Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


กลุ่ม GRAD PUBLIC KM

     การเขียนบทความวิจัย บทความวิชาการ ไม่ได้เป็นงานที่ยากและลาบากเกินกว่าที่นักวิชาการหรือนักวิจัยจะทาได้ แต่เนื่องจากเน้นต้องการเผยแพร่ในลักษณะที่เป็นผลงานวิชาการ จึงจาเป็นที่ต้องปฏิบัติตามรูปแบบและฝึกฝนการเขียนเพื่อนาเสนอผลงาน และควรให้ความร่วมมือกับกองบรรณาธิการในการพัฒนา ปรับปรุงการเขียนบทความวิชาการ งานวิจัย ให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ ทั้งนี้จะต้องระลึกไว้ด้วยว่าการจัดทาผลงานวิชาการที่ดีมีคุณภาพ ผู้นาเสนอต้องมีความตั้งใจจริงในการนาเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ให้มากที่สุด โดยไม่บิดเบือนข้อมูล วิเคราะห์เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะ หรือการเอาผลงานผู้อื่นมาเป็นงานของตน ซึ่งเป็นการผิดจรรยาบรรณของนักวิชาการ การนาเสนอผลงานวิจัยซึ่งเป็นผลจากการศึกษา ค้นคว้า และนามาเผยแพร่ จึงควรมุ่งเน้นประโยชน์ทางวิชาการและการพัฒนาสังคมเป็นประเด็นสาคัญ
     สมาชิกกกลุ่มการจัดการความรู้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานการจัดการความรู้ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณาจารย์ ผู้วิจัย และบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันการศึกษา และผู้สนใจในหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้เกิดผลงานที่มีคุณค่าและเกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษาของไทยต่อไป

     กลุ่มความรู้ได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกระบวนการการ KM 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การกำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของหน่วยงาน และกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ 2) การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน 4) การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดออกมาเป็นขุมความรู้ 6) การรวบรวมความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

 องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การเขียนบทความเพื่อการเผยแพร่

รายละเอียดตามเอกสารแนบ