หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ / การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน / รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 1
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ประจำปีงบประมาณ 2558 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10.00 -12.00 น. ณ ห้องประชุมฝ่ายวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้มาประชุม 1.อาจารย์ ดร.ณัฐพล ใจจริง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ประธาน 2.ว่าที่ร้อยตรีอนันต์ สิทธิวัฒนานนท์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ รองประธาน 3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจษฎาภรณ์ อัจฉริโยภาส สาขาวิชาภาษาอังกฤษ กรรมการ 4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา ศรีโพธิ์ สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม กรรมการ 5.อาจารย์ ดร.กรรณิการ์ อนัคฆกุล สาขาวิชาภาษาอังกฤษ กรรมการ 6.อาจารย์เมธี สูตรสุคนธ์ สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ กรรมการ 7.อาจารย์สุรัชนี เปี่ยมญาติ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ฯ กรรมการ 8.อาจารย์พิมนภัทร์ พันทนา สาขาวิชาการจัดการโรงแรมฯ กรรมการ 9.อาจารย์วีระ วีระโสภณ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ กรรมการ 10.อาจารย์ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น กรรมการ 11.อาจารย์สันต์ชัย รัตนะขวัญ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น กรรมการ 12.อาจารย์ ดร.วาสนา สุรีย์เดชะกุล สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม กรรมการ 13.อาจารย์ ดร.ณัฐพล พัวประเสริฐ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ กรรมการ 14.อาจารย์ฤดี เอี่ยมเรืองพร สาขาวิชาภาษาจีน กรรมการ 15.อาจารย์ณิชา โชควิญญู สาขาวิชาภาษาจีน กรรมการ 16.อาจารย์พิจักษณ์ ภู่ตระกูล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ กรรมการ 17.อาจารย์ศศิธร เจตานนท์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ กรรมการ 18.อาจารย์พรพิสิทธิ์ เลี้ยงอยู่ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น กรรมการ 19.นางสาวตูนละดา เพชรอำไพ เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ กรรมการ 20.นางสาวหัสทยา นวลสุวรรณ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป กรรมการ 21.นายประทีป ชาลี นักวิชาการการเงินและบัญชี กรรมการ 22.นางสาวสุภาวดี เรืองสังข์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป กรรมการ 23.นางจุฑารัตน์ สมอคร นักวิชาการศึกษา เลขานุการ 24.นายอำนาจ บุญถนอม นักวิชาการศึกษา ผู้ช่วยเลขานุการ 25.นางสาวนริสา รวดเร็ว นักวิชาการศึกษา ผู้ช่วยเลขานุการ 26.นายภาณุวัฒน์ อุบลแย้ม นักวิชาการศึกษา ผู้ช่วยเลขานุการ 27.นาวสาวเอมอร ตอโมกข์ นักวิชาการศึกษา ผู้ช่วยเลขานุการ 28.นางสาววนิดา กงแหลม นักวิชาการศึกษา ผู้ช่วยเลขานุการ สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของสมาชิก กลุ่มการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ประจำปีงบประมาณ 2558
ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice COP) ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice COP) หมายถึง การรวมตัวของกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ร่วมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ แล้วนำไปทดลองใช้ พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้นๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อยๆ โดยชุมชนนักปฏิบัติมีการกำหนดบทบาทของสมาชิกในชุมชน ดังนี้ 1. คุณอำนวย (Knowledge Facilitator) หมายถึง ผู้ขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อำนวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นผู้ประสานเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเชื่อมระหว่าง ผู้มีความรู้ประสบการณ์ กับ ผู้ต้องการเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2. คุณกิจ (Knowledge Practitioner) หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการการจัดการความรู้ ทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยร่วมกันดำเนินการค้นหาความรู้ภายในกลุ่ม ดำเนินการสรรหาความรู้จากภายนอกมาประยุกต์ ใช้ความรู้เพื่อการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำให้ได้ความรู้ใหม่ จดบันทึกไว้ใช้งาน และหมุนเวียนเรื่อยไปเป็นวงจรไม่รู้จบ 3. คุณลิขิต (Note Taker) หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่จดบันทึก ในกิจกรรมจัดการความรู้ โดยอาจทำหน้าที่เป็นการเฉพาะกิจ ระยะยาว หรือกึ่งถาวร ในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ของกลุ่ม 4. คุณประสาน (Knowledge Manager) หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ประสานงานเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างองค์กร หรือระหว่างหน่วยงาน 5. คุณวิศาสตร์ (IT Wizard) หมายถึง ผู้ออกแบบระบบไอที ให้เหมาะสมกับความต้องการทักษะในการใช้เครื่องมือด้านไอทีของกลุ่ม คุณกิจ มติที่ประชุม เห็นชอบกับบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติได้ร่วมกำหนดหัวข้อความรู้ โดยได้สรุปว่า หัวข้อการจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน โดยมองว่าเป็นไปตามแผนที่มหาวิทยาลัยกำหนดและเป็นไปตามตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของคณะ และในทุกสาขาวิชาจะต้องพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน น่าจะสามารถนำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่หลากหลาย และสามารถพัฒนากระบวนการที่เป็นมาตรฐานสามารถนำไปใช้ได้กับทุกสาขาวิชาทั้งภายในและภายนอกคณะ โดยมองถึงประโยชน์จากการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป มติที่ประชุม เห็นชอบกับหัวข้อดังกล่าวแต่เสนอแนะว่าสิ่งสำคัญคือการให้ความร่วมมือของทุกสาขาวิชา ผู้บันทึกรายงานการประชุม นางสาววนิดา กงแหลม |