ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 2 การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ/ การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน

        
Views: 466
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 09 Aug, 2017
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
Updated: 09 Aug, 2017
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.

กลุ่มความรู้ได้มีการแสวงหาความรู้ในเรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดยประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ดังนี้

1) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ เทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนบทความที่ท่านเคยปฏิบัติ โดยสมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน เทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนบทความ โดยมีใบงานถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน (รายบุคคล) ดังนี้

ใบงาน 1 ถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน (รายบุคคล)

1. ชื่อ-นามสกุล ………………………………………………………………………………………สังกัด…………………………………………………

2. ชื่อกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice : CoP).......................เลขกลุ่มย่อ (1/1,1/2,2/1)..........

3. ท่านมีเทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนบทความ อย่างไร ที่ท่านเคยปฏิบัติ

                               สมาชิกกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนและเขียนเทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนบทความ จากนั้นนำมาสกัดองค์ความรู้เพื่อให้ได้แนวทางการเขียนบทความเพื่อการเผยแพร่ นำไปสู่การปรับปรุงความรู้ให้เหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งต่อไป โดยสรุปความรู้ที่สมาชิกได้ร่วมกันถอดบทเรียนและสกัดองค์ความรู้ ดังนี้

วิธีการปฏิบัติ

  1. บทคัดย่อ
  1. เขียนให้คลอบคลุมและสรุปถึงภาพรวมของงานวิจัย
  2. เขียนให้สั้นกระชับ และระบุชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ และผลการวิจัย
  3. สรุปข้อมูลทั้งหมดของงานวิจัย
  4. อธิบายวัตถุประสงค์และเนื้อหา
  5. บทคัดย่อ จะเขียนแต่ละบทอย่างละ 1-2 ประโยค แต่ยังไงก็ต้องครบทุกบท และจบที่ข้อเสนอแนะอ่านผลการวิจัยหลายๆ ครั้ง เพื่อสรุป
  6. เขียนบทคัดย่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์
  7. สรุปประเด็นสำคัญในแต่ละเรื่อง
  8. อ่านบทคัดย่อของผู้อื่นในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้อง
  9. เลือกบทคัดย่อในวารสาร หรือ การนำเสนอในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะตีพิมพ์ หรือ นำเสนอ
  10.  ศึกษาคำที่ใช้เฉพาะทาง หรือ แนวทางการเขียน หรือ จุดเด่นจากบทคัดย่อที่เลือกมา
  11. เขียนร่างบทคัดย่อ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ ปรับแก้จนเสร็จสมบูรณ์
  12. บทคัดย่อต้องประกอบไปด้วย ความเป็นมาของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัย ผลการวิจัย       สรุปผลการวิจัย คำสำคัญ
  13. สรุปจากวิธีการดำเนินงานวิจัย ผลงานวิจัย และข้อเสนอแนะงานวิจัย
  14. อ่านทบทวนและเรียบเรียงใหม่
  15. ตรวจสอบความต่อเนื่อง

2.2 ความสำคัญและที่มาของปัญหา

  1. แบ่งย่อหน้าให้ชัดเจนโดยระบุเนื้อหา ให้นำไปสู่กรอบแนวคิดและการดำเนินการวิจัย
  2. สามารถอ้างอิงทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้
  3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาเริ่มจากการที่ผู้วิจัยต้องรู้ว่าผู้วิจัยสนใจหัวข้อวิจัยเรื่องอะไร จากนั้นก็ไปศึกษาค้นคว้าว่าหัวข้อที่เราทำมีความสำคัญอย่างไร และมีปัญหาอะไร โดยไปทบทวนวรรณกรรม
  4. การระบุถึงความจำเป็นที่ต้องทำ เช่น ตามกฏหมาย หรือข้อกำหนด
  5. ระบุถึงความเข้มข้นของปัญหา เช่น ความเร่งด่วนในแง่ของความปลอดภัย คุณภาพชีวิต และความงาม
  6. เขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานที่ต้องการเผยแพร่
  7. สืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือแล้วนำมาอ้างอิงประกอบการเขียน
  8. เขียนเนื้อหาสำคัญ  ระบุประเด็นปัญหาให้ชัดเจน
  9. ขยายความเล่าความเป็นมา และความสำคัญแต่ละประเด็น
  10. สรุปความถึงเหตุผลและความสำคัญที่ศึกษาแต่ละประเด็น
  11. สรุปความถึงเหตุผล และความสำคัญที่ศึกษาในหัวข้อนี้และผลกระทบ
  12. เริ่มเกริ่นภาพรวม ภาพใหญ่ ความสำคัญระดับโลก ร้อยเรื่องราว มาถึงความสำคัญระดับประเทศ
  13. เขียนที่มาและความสำคัญให้เกี่ยวกับประโยชน์ของสาธารณะ เยาวชน อนาคตของชาติ
  14. เขียนประเด็นที่มีความสำคัญในการทำงานวิจัย
  15. สรุปประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น
  16. นำประเด็นมาสรุปถึงเหตุผล หรือความสำคัญในการทำวิจัย
  17. อ่านความสำคัญและที่มาของงานวิจัยผู้อื่นในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้อง
  18. เลือกความสำคัญและที่มาของงานวิจัยในวารสาร หรือ การนำเสนอในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะตีพิมพ์ หรือ นำเสนอ
  19. ศึกษาคำที่ใช้เฉพาะทาง หรือ แนวทางการเขียนหรือ จุดเด่นจากบทความที่เลือกมา
  20. เขียนร่างความสำคัญและที่มาของงานวิจัย ให้ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ ปรับแก้จนเสร็จสมบูรณ์
  21. ปัญหาต้องเป็นเชิงปริมาณหรือกราฟ
  22. ต้องทราบก่อนว่าปัญหาคืออะไร
  1. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ดูสรุปผลการวิจัย และการนำไปใช้ในอนาคต
  2. เขียนผลที่คาดว่าจะได้รับ และสามารถนำไปเป็นประโยชน์จริง
  3. สามารถนำไปแก้ปัญหาและตอบโจทย์งานวิจัยได้
  4. อ่านประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของงานวิจัยผู้อื่นในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้อง
  5. เลือกประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของงานวิจัยในวารสาร หรือ การนำเสนอในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะตีพิมพ์ หรือ นำเสนอ
  6. ศึกษาคำที่ใช้เฉพาะทาง หรือ แนวทางการเขียนหรือ จุดเด่นจากบทความที่เลือกมา
  7. เขียนร่างประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของงานวิจัย ให้ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ ปรับแก้จนเสร็จสมบูรณ์
  8. ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
  9. สามารถนำมาประยุกต์และใช้ประโยชน์ได้จริง (พิสูจน์ได้) เกิดเป็นความรู้ใหม่

2.4 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  1. เลือกทฤษฏีที่เฉพาะตรงกับงานวิจัยของเรา
  2. วิธีการเขียนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรเขียนร้อยเรียงถึงความสอดคล้องหรือความขัดแย้งเพื่อทบทวนวรรณกรรม และหาจุดเชื่อมโยง เพื่อการพัฒนางานวิจัยของเรา
  3. แตกย่อยหัวข้อวิจัยออกมาเป็นประเด็น
  4. หาทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็น
  5. เทียบประเด็นที่เราศึกษากับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในหัวข้อใกล้เคียง
  6. เขียน Literature Review จะอ้างอิง In-text เกือบทุกประโยค จะทำให้งานของเราแน่น และทำให้สามารถระบุ Gap of Knowledge ได้จริงๆ
  7. ค้นคว้าจากเอกสาร หนังสือต่างๆ แล้วนำมาสรุปในเนื้อหา  
  8. ค้นคว้าจากงานวิจัย และนำมาสรุป
  9. นำความรู้ที่ได้มารวมเป็นการเขียนในแบบของผู้วิจัย
  10. เป็นทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ทำ
  1. กรอบแนวคิดของการวิจัย
  1. ภาพรวมของงานวิจัยและแจกแจงรายละเอียดปลีกย่อยตามขั้นตอนการดำเนินงาน
  2. ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่เป็นไปได้ตามวัตถุประสงค์
  1. วิธีดำเนินงานวิจัย
  1. ใช้เทคนิคโดยการดูจากชื่อเรื่องว่าเป็นวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพแล้วออกแบบการวิจัย
  2. การตรวจวัดตามข้อกฎหมายผ่านการออกแบบตารางสำรวจ
  3. การสัมภาษณ์ผู้ที่มีผลกระทบในงานวิจัย
  4. การทดลอง ทดสอบ ผ่านโปรแกรมช่วยออกแบบหรือคำนวณ
  5. ศึกษาจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ
  6. ศึกษาจากงานวิจัย และผลงานวิจัยที่ดำเนินการไว้
  7. ศึกษาจากเอกสารวิธีการวิจัย ดูความสอดคล้องกับเรื่องที่จะดำเนินการ
  8. วางกรอบการเขียน ใช้หลัก 4W 1H

      What :

      Who :

      Where :

      Why :

      HOW :

2.7 สรุปงานวิจัย

  1. อ่านสรุปงานวิจัยผู้อื่นในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้อง
  2. เลือกสรุปงานวิจัยงานวิจัยในวารสาร หรือ การนำเสนอในกลุ่มงานวิชาการในสายเดียวกัน หรือ ที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะตีพิมพ์ หรือ นำเสนอ
  3. ศึกษาคำที่ใช้เฉพาะทาง หรือ แนวทางการเขียนหรือ จุดเด่นจากบทความที่เลือกมา
  4. เขียนร่างสรุปงานวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ ปรับแก้จนเสร็จสมบูรณ์
  5. เขียนเพื่อแสดงผลที่ได้จากการทำวิจัย และถอดความหมายจากผลการทดลองหรือข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ ผลการวิจัยนี้อาจนำเสนอด้วยรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ สรุปประเด็นสำคัญของบทความนั้น ๆ ซึ่งอาจทำในลักษณะที่เป็นการย่อ เป็นการบอกผลลัพธ์ว่าสิ่งที่กล่าวมามีความสำคัญอย่างไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง หรือจะทำให้เกิดอะไรต่อไป เป็นการเขียนเพื่อแสดงผลสรุปตามวัตถุประสงค์ และที่ได้จากงานวิจัยเท่านั้น โดยเสนอเนื้อหาบรรยายแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในรูปตารางหรือรูป แผนสถิติ แผนภาพต้องมีการเขียนบรรยายเป็นความเรียงให้ชัดเจนด้วย มิใช่เสนอแต่ตารางหรือรูป โดยไม่มีการบรรยาย

            สรุปได้ว่า สรุปผลการวิจัยจะได้มาจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น โดยเลือกตัวแปรที่ดีที่สุดตามด้วยลำดับ  สองและสาม หรือบางคนอาจจะแปลลำดับที่ 1 และบอกสุดท้ายเลยก็ได้ เพื่อเป็นการสรุปให้เห็นความต่าง           แล้วแต่ผู้วิจัยว่าจะสรุปอย่างเดียว หรือบางคนเอาลำดับที่ 1 และสุดท้ายเล่มเพื่อให้ทราบปัจจัยต่าง ๆที่ส่งผล   แต่มีหลายคนเอาผลที่แย่ๆ อย่างเดียว หรือเอาดีอย่างเดียวก็ได้ไม่มีผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้          และห้ามใช้ดุลพินิจของผู้วิจัยในการสรุป ตามมาด้วยการอภิปรายผล

  1. บรรณานุกรม
  1. ดูข้อกำหนดว่าเขาให้เขียนอ่างอิงแบบไหน แล้วเขียนให้ถูกต้องตามที่เค้ากำหนดให้
Others in this Category
document ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มความรู้
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของหน่วยงาน และกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 3 การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 4 การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 5 การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดออกมาเป็นขุมความรู้
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 6 การรวบรวมความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
document ส่วนที่ 3 ผลผลิตและผลลัพธ์