หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 / กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ / กลุ่ม 14 E-From / การให้บริการด้วยระบบ E-Form
|
|
||||||||||||||||||||||
ความเป็นมาและความสำคัญของการจัดตั้งกลุ่ม สำนักงานคณบดีคณะวิทยาการจัดการ เป็นส่วนงานที่สนับสนุนพันธกิจหลักของคณะฯหนึ่งในภารกิจที่ได้รับมอบหมายคือ การปฏิบัติงานให้บริการด้านการเรียนการสอน ในการนี้จากจัดตั้งกลุ่มความรู้กลุ่ม FMS E-Form ขึ้น สมาชิกได้ทำประชุมปรึกษาค้นหาภาระงานหรือปัญหาจากการปฏิบัติงานของภาระงานประจำแต่ละฝ่ายงาน พิจารณาเห็นชอบร่วมกันว่าจะนำปัญหาการให้บริการเบิกยืม-คืนอุปกรณ์ในการเรียนการสอนจากที่ปัจจุบันมีการจดบันทึกและจัดเก็บในรูปแบบเอกสารและชิ้นส่วนกระดาษให้เป็นรูปแบบจัดเก็บและบันทึกด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งจะนำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและขจัดปัญหาที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่ม FMS E-Form ได้กำหนดองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยได้มีการนำเอาเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และได้มติในการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการให้บริการด้วยระบบ E-Form กระบวนการได้มาขององค์ความรู้ กลุ่มความรู้ฯ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ในการจัดการความรู้ได้กำหนดแผนการจัดการความรู้ ดังนี้
กำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ 2. การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ 3. การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน 4. การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 5. การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด ออกมาเป็นขุมความรู้ 6. การรวบรวมความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ การให้บริการด้วยระบบ E-Form เป็นการนำรูปแบบฟอร์มเอกสารแบบกระดาษพัฒนาให้อยู่ใน รูปของแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ หรือจัดทำเป็นด้วยโปรแกรมประยุกต์และแสดงผลในรูปแบบเว็บไซต์ ซึ่งช่วยป้องกันความสูญหายของข้อมูลได้ดีกว่าการจัดเก็บในรูปแบบของกระดาษเอกสาร อีกทั้งการเรียกดูหรือสรุปข้อมูลรายวันสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วความรู้ในครั้งนี้ได้มีการจัดเก็บในรูปแบบเอกสารและรูปแบบดิจิทัลไฟล์ในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลที่เกิดขึ้นจากการนำองค์ความรู้ไปใช้ ประโยชน์ขององค์ความรู้ สามารถนำแนวคิดการสร้างระบบ E-Form มาทดแทนระบบเอกสารอื่นๆ ได้อีกในอนาคต เพื่อลดปริมาณการใช้ทรัยากรกระดาษตามนโยบายภาครัฐ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน 1. เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลแทนรูปแบบการจดบันทึกด้วยกระดาษ ข้อมูล ที่ถูกบันทึกมีความสะดวกในการสืบค้น และเก็บรักษาข้อมูลได้ยาวนาน และเป็นการใช้ทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการการเรียนการสอน 2. ลดการสูญหายของข้อมูลจากการลืม ไม่ระวัง จดบันทึกข้อมูลผิดพลาดของผู้ปฏิบัติหน้าที่ 3. สามารถให้ข้อมูลสรุปเพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชาได้อย่างถูกต้อง
ผลสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อระบบ E-Form คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การประเมินผลด้านความพึงพอใจ 4 ข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับมาก ในด้านการลดใช้ทรัพยากรกระดาษ, ระบบใช้งานง่าย และการลดระยะเวลาบริการ โดยในด้านการให้บริการด้วยความสุภาพมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด |