|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ) วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม ได้ดำเนินการจัดการความรู้เป็นประจำทุกปี เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยฯที่ให้ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการจัดการความรู้ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สามารถทำให้เป้าประสงค์ของแต่ละยุทธศาสตร์สำเร็จลุล่วง รวมทั้งเพื่อให้บรรลุตามเกณฑ์ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อใช้เป็นแนวทางให้บุคลากรจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดำเนินการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยการแต่งตั้งคณะทำงานชุมชนนักปฏิบัติ (CoP: Community of Practice) ตามแผนการจัดการความรู้ แผนที่ 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างผลงานวิชาการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน องค์ความรู้ที่จำเป็น : การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มบุคลากรสายวิชาการเพื่อดำเนินงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดเก็บองค์ความรู้ให้เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นแนวทางให้บุคลากรสายวิชาการที่สนใจนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ต่อไป 2. วัตถุประสงค์ 2.1 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 2.2 เพื่อดำเนินงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม การจัดการเรียนการสอนแบบเดิมห้องเรียนแบบเก่า เราจะได้เห็นบรรยากาศที่ครูยืนบรรยายอยู่หน้าห้อง และมีผู้เรียนนั่งฟังอย่างเงียบๆ เป็นระเบียบ จุดแข็งของห้องเรียนแบบนี้อยู่ที่ปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว และความสัมพันธ์เชิงมนุษย์ระหว่างครูกับศิษย์ 3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่ การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ห้องเรียนเป็นห้องเรียนมีชีวิต มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทั้งด้านของ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude) และเป็นห้องเรียนที่มีการเรียนรู้ร่วมกัน และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น 4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป) £ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน þ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน £ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ 5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี) - 6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ) ออกแบบการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL) มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนอยู่ 5 ขั้นตอน เพื่อนำผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาบทเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ CBL นั้น มีความจำเป็นมากที่เราจะต้องกระตุ้นความสนใจผู้เรียน การทำให้ผู้เรียนนั้นมีความอยาก อยากเรียน อยากรู้ อยากค้นหาคำตอบ ถือเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL 7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ) กลุ่มความรู้ การเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการนำกระบวนการ/วิธีปฏิบัติงานที่ปรับปรุง ไปปฏิบัติ โดยสมาชิก KM ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ โดยปฏิบัติใน 3 ขั้นตอน คือ 1) ประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนความรู้หลังจากที่นำองค์ความรู้เรื่อง การเรียนการสอนแบบ Active Learning ไปปฏิบัติ โดยสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากที่นำองค์ความรู้ไปปฏิบัติ และสกัดเป็นองค์ความรู้เรื่อง การเรียนการสอนแบบ Active Learning 2) ประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิ 3) นำข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับปรุงองค์ความรู้เรื่องการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เพื่อเผยแพร่สู่การปฏิบัติต่อไป โดยผลการดำเนินงานในกิจกรรมนี้ คือ กลุ่ม KM ได้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อแบ่งปันองค์ความรู้หลังจากการจัดการเรียนการสอนแลลบ Active Learning ด้วยการนำเสนอ (Presentation) ภาพกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน และองค์ความรู้ที่ผู้เรียนได้รับหลังจากการทำกิจกรรม 8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ) การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบ Creativity-based Learning (CBL) โดยเป็นแนวคิดของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ โดนนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของสมาชิกกลุ่มโดยร่วมกันออกแบบทำให้การเรียนการสอนนั้น นักศึกษาเกิดความเข้าใจและสามารถเรียนรู้โดยการค้น คว้าและคิดด้วยตนเองได้ เนื่องจากเคยเรียนในรูปแบบ CBL ในห้องเรียนมาก่อน และสามารถสร้างผลงานออกมาได้อย่างเป็นที่น่าพอใจแต่อาจารย์ผู้สอนจะต้องเตรียมสื่อการสอน และ Support ข้อมูลให้นักศึกษาเสมอ 9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ) ประโยชน์ขององค์ความรู้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน 1) สามารถใช้เป็นแนวทางการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ 2) สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้สอนที่เริ่มการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning 3) ใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงกระบวนการสอน 4) ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทักษะผู้เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning การต่อยอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้น งานวิจัย การวิจัยในชั้นเรียนที่มีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาระหว่างกลุ่มเรียนแบบบรรยาย กับ กลุ่มเรียนแบบ Active Learningการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning รายวิชาต่าง ๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย 10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) 1) ความร่วมมือของสมาชิกในกลุ่ม 2) มีระบบการติดตามงานที่ดี 3) ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความช่วยเหลือ 4) การกระจายงานที่ดีและเหมาะสมแก่สมาชิกอย่างสมดุล 11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ) การวิจัยในชั้นเรียนที่มีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาระหว่างกลุ่มเรียนแบบบรรยาย กับ กลุ่มเรียนแบบ Active Learning การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning รายวิชาต่าง ๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย มีการสร้างและพัฒนานวัตกรรมโดยการใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือสำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย |
|
||
Active_Learning_2.pdf (1.88 mb) |