพัฒนาการปฏิบัติงาน

คณบดี/ผู้อำนวยการ

หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้าฝ่าย

จัดทำโดย

ผศ.ดร.พรพรรณ วรสีหะ

นายนพปฏล อินยาศรี

อาจารย์ ดร.อารยา ทิพย์วงศ์

1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)

วิทยาลัยฯมีแผนกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยฯมีการจัดทำแผนการจัดการความรู้เพื่อหาแนวทางการพัฒนาจัดการความรู้ของวิทยาลัยฯและได้ให้ความสำคัญกับการตีพิมพ์ผลงานบทความวิจัยหรือบทความวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การสร้างเสริมทักษะด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการลงในวารสารที่มีคุณภาพอยู่ในฐานข้อมูลทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ

การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ เป็นหนึ่งในผลงานวิชาการของอาจารย์ เป็นข้อมูลสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าอาจารย์ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานวิชาการที่มีคุณค่าสมควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและการแข่งขันของประเทศ ผลงานวิชาการอยู่ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus หรือตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562 ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์ดรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ จึงเป็นองค์ความรู้สำคัญที่คณาจารย์ของวิทยาลัยได้หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  โดยการเสาะแสวงหาองค์ความรู้จากประสบการณ์ตรง และความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลถ่ายทอดและสกัดออกมาเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริงให้เกิดบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพทางวิชาการและเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนต่อไป

2. วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้ได้รับเผยแพร่ในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ

3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

          3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม

การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus ยังมีจำนวนน้อย และอาจารย์ใหม่ขาดประสบการณ์การส่งบทความในวารสารวิชาการ

          3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่

วิทยาลัยฯ ได้แนวทาง/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการความรู้และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพในฐานข้อมูล TCI และ Scopus เพิ่มมากขึ้น และอาจารย์มีผลงานวิจัยหรือบทความวิจัยที่ต้องการตีพิมพ์  และวารสารที่เลือกเผยแพร่บทความวิจัย/บทความวิชาการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาของบทความนั้น

4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)

          R การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน

          £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

          £ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

          £ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)

          การคัดเลือกบทความในวารสารระดับนานาชาติ จะต้องมีการตรวจสอบสถานะของวารสารอย่างละเอียด

6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)

          จากการที่สมาชิก KM ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้เทคนิคและประสบการณ์การส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ในส่วนของเทคนิคที่สำคัญและเป็นปัจจัยสนับสนุนในการสร้างบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ คือ มีงาน (วิจัย) มีเวลา มีความอดทน รวมทั้งต้อง มีใจ (รักและสนใจในการเขียนบทความ) รวมถึงการมีเครือข่ายที่ปรึกษา ถือเป็นเทคนิคพิเศษที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนในการผลักดันให้ประสบความสำเร็จในการส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น

7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)

ได้รับองค์ความรู้และเทคนิคเรื่องการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ทำให้อาจารย์เกิดความมั่นใจในการส่งบทความวิจัยในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลเพิ่มขึ้น

8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)

          วิทยาลัยฯ ได้แนวทาง/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการความรู้และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพในฐานข้อมูล TCI และ Scopus เพิ่มมากขึ้น

9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)

1. อาจารย์รุ่นใหม่หรืออาจารย์ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การส่งบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร มีความเข้าใจในขั้นตอนและสามารถนำองค์ความรู้และเทคนิคที่ได้มาใช้ในการเขียนบทความวิจัยส่งวารสารเพื่อตีพิมพ์

2. วิทยาลัยฯ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพในฐานข้อมูล TCI และ Scopus เพิ่มมากขึ้น

10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) 

ความร่วมมือของคณาจารย์และเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละคน และการสร้างแรงบันดาลใจให้อาจารย์เขียนบทความวิจัย

11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)

          วิทยาลัยฯ ส่งเสริมและให้การสนับสนุนความเชี่ยวชาญในงานวิจัยของอาจารย์ เพื่อตีพิมพ์ในระดับที่สูงขึ้น หรือขอตำแหน่งทางวิชาการ และสร้างแรงจูงใจอาจารย์ด้วยการเผยแพร่ชื่นชมอาจารย์ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารทั้งระดับชาติและนานาชาติผ่านเว็บไซต์วิทยาลัย

Attached files
file _OA_O__KM____eACO__A_2564.pdf (2.59 mb)
Others in this Category
document การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning :การสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ : วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มรภ.สวนสุนันทา
document การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning"โดยออกแบบการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL) : วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
document การจัดการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม : วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
document การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ : วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมแและบริการ
document การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ