ความรู้ที่ได้และการกลั่นกรองความรู้ จากการรวบรวมองค์ความรู้การเขียนหนังสือราชการ ของสมาชิกกลุ่มที่ 3 การพัฒนาการปฏิบัติงาน งานสารบรรณ ห้อง 2 ร่างหนังสือราชการ พอสรุปได้ดังนี้
1) ศึกษาข้อมูล เพื่อรู้ทิศทางการเขียน รู้เป้าหมาย ว่าเป็นหนังสือแบบไหน เรื่องใหม่ หรือเรื่องเก่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
2) ศึกษา วิเคราะห์ สรุปให้ชัดเจน ตรงเป้าหมายตามที่กาหนดไว้
3) รวบรวมข้อมูล จัดลาดับให้สัมพันธ์ สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้กาหนดไว้
4) ลงมือปฏิบัติ พิมพ์หรือร่างหนังสือ ตามที่ได้จัดลาดับไว้ วางเนื้อหาให้ครบ 3 ส่วน คือ ส่วนของเหตุส่วนของผล และสรุปความ
5) ตรวจสอบแก้ไข เช่น การใช้ภาษาราชการ เนื้อหาชัดเจน ตรงตามวัตถุประสงค์ไหม การใช้คา แยกคา เครื่องหมายต่าง ๆ การย่อหน้า ดูความเหมาะสม รูปแบบเป็นระเบียบสวยงาม เมื่อตรวจสอบแล้ว พิมพ์ต้นฉบับ สาเนา อย่างลืมลงชื่อผู้ร่าง/พิมพ์และตรวจทานไว้ด้วย
วิธีการเขียนหนังสือราชการ
1. ถูกต้องตามหลักภาษา ใช้ภาษาราชการ ถูกแบบของหนังสือตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่า
ด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2548 ซึ่งหนังสือราชการมี 6 ประเภทด้วยกัน คือ
หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา หนังสือสั่งการ หนังสือประชาสัมพันธ์ และหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทาขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
2. ถูกต้องตามชื่อเรื่อง สรุปย่อเรื่องที่ได้ใจความกะทัดรัด ต้องให้ตรงกับจุดประสงค์
3. เนื้อหาต้องชัดเจน ผู้อ่านเข้าใจได้ทันที รัดกุม เช่น ใครทา ทาอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เพื่ออะไร โดยมีเนื้อให้ครบ 3 ส่วนดังที่กล่าวเทคนิคการทาหนังสือราชการก่อนจะร่างหนังสือ ผู้ร่างคงจะต้องถามตนเองก่อนว่า หนังสือฉบับนั้น ทาถึงใครมีวัตถุประสงค์ใดและออกในนามหน่วยงาน ผู้ลงนาม คือ ผู้รับผิดชอบหนังสือฉบับนั้น และเมื่อทราบแล้ว จะต้องตระหนักในความรับผิดชอบของ การร่างหนังสือ ส่วนข้อความจะยาวหรือสั้นนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่า มีมากน้อยเพียงใดสาหรับสานวนภาษาที่ใช้ไม่ควรร่างแบบสั่งหรือบังคับ ควรเขียนให้สละสลวย สุภาพ อ่อนน้อม และชัดเจนการร่างหนังสือให้ถูกต้องนั้น จะมีหลักการเขียนซึ่งสามารถนามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติสาหรับการเขียนในถูกต้อง
รายละเอียดตามเอกสารแนบ