|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปั ญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ )
ผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอน ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มองค์ความรู้ที่ 1 การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : การสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ ของวิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันโดย รศ.ทัศนีย์ ศิริวรรณ ทบทวนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการจัดการความรู้(KM) ของสมาชิกกลุ่ม การดำเนินการจัดการความรู้(KM) ประจำปีงบประมาณ 2564 และ สมาชิกร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยสมาชิกกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์สำหรับสอนนักศึกษา ในสถานการณ์การเกิดโรคโควิท 19 ระบาด ในปี การศึกษา 2563 ซึ่งมีการบริหารจัดการป้องกันโดยให้นักศึกษาเรียนในสถานที่พักอาศัยเป็นระยะ ๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสมาชิกกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาครูเพื่อสร้างบทเรียนออนไลน์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับการศึกษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความคิดเห็นในการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งกำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็น ที่สำคัญต่องานหรือกิจกรรมของวิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ และทบทวนชื่อกลุ่มองค์ความรู้ ตามความคิดเห็นและข้อสรุปของสมาชิกกลุ่ม จากการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวสมาชิกมีความต้องการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้แก่สมาชิก โดยขอให้ รศ.ฉวีวรรณ แก้วไทรฮะ อาจารย์ พงศ์ระพี แก้วไทรฮะและ อาจารย์ อภิญญา ชัยสงคราม เป็นวิทยากร วันที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 10.00-12.00 น. สมาชิกของกลุ่มองค์ความรู้ที่ 1 การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : การสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ ของวิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ ได้เข้ารับการอบรม ณ ห้องประชุม วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning รวมทั้งสมาชิกกลุ่มได้รับความรู้จาก อาจารย์ พงศ์ระพี แก้วไทรฮะและ อาจารย์ อภิญญา ชัยสงคราม เกี่ยวกับการจัดทำบทเรียนออนไลน์และการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการผลิดและการใช้สื่อในระบบออนไลน์เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษา เป็นกลุ่มย่อย ระหว่างเดือน มีนาคม เมษายน 2564 จากสถานการณ์การเกิดโรคโควิท 19 ระบาด ตั้งแต่ปี พศ. 2563 ทำให้สมาชิกกลุ่ม มีความต้องการและสนใจที่จะพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์ที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่มีอยู่ ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงร่วมมือรวมพลังกันดำเนินการจัดการความรู้(KM) ในองค์ความรู้ที่ 1 การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : การสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ เพื่อการพัฒนางานในหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 2. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้แก่สมาชิก 3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม ในสถานการณ์ปกติ สมาชิกได้จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ให้แก่นักศึกษา ทั้งในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของวิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ ด้วยกระบวนการและวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามบริบทของสาขาวิชาได้แก่ สาขาวิชาธุรกิจการบิน สาขาวิชาการจัดการโรงแรม สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว สาขาวิชาดิจิทอลระหว่างประเทศ สาขาวิชาคณิตศาสตร์(หลักสูตรสองภาษา) สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและบริการ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก ต่อมาเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิท 19 สมาชิกได้จัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ใน ตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ด้วยวิธีการสอนในรูปแบบที่ต่างๆ กัน มีการเตรียมการสอน การผลิตสื่อการสอน ตามความถนัดของตนเอง 3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่ 1) สมาชิกในกลุ่มได้จัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ใน ตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ด้วยวิธีการสอนในรูปแบบที่ต่างๆ กัน มีการเตรียมการสอน การผลิตสื่อการสอน แบบ Active Learning ให้แก่นักศึกษา ตามองค์ความรู้ที่ได้รับจากการสร้างความรู้ร่วมกันของสมาชิกภายในกลุ่ม 2) นำองค์ความรู้ที่ได้ ไปเผยแพร่ให้แก่ศิษย์เก่าที่เป็นครูสอนอยู่ในสถานศึกษาต่างๆ และครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาที่มีความสนใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ที่มีคุณภาพโดยการส่งเอกสาร การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เอกสารการถ่ายทำและการตัดต่อ วิดีโอ เพื่อสร้างสื่อการเรียนออนไลน์ ( VDO Production for e-learning) ให้ศึกษาและประสานการให้ความรู้ทางระบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง 4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการสรุป การลดขั้นตอน / ระยะเวลาการดำเนินงาน อาจารย์ผู้สอน มีทักษะ สามารถผลิตสื่อประกอบการสอนได้ด้วยตนเองในรูปแบบต่างๆ โดยใช้สื่อ อุปกรณ์ ในการผลิตบทเรียนออนไลน์ประกอบการสอนของตนเอง ที่บ้าน หรือ ที่วิทยาลัยกรณีที่ต้องสาธิตหรือใช้อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติงาน ภายในเวลาที่กำหนดได้ และนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนนักศึกษาในชั่วโมงสอนออนไลน์ของให้แก่นักศึกษาในห้องเรียนได้หลายห้อง โดยนักศึกษาไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาเรียนที่มหาวิทยาลัย ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การผลิตสื่อเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาเป็นผู้เรียน ณ สถานที่พักของแต่ละคน ย่อมช่วยให้เกิดการประหยัดและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของตนเองในการเดินทาง และค่าสาธารณูปโภคของมหาวิทยาลัย พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : การสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์ผู้สอนที่สามารถผลิตสื่อการสอนออนไลน์ได้ด้วยตนเอง จนเกิดความรู้และทักษะใน การสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ อย่างมีความสุข สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : การสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ สามารถสร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการที่แตกต่างกันดังนี้
ในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มที่ต้องประสานกันในทางออนไลน์
ศิษย์เก่าที่ต้องเป็นวิทยากรในการอบรมต่าง ๆ มีความพึงพอใจมากที่สามารถผลิตสื่อออนไลน์ได้ด้วยตนเอง 5. ข้อควรระวัง 1) ลิขสิทธิ์ของสื่อบางชนิด เช่นภาพหรือ วิดีโอ ที่นำมาใช้ในการผลิตสื่อ 2) การใช้สื่อ อุปกรณ์ในการผลิตที่ดี มีคุณภาพ และเหมาะสมกับเรื่องที่สอน 3) การเลือกใช้ Platforms ที่นำบทเรียนออนไลน์ไปแขวนไว้ 4) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ผลิตแต่ละรายวิชา 6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ(Tips and Tr cks)(สรุปโดยย่อ) หากสมาชิกในกลุ่มมีความรู้ความสารถและมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่สมาชิกต้องการเรียนรู้ สามารถดำเนินการถ่ายทอดความรู้ให่แก่สมาชิกได้อย่างรวดเร็วและสะดวก แต่ในบางเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ก็ต้องเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้จึงจะทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 7. ผลของการดำเนินงาน(Output) (สรุปโดยย่อ) ได้รูปแบบองค์ความรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : การสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์ ประกอบด้วย 1) การผลิตสื่อการสอน ได้แก่ การสร้างสื่อการสอน การบันทึกวิดีโอ การตัดต่อวิดีโอ 2) วีธีการสอนออนไลน์ ได้แก่ การสอนสด ผ่านระบบ หรือช่องทางต่างๆ และการสอนแห้ง โดยการ Upload สื่อการสอนผ่านระบบ หรือช่องทางต่างๆ 3) รูปแบบการสอนแบบ Active Learning หรือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ) 1) สมาชิกในกลุ่มมีทักษะ และมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ ตั้งแต่การเตรียมการสอน การผลิตสื่อการสอน แบบ Active Learning และนำไปใช้จัดการเรียนการสอนสอนในรูปแบบที่ต่างๆ ให้แก่นักศึกษา 2) สมาชิกสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ ไปเผยแพร่ให้แก่ศิษย์เก่าที่เป็นครูสอน และครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษาต่างๆ ที่มีความสนใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งศิษย์เก่าที่ทำงานและเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้ลูกค้าในสถานที่ต่างๆ 9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ) 1) ได้แนวการสร้างหรือผลิตสื่อบทเรียนออนไลน์สำหรับจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 2) ผู้ที่สนใจสามารถเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างหรือผลิตสื่อบทเรียนออนไลน์สำหรับจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ 10.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) การนำประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ พื้นฐานของสมาชิกที่แตกต่างกัน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งความร่วมมือของสมาชิกในกลุ่มที่ดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 11.แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ) สร้างบทเรียนออนไลน์สำหรับจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : Impressive Skills for Live Streaming ซึ่งเป็นการสร้างบทเรียนสำหรับการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจและให้โดนใจผู้เรียนมากยิ่งขึ้น รายละเอียดตามเอกสารแนบ |
|
||
Active_Learning_211002195522.pdf (697 kb) |