แนวทางการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการประจำปีอย่างมีคุณภาพ
1. ขั้นวางแผน ประกอบด้วย
1) ทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน
2) ทบทวนตัวชีวั้ดที่ต้องดำเนินการประจำปีและ/หรือตัวชี้วัดที่หน่วยงานต้องดำเนินการตามภารกิจ
3) ทบทวนโครงการและกิจกรรมที่จัดทำคำขอตั้งงบประมาณประจำปี
4) จัดทำ (ร่าง) เชื่อมโยงแผนปฏิบัติการประจำปีและแผนการดำเนินงานประจำปี
5) จัดประชุมผู้บริหารและบุคลากรเพื่อร่วมกันทบทวนโครงการและกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ และจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี โดยระบุโครงการและกิจกรรม งบประมาณ ระยะเวลาดำเนินงาน ผู้กำกับดูแลโครงการ และผู้รับผิดชอบโครงการ
6) วิเคราะห์และเชื่อมโยงโครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับตัวชวีั้ดที่ต้องดำเนินการ
7) สังเคราะห์ และสรุปรายละเอียดโครงการและกิจกรรมประจำปีเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการขออนุมัติโครงการ
8) จัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปี ประกอบด้วย คำรับรองการปฏิบัติราชการ คำรับรองการปฏิบัติงานโครงการ และคำรับรองตัวชี้วัดการปฏบัติราชการทุกระดับ
9) จัดเอกสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ทิศทางการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการ แผนการดำเนินงาน และคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปี
2. ขั้นติดตามผลการดำเนินงาน
1) กำกับติดตามโครงการ โดยทุกโครงการต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้รับผิดชอบงานแผน ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของโครงการและสอดคล้องกับธีมงานตามแผนการดำเนินการก่อนนำเสนอขออนุมัต
2) ติดตามสถานะของการจัดโครงการ ได้แก่ สรุปผลการดำเนินงานแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการ และยังไม่ได้ดำเนินการ
3) ติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณทุกฏีกา เพื่อสรุปสถานะทางการเงินประจำเดือน โดยศึกษาข้อมูลจากระบบ ERP และตรวจความถูกต้องของข้อมูลกับเจ้าหน้าที่พัสดุ
4) กำกับติดตามสรุปผลการจัดโครงการ โดยทุกโครงการต้องผ่านความเห็นชอบในที่ประชุมบุคลากร ทั้งนี้ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโครงการและตัวชี้วัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการจัดเก็บข้อมูลหลักฐานผลการดำเนินงานโครงการควบคู่กัน
5) จัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ และจัดทำเป็นป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการประจำเดือน
3. ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน
1) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานประจำเดือน
2) สังเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูลผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานประจำปีเดือนกับผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ
ประจำปี
3) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีทุกไตรมาส
4) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงานทุกไตรมาส
4. ขั้นปรับปรุงการติดตามผลการดำเนินงาน
1) สรุปปัญหาที่พบระหว่างการติดตามผลการดำเนินงาน เช่น จัดโครงการไม่เป็นไปตามธีมงาน ข้อมูลผลการดำเนินงานไม่ครบถ้วน รวมทั้งงบประมาณหายระหว่างปี เป็นต้น
2) ศึกษาและหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่พบ เช่น จัดทำแบบฟอร์มต่างๆ โดยการออกแบบแบบฟอร์มให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล และหาวิธีการติดตามงบประมาณในระบบด้วยตัวเอง เป็นต้น
3) ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติเพื่อจัดทำเป็นมาตรการต่างๆ เช่น Flow ขั้นตอนการจัดโครงการ แนวทางการจัดโครงการ เส้นทางการขออนุมัติโครงการ และแบบสำรวจความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น
4) เผยแพร่มาตรการต่างๆ ไปสู่ผู้บริหารและบุคลากร