กลุ่มการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ ประจาปีงบประมาณ พ. ศ. 2561 การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ วารสาร ฐาน TCI

        
Views: 333
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 10 Oct, 2018
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
Updated: 10 Oct, 2018
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.

      จากผลการดำเนินงานในรอบปีการศึกษา 2560 ที่ผ่านมาพบว่าวิทยาลัยโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนมีจำนวนการการเขียบทความวิจัย และบทความทางวิชาการเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารในรอบปีที่ผ่านมามีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนอาจารย์ในวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดยเฉพาะตัวชี้วัดด้านคุณภาพอาจารย์ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) คืออาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ หรือนานานชาติตามเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ มากกว่าร้อยละ 40 จากผลการดำเนินงานพบร้อยละ 36 ประกอบกับเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2560-2564 ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพอาจารย์ให้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในทุกศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อรองรับการเรียนการสอน การวิจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางทางด้านโลจิสติกส์ มุ่งเน้นให้มีผลงานทางวิชาการที่โดดเด่น เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งจากการสำรวจปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานพบว่าเกิดจากการที่อาจารย์ขาดประสบการณ์การเขียนบทความวิจัย/วิชาการให้มีคุณภาพเพียงพอสำหรับเพื่อได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และระบบสนับสนุนการดำเนินงานที่ยังไม่สอดคล้องกับปัญหาอุปสรรคที่พบ ดังนั้นกระบวนการจัดการความรู้เพื่อให้เกิดมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI 1 หรือมีผลงานวิชาการที่ไปนำเสนอและตีพิมพ์ในproceeding ทั้งในระดับชาติและนานาชาติจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรง และการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานกลางของการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูล Thailand Citation Index กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 และการสังเคราะห์แนวทางปฏิบัติจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ของวิทยาลัยมีทักษะและแนวทางในการเขียนบทความวิจัย/วิชาการที่มีคุณภาพสูงเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการน่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จของการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

กลุ่มความรู้ได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกระบวนการการ KM 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การกำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของหน่วยงาน และกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ 2) การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน 4) การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดออกมาเป็นขุมความรู้ 6) การรวบรวมความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

 องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ ประจาปีงบประมาณ พ. ศ. 2561 การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ วารสาร ฐาน TCI

Attached files
file Research_181010164837.pdf (779 kb)
Others in this Category
document กลุ่มแนวทางการทาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์