กลุ่มความรู้ได้มีการแสวงหาความรู้ในเรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดยประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ดังนี้
1) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ เทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนบทความที่ท่านเคยปฏิบัติ โดยสมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน เทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนบทความ โดยมีใบงานถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน (รายบุคคล) ดังนี้
ใบงาน 1 ถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน (รายบุคคล)
|
1. ชื่อ-นามสกุล
สังกัด
|
2. ชื่อกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice : CoP).......................เลขกลุ่มย่อ (1/1,1/2,2/1)..........
|
3. ท่านมีเทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนบทความ อย่างไร ที่ท่านเคยปฏิบัติ
|
สมาชิกกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนและเขียนเทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนบทความ จากนั้นนำมาสกัดองค์ความรู้เพื่อให้ได้แนวทางการเขียนบทความเพื่อการเผยแพร่ นำไปสู่การปรับปรุงความรู้ให้เหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งต่อไป โดยสรุปความรู้ที่สมาชิกได้ร่วมกันถอดบทเรียนและสกัดองค์ความรู้ ดังนี้
วิธีการปฏิบัติ
|
- บทคัดย่อ
|
- เขียนให้คลอบคลุมและสรุปถึงภาพรวมของงานวิจัย
- เขียนให้สั้นกระชับ และระบุชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ และผลการวิจัย
- สรุปข้อมูลทั้งหมดของงานวิจัย
- อธิบายวัตถุประสงค์และเนื้อหา
- บทคัดย่อ จะเขียนแต่ละบทอย่างละ 1-2 ประโยค แต่ยังไงก็ต้องครบทุกบท และจบที่ข้อเสนอแนะอ่านผลการวิจัยหลายๆ ครั้ง เพื่อสรุป
- เขียนบทคัดย่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์
- สรุปประเด็นสำคัญในแต่ละเรื่อง
- อ่านบทคัดย่อของผู้อื่นในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้อง
- เลือกบทคัดย่อในวารสาร หรือ การนำเสนอในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะตีพิมพ์ หรือ นำเสนอ
- ศึกษาคำที่ใช้เฉพาะทาง หรือ แนวทางการเขียน หรือ จุดเด่นจากบทคัดย่อที่เลือกมา
- เขียนร่างบทคัดย่อ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ ปรับแก้จนเสร็จสมบูรณ์
- บทคัดย่อต้องประกอบไปด้วย ความเป็นมาของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัย ผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย คำสำคัญ
- สรุปจากวิธีการดำเนินงานวิจัย ผลงานวิจัย และข้อเสนอแนะงานวิจัย
- อ่านทบทวนและเรียบเรียงใหม่
- ตรวจสอบความต่อเนื่อง
|
2.2 ความสำคัญและที่มาของปัญหา
|
- แบ่งย่อหน้าให้ชัดเจนโดยระบุเนื้อหา ให้นำไปสู่กรอบแนวคิดและการดำเนินการวิจัย
- สามารถอ้างอิงทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้
- ความสำคัญและที่มาของปัญหาเริ่มจากการที่ผู้วิจัยต้องรู้ว่าผู้วิจัยสนใจหัวข้อวิจัยเรื่องอะไร จากนั้นก็ไปศึกษาค้นคว้าว่าหัวข้อที่เราทำมีความสำคัญอย่างไร และมีปัญหาอะไร โดยไปทบทวนวรรณกรรม
- การระบุถึงความจำเป็นที่ต้องทำ เช่น ตามกฏหมาย หรือข้อกำหนด
- ระบุถึงความเข้มข้นของปัญหา เช่น ความเร่งด่วนในแง่ของความปลอดภัย คุณภาพชีวิต และความงาม
- เขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานที่ต้องการเผยแพร่
- สืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือแล้วนำมาอ้างอิงประกอบการเขียน
- เขียนเนื้อหาสำคัญ ระบุประเด็นปัญหาให้ชัดเจน
- ขยายความเล่าความเป็นมา และความสำคัญแต่ละประเด็น
- สรุปความถึงเหตุผลและความสำคัญที่ศึกษาแต่ละประเด็น
- สรุปความถึงเหตุผล และความสำคัญที่ศึกษาในหัวข้อนี้และผลกระทบ
- เริ่มเกริ่นภาพรวม ภาพใหญ่ ความสำคัญระดับโลก ร้อยเรื่องราว มาถึงความสำคัญระดับประเทศ
- เขียนที่มาและความสำคัญให้เกี่ยวกับประโยชน์ของสาธารณะ เยาวชน อนาคตของชาติ
- เขียนประเด็นที่มีความสำคัญในการทำงานวิจัย
- สรุปประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น
- นำประเด็นมาสรุปถึงเหตุผล หรือความสำคัญในการทำวิจัย
- อ่านความสำคัญและที่มาของงานวิจัยผู้อื่นในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้อง
- เลือกความสำคัญและที่มาของงานวิจัยในวารสาร หรือ การนำเสนอในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะตีพิมพ์ หรือ นำเสนอ
- ศึกษาคำที่ใช้เฉพาะทาง หรือ แนวทางการเขียนหรือ จุดเด่นจากบทความที่เลือกมา
- เขียนร่างความสำคัญและที่มาของงานวิจัย ให้ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ ปรับแก้จนเสร็จสมบูรณ์
- ปัญหาต้องเป็นเชิงปริมาณหรือกราฟ
- ต้องทราบก่อนว่าปัญหาคืออะไร
|
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
|
- ดูสรุปผลการวิจัย และการนำไปใช้ในอนาคต
- เขียนผลที่คาดว่าจะได้รับ และสามารถนำไปเป็นประโยชน์จริง
- สามารถนำไปแก้ปัญหาและตอบโจทย์งานวิจัยได้
- อ่านประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของงานวิจัยผู้อื่นในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้อง
- เลือกประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของงานวิจัยในวารสาร หรือ การนำเสนอในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะตีพิมพ์ หรือ นำเสนอ
- ศึกษาคำที่ใช้เฉพาะทาง หรือ แนวทางการเขียนหรือ จุดเด่นจากบทความที่เลือกมา
- เขียนร่างประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของงานวิจัย ให้ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ ปรับแก้จนเสร็จสมบูรณ์
- ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
- สามารถนำมาประยุกต์และใช้ประโยชน์ได้จริง (พิสูจน์ได้) เกิดเป็นความรู้ใหม่
|
2.4 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
|
- เลือกทฤษฏีที่เฉพาะตรงกับงานวิจัยของเรา
- วิธีการเขียนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรเขียนร้อยเรียงถึงความสอดคล้องหรือความขัดแย้งเพื่อทบทวนวรรณกรรม และหาจุดเชื่อมโยง เพื่อการพัฒนางานวิจัยของเรา
- แตกย่อยหัวข้อวิจัยออกมาเป็นประเด็น
- หาทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็น
- เทียบประเด็นที่เราศึกษากับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในหัวข้อใกล้เคียง
- เขียน Literature Review จะอ้างอิง In-text เกือบทุกประโยค จะทำให้งานของเราแน่น และทำให้สามารถระบุ Gap of Knowledge ได้จริงๆ
- ค้นคว้าจากเอกสาร หนังสือต่างๆ แล้วนำมาสรุปในเนื้อหา
- ค้นคว้าจากงานวิจัย และนำมาสรุป
- นำความรู้ที่ได้มารวมเป็นการเขียนในแบบของผู้วิจัย
- เป็นทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ทำ
|
- กรอบแนวคิดของการวิจัย
|
- ภาพรวมของงานวิจัยและแจกแจงรายละเอียดปลีกย่อยตามขั้นตอนการดำเนินงาน
- ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่เป็นไปได้ตามวัตถุประสงค์
|
- วิธีดำเนินงานวิจัย
|
- ใช้เทคนิคโดยการดูจากชื่อเรื่องว่าเป็นวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพแล้วออกแบบการวิจัย
- การตรวจวัดตามข้อกฎหมายผ่านการออกแบบตารางสำรวจ
- การสัมภาษณ์ผู้ที่มีผลกระทบในงานวิจัย
- การทดลอง ทดสอบ ผ่านโปรแกรมช่วยออกแบบหรือคำนวณ
- ศึกษาจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ
- ศึกษาจากงานวิจัย และผลงานวิจัยที่ดำเนินการไว้
- ศึกษาจากเอกสารวิธีการวิจัย ดูความสอดคล้องกับเรื่องที่จะดำเนินการ
- วางกรอบการเขียน ใช้หลัก 4W 1H
What :
Who :
Where :
Why :
HOW :
|
2.7 สรุปงานวิจัย
|
- อ่านสรุปงานวิจัยผู้อื่นในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้อง
- เลือกสรุปงานวิจัยงานวิจัยในวารสาร หรือ การนำเสนอในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะตีพิมพ์ หรือ นำเสนอ
- ศึกษาคำที่ใช้เฉพาะทาง หรือ แนวทางการเขียนหรือ จุดเด่นจากบทความที่เลือกมา
- เขียนร่างสรุปงานวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ ปรับแก้จนเสร็จสมบูรณ์
- เขียนเพื่อแสดงผลที่ได้จากการทำวิจัย และถอดความหมายจากผลการทดลองหรือข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ ผลการวิจัยนี้อาจนำเสนอด้วยรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ สรุปประเด็นสำคัญของบทความนั้น ๆ ซึ่งอาจทำในลักษณะที่เป็นการย่อ เป็นการบอกผลลัพธ์ว่าสิ่งที่กล่าวมามีความสำคัญอย่างไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง หรือจะทำให้เกิดอะไรต่อไป เป็นการเขียนเพื่อแสดงผลสรุปตามวัตถุประสงค์ และที่ได้จากงานวิจัยเท่านั้น โดยเสนอเนื้อหาบรรยายแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในรูปตารางหรือรูป แผนสถิติ แผนภาพต้องมีการเขียนบรรยายเป็นความเรียงให้ชัดเจนด้วย มิใช่เสนอแต่ตารางหรือรูป โดยไม่มีการบรรยาย
สรุปได้ว่า สรุปผลการวิจัยจะได้มาจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น โดยเลือกตัวแปรที่ดีที่สุดตามด้วยลำดับ สองและสาม หรือบางคนอาจจะแปลลำดับที่ 1 และบอกสุดท้ายเลยก็ได้ เพื่อเป็นการสรุปให้เห็นความต่าง แล้วแต่ผู้วิจัยว่าจะสรุปอย่างเดียว หรือบางคนเอาลำดับที่ 1 และสุดท้ายเล่มเพื่อให้ทราบปัจจัยต่าง ๆที่ส่งผล แต่มีหลายคนเอาผลที่แย่ๆ อย่างเดียว หรือเอาดีอย่างเดียวก็ได้ไม่มีผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และห้ามใช้ดุลพินิจของผู้วิจัยในการสรุป ตามมาด้วยการอภิปรายผล
|
- บรรณานุกรม
|
- ดูข้อกำหนดว่าเขาให้เขียนอ่างอิงแบบไหน แล้วเขียนให้ถูกต้องตามที่เค้ากำหนดให้
|