หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 / สถาบันวิจัยและพัฒนา / Smile Ranger พัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน / ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ
|
|
|||||
ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ
ด้วยพันธกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนา ในการส่งเสริม สนับสนุน บริหารจัดการด้านงานวิจัย และงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่งภารกิจดังกล่าว จะต้องพบปะ ติดต่อประสานงานกับผู้บริหารคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อยู่ตลอดเวลา การให้บริการแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรในสถาบันวิจัยและพัฒนาจะต้องตระหนักและถือปฏิบัติเป็นอย่างดียิ่ง กอปรกับนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ให้ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการจัดการความรู้ให้สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สามารถทำให้เป้าประสงค์ของแต่ละยุทธศาสตร์สำเร็จ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จะต้องเลือกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานมาทำแผนการจัดการความรู้ และสนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรร่วมดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ที่กำหนดไว้ และเพื่อตอบเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ให้บรรลุตามเป้าหมายของตัวชี้วัด หน่วยงานจึงเล็งเห็นถึงความเชื่อมโยงในเรื่องดังกล่าว ที่จะให้บุคลากรทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งได้ดำเนินงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ จึงได้หารือร่วมกันในการตั้งชุมชนนักปฏิบัติและกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก ซึ่งสมาชิกในกลุ่มร่วมกันกำหนดกลุ่มความรู้ Smile Rangers พัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน ซึ่งในปีงบประมาณ 2558 นี้ ได้กำหนดหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน
เนื่องจากสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นหน่วยงานที่ให้บริการ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ผู้บริหารก็มีนโยบายในเรื่องดังกล่าว โดยมุ่งเน้นให้ผู้ที่เข้ามารับบริการเกิดความประทับใจต่อการปฏิบัติงานและการให้บริการของบุคลากรในหน่วยงานมากที่สุด ต้องการให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดปัญหาในการให้บริการต่อผู้ที่เข้ามาติดต่อ และในการปฏิบัติงานประจำวันของบุคลากร ต้องพบปะกับผู้รับบริการแต่ละประเภท ที่แตกต่างกัน การจัดการความรู้จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้บุคลากรนำเทคนิค วิธีการ ประสบการณ์มาแลกเปลียนเรียนรู้ และนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนาวิธีการที่ดีในการปฏิบัติงานต่อไป และสามารถเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์ ปฏิบัติได้ |