Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: วิทยาลัยสหเวชศาสตร์

การพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพมีความสามารถทางทักษะวิชาชีพ และทักษะในศตวรรธที่ 21 ครูผู้สอนจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องทำหน้าที่ในการออกแบบและจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ได้ประสบการณ์ตรงมากที่สุด โดยสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และการส่งเสริมสุขภาพนั้นจัดการ เรียนรู้แบบ Active learning เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นการมีส่วนร่วมทั้งทางกาย(ลงมือการปฏิบัติ) ทางใจ(ความรู้สึกร่วมและความรู้สึกทางบวก) และทางความคิด(ร่วมแสดงความคิดเห็นและใช้ ความคิด) ที่สำคัญนอกเหนือจากความรู้ในเนื้อหาและทักษะการปฏิบัติแล้ว ผู้เรียนต้องทำให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข (Happiness in Learning) ทางกลุ่ม PHP Coaches ในฐานะอาจารย์ผู้สอนได้ทำการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี และการเรียนรู้ของผู้เรียนจากผู้สอนคือผู้ถ่ายทอด ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ หรือ “โค้ช” เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้และประยุกต์ใช้ทักษะต่าง ๆ สร้างความเข้าใจด้วยตนเองจนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ทางกลุ่ม PHP Coaches ได้ทำการรวบรวมรูปแบบวิธีการสอนที่ได้นำไปใช้จริงในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และการส่งเสริมสุขภาพและพบว่าเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขได้ ดังนี้

  1. รูปแบบการเรียนรู้แบบนำความสุขสู่ผู้เรียนด้วยเทคนิค C2G
  2. การ์ดเกมสูงวัยคิดคล่อง (การเรียนรู้แบบเกม game based learning)
  3. การพัฒนาสูตรทองม้วนสมุนไพร (การเรียนรู้แบบ project based learning)
  4. เทคนิคสัณฐานวิทยาเชิงเรขาคณิตร่วมกับดีเอ็นเอบาร์โค้ด (การเรียนรู้แบบทดลอง Laboratory Method)
  5. การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (problem based learning)
  6. เทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding)
  7. การเรียนรู้ภาคสนามโดยชุมชนเป็นฐาน (community based)

โดยทุกเทคนิควิธีการสอนในขั้นนำและขั้นสรุปต้องมีการถามถึงความรู้สึกในการเรียนและเน้นการประเมินผลระหว่างจัด

กิจกรรม(Formative) มากกว่า การประเมินเพื่อวัดความรู้รวบยอด ( summative assessment) ผลที่เกิดจากการนำกระบวนการไปปฏิบัติพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษาดีขึ้น นักศึกษากล้าเข้าหาและพูดคุยกับอาจารย์ทุกคนในสาขา ให้ความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนม และเป็นตัวของตัวเองขณะที่เรียน ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนได้เป็นอย่างดี

          ผลที่ได้ : 1) ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และการส่งเสริมสุขภาพมีผู้สมัครเข้าเรียนและสอสัมภาษณ์จำนวนมากที่สุดในวิทยาลัยสหเวชศาสตร์และได้นักศึกษาเต็มจำนวนตั้งแต่รอบ TCAS 1

2) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ทำหนังสือลงนามเพื่อเป็นการแสดงการยอมรับให้

เป็นแนวปฏิบัติที่ดี

3) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และการส่งเสริมสุขภาพ เข้ารับการตรวจประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร

เป็นครั้งแรก ผลการประเมินได้คะแนนเฉลี่ยรวม 3.17 และในองค์ประกอบที่ 5 ได้คะแนน3.5 เป็นหลักสูตรที่ได้รับการประเมินคะแนนเฉลี่ยรวมสูงสุดในรอบ 5 ปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ดังนี้

ผลงานวิจัยที่ได้ : 1) ผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบนำความสุขสู่ผู้เรียนด้วยเทคนิค C2G ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูม ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา / วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบับที่ 12 ฐาน TCI 1

                             2) Annual Variability of Wing Morphology in Culexsitiens Wiedemann (Diptera, Culicidae) Mosquito Vectors from the Coastal Area of Samut Songkhram Province, Thailand / Journal of Parasitology Research ฐาน SCOPUS Q3

          นวัตกรรมที่ได้ :  1) ทองม้วนสมุนไพร ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนและนักศึกษา มีจำหน่ายใน shopee

                                  2) การ์ดเกมสูงวัยคิดคล่อง เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ