หัวข้อ
|
เทคนิค/วิธี
|
1. การเขียนบทความวิจัย
|
- นักวิจัยสามารถดำเนินการเขียนบทความวิจัย โดยแบ่งการเขียนตามวัตถุประสงค์การวิจัย เช่น ถ้ามีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ สามารถแบ่งการเขียนออกเป็น 2 บทความ หรือเขียนเป็น 1 บทความในภาพรวม ทั้งนี้สามารถเริ่มเขียนบทความวิจัยคร่าว ๆ ตั้งแต่การได้ผลวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 4
|
2. หัวข้อหลักในการเขียนบทความวิจัย
|
ส่วนใหญ่บทความวิจัยจะมีหัวข้อหลักในการเขียน ดังนี้
- ชื่อบทความวิจัย/ บทนำ/ วัตถุประสงค์การวิจัย/ สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)/ วิธีดำเนินการวิจัย/ ผลการวิจัย/ สรุปผลและอภิปรายผล/ ข้อเสนอแนะ/ เอกสารอ้างอิง
- ทั้งนี้นักวิจัยควรศึกษาแบบฟอร์ม หรือ template ของวารสารที่จะส่งตีพิมพ์
- จำนวนหน้าบทความที่กำหนดก็สำคัญ เพราะถ้าเขียนเกินจำนวนหน้าที่กำหนดอาจถูกปฏิเสธ
|
3. ศึกษารายชื่อวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2
|
- ศึกษารายชื่อวารสารจากเว็บไซด์ THAIJO https://www.tci-thaijo.org/
ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบว่าวารสารที่จะส่งตีพิมพ์ ขณะนี้จัดอยู่ในกลุ่ม 1 หรือ กลุ่ม 2 มีวารสารทางการศึกษาอะไรบ้าง และยังอยู่ในฐานข้อมูลหรือไม่
|
4. เลือกวารสารที่จะส่งบทความตีพิมพ์
|
- นักวิจัยเลือกวารสารที่จะส่งตีพิมพ์ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงโอกาสการได้รับการตีพิมพ์เป็นหลัก หากเป็นมือใหม่อาจจะเลือกวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 ก่อน เพราะมีโอกาสมากว่ากลุ่ม 1
|
5. ศึกษาวัตถุประสงค์ของวารสาร
|
- ก่อนส่งบทความวิจัยควรศึกษาวัตถุประสงค์ของแต่ละวารสารว่ามีวัตถุประสงค์ในการตีพิมพ์เกี่ยวกับด้านใดบ้าง ดังนั้นหากจะตีพิมพ์ควรเลือกวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงและตรงกับศาสตร์หรือสาขาวิชาของบทความวิจัย
|
6. ศึกษาระยะเวลาการส่งบทความตีพิมพ์
|
- ควรทำการศึกษาระยะเวลาในการจัดส่งบทความ และระยะเวลาที่จะได้รับการตีพิมพ์ เนื่องจากในปัจจุบันวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 และ TCI กลุ่ม 2 ใช้เวลาในการตีพิมพ์ 2-3 ปี ซึ่งอาจจะทำให้ผลงานวิจัยล้าสมัย ดังนั้นควรส่งบทความไปยังวารสารที่มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์มากที่สุด เพื่อจะได้นำผลงานได้ใช้ในการขอผลงานเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร
|
7. สมัครสมาชิกวารสารและชำระค่าลงทะเบียน
|
- การสมัครสมาชิกวารสารส่วนใหญ่ต้องดำเนินการตามระเบียบของวารสารอยู่แล้ว ซึ่งจะอยู่ประมาณ 2,500-3,000 บาท
|
8. การส่งบทความ
|
- ดำเนินการส่งบทความให้กับกองบรรณาธิการวารสาร ซึ่งมีทั้งรูปแบบทาง e-mail และผ่านเว็บไซด์ โดยต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจจะถูกปฏิเสธการรับบทความ และควรมีการติดตามเป็นระยะว่าสถานะของบทความถึงขั้นตอนใด
|
9. การแก้ไขบทความ
|
- เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็น peer review ของวารสารพิจารณาบทความเสร็จ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการะประเมินหรือการแก้ไขมายังนักวิจัย จากนั้นให้ดำเนินแก้ไขตามประเด็นที่ peer review ให้ข้อเสนอแนะ และจัดส่งบทความแก้ไขกลับไปยังกองบรรณาธิการภายในระยะเวลาที่กำหนด
|
10. กองบรรณาธิการตอบรับการตีพิมพ์
|
- ทางกองบรรณาธิการจะออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ โดยระบุว่าได้รับการตีพิมพ์ ปีที่ ฉบับที่ เดือน พ.ศ.
|
11. การเผยแพร่บทความ
|
- ขั้นตอนสุดท้ายทางกองบรรณาธิการจะนำบทความเผยแพร่ผ่าน 2 ช่องทางคือ เว็บไซด์วารสาร และเล่มวารสาร เป็นขั้นตอนการเสร็จสิ้นกระบวนการเขียนบทความวิจัยเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 และ TCI กลุ่ม 2
|