การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ

        
Views: 158
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 02 Oct, 2021
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
Updated: 02 Oct, 2021
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.

£ บุคคล ชื่อ - สกุล......ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรวิทย์ อยู่วัฒนะ...... ตำแหน่ง.....คุณอำนวย..... หน่วยงาน.......วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ...

£ ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) กลุ่มหลัก... New normal learning...

หัวข้อการจัดการความรู้ (KM)

องค์ความรู้

…...การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21......

เลขที่เอกสาร (ถ้ามี)

วันที่รายงาน

22 กันยายน 2564

ประเภท

การจัดการเรียนการสอน

คณบดี/ผู้อำนวยการ

หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้าฝ่าย

จัดทำโดย

รศ.ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์

นางสาวน้ำทิพย์ กลีบบัวบาน

ผศ.ดร.ภัทรวิทย์ อยู่วัฒนะ

1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 แม้ในช่วงแรกจะไม่ส่งผลกระทบต่อการศึกษามากนักเพราะเป็นช่วงระยะเวลาที่สถาบันการศึกษาส่วนมากปิดภาคการศึกษา 2/2562 เรียบร้อยแล้ว แต่ก็จะมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ได้รับผลกระทบหลังจากมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง มีประกาศปิดการเรียนการสอนและงดจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในสถาบัน รวมถึงมีการเลื่อน ยกเลิกการเรียนการสอน การสอบวัดผลปลายภาค 2/2562 ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 

     หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ไม่มีทีท่าจะยุติการแพร่ระบาดลงง่ายๆ ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาคือการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนที่ดำเนินการในเดือนเมษายน 2563 สถาบันต่างๆ ซึ่งรวมถึงวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจึงได้เริ่มมีการจัดประชุมเพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ ด้วยการใช้โปรแกรมการประชุมออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่างๆ คือ Google Meet, ZOOM Cloud Meetings, Skype, Slack และ Microsoft Team เป็นต้น

     จากนโยบายที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา SSRU Next ที่มุ่งเน้นให้บุคลากรสายวิชาการได้มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการมุ่งเน้นการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมออนไลน์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการได้ตอบสนองนโยบายในด้านดังกล่าวเป็นอย่างดี ด้วยการจัดการอบรมบุคลากรสายวิชาการด้วยโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาทักษะและเทคนิคการสอนที่ทันสมัยในศตวรรษที่ 21 ด้วยการเชิงวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมออนไลน์ของ Google มาเป็นวิทยากรบรรยายให้รู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้โปรแกรมออนไลน์ต่างๆ

     อีกทั้ง วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ ได้มีการเปิดโอกาสทางการศึกษา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มนักศึกษาต่างประเทศ ซึ่งวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษาจีนที่เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทำให้นักศึกษาจีนไม่สามารถเข้ามาศึกษายังประเทศไทยได้ วิทยาลัยจึงได้ใช้การเรียนการสอนออนไลน์สำหรับนักศึกษาจีนแบบเต็มรูปแบบเพื่อเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาในกลุ่มดังกล่าว

          ดังนั้น เพื่อให้สนับสนุนด้านการจัดการสอนด้วยระบบออนไลน์เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน กลุ่มงาน กลุ่ม New normal learning จึงเห็นความสำคัญในการปรับปรุง แก้ไขส่งเสริมการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์จึงได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อหาวิธีการ ขั้นตอน หรือการดำเนินงานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ดี

2. วัตถุประสงค์

1) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (องค์ความรู้) จากที่อยู่ในตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพื่อสนับสุนนการจัดการเรียนการสอนระบบออนไลน์

2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง   

          3) เพื่อให้ได้คู่มือการปฏิบัติที่ดีในการสนับสนุนการเรียนการสอนระบบออนไลน์

3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

          สภาพการปฏิบัติงานใหม่

4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)

          R การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน

          R ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

          R พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

          R สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)

1. ตัวหนังสือควรให้มีความน่าสนใจ มีเสียง วิดิโอ สอดแทรก เนื้อหาไม่น่าเบื่อ หรือมีเนื้อหาเยอะเกินไป

2. ระบบเสียงควรมีความคมชัด-ความดังพอเหมาะ

3. บุคลิกของผู้สอน การมองกล้อง แนวระดับการวางสายตา ความกระตือรือร้น การแสดงท่าทาง
การวางมือ ลักษณะทางกายภาพ

6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)

          1. แหล่งสืบค้นข้อมูล แบบไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับการสืบค้นข้อมูลมาจัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ หรืออัดวิดิโอ ได้แก่ 1) https://www.freepik.com/, 2) https://www.pexels.com/th-th/       

3) https://stock.adobe.com/th/photos, 4) https://www.motionelements.com/th/free/background-music

          2. ขนาดไฟล์ ภาพ  ที่ควรใช้ ความละเอียดไม่ต่ำ 2 Mb

          3. ขนาดการอัดวิดีโอที่ใช้  1080P   1920px x 1080px  หรือ 720 P  1280px x 720p

7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)

แนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ประกอบด้วย

 1. การสืบค้นข้อมูลเพื่อการเขียน Storyboard ตามแนวทางการเขียนที่วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการออกแบบ

2. การสร้างสื่อมัลติมีเดีย และการเขียน Storyboard และโมเดล Storyboard รายวิชาต้นแบบ CIM 1122 นวัตกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ Innovation Management of Human Resource และรายวิชา SMA4204 กฎหมายปกครอง

3. การถ่ายทำ-อัดคลิป ณ หองสตูดิโอ

8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)

1. แหล่งการสืบค้นข้อมูลและแนวทางการเขียน เพื่อการเขียน Storyboard

2. โมเดล Storyboard

3. Storyboard รายวิชาต้นแบบ CIM 1122 นวัตกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ Innovation Management of Human Resource และ SMA4204 กฎหมายปกครอง

          4. เทคนิคการพูด บุคลิกภาพผู้สอน การแสดงสีหน้า การออกเสียง น้ำเสียง ความถูกต้องของภาษา เครื่องแต่งกาย ในระหว่างการถ่ายทำ-อัดวิดิโอ

9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)

1. มีข้อมูล-แหล่งการสืบค้นข้อมูลและแนวทางการเขียน เพื่อการเขียน Storyboard

2. โมเดล Storyboard และStoryboard รายวิชาต้นแบบ ที่นำมาเป็นต้นแบบในการร่างสำหรับการจัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์

3. ตัวอย่างวิดิโอ เพื่อศึกษาเทคนิคการพูด บุคลิกภาพผู้สอน การแสดงสีหน้า การออกเสียง น้ำเสียง

ความถูกต้องของภาษา เครื่องแต่งกาย ในระหว่างการถ่ายทำ-อัดวิดิโอ

4. ก่อเกิดการจัดทำห้องสตูดิโอชั่วคราว ซึ่งท้าทายความสามารถของคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่สนับสนุนวิชาการ

10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) 

1. ความร่วมมือของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ในการเข้าร่วมกิจกรรม และให้การสนับสนุน

2. งบประมาณ ในการศึกษาดูงาน จัดทำห้องสตูดิโอ ที่ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณของวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ

3. จากสถานการณ์ โควิด-19 ผู้บริหารมีนโยบายที่เล็งเห็นและให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์

11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)

1. ปรับปรุงเพิ่มเติมหลักสูตรออนไลน์เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักศึกษาในอนาคต

2. รูปแบบจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ - แพลตฟอร์ม CIM-  dU

3. นำห้องเรียนมาปรับใช้เป็นห้องปฏิบัติสตูดิโอ สำหรับจัดทำสื่อออนไลน์ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยน โยกย้าย เอนกประสงค์

Attached files
file learning_211002200907.pdf (1.08 mb)
Others in this Category
document การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning :การสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ : วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มรภ.สวนสุนันทา
document การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning"โดยออกแบบการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL) : วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
document การจัดการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม : วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ : วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมแและบริการ
document การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
document การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ : วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ