Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


ความเป็นมาของกลุ่มความรู้

  1. ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ (กลุ่มความรู้) ระบุข้อมูล ดังนี้
  • ความเป็นมาของกลุ่ม  ชุมชนนักปฏิบัติ(CoP) : การจัดการความรู้แผนที่ 3 เรื่อง การจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มศักยภาพนักศึกษาบริหารธุรกิจสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของคณาจารย์ในกลุ่มวิชาบริหารธุรกิจ รวมทั้งสิ้นจำนวน 14 ท่าน เพื่อระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหมายคือ การหากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ในการพัฒนาบัณฑิตให้ได้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา 5 ด้าน คือ คุณธรรมและจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คือ เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ  และตามความประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งได้จากผลการสำรวจจากผู้ประกอบการ และเพิ่มศักยภาพบัณฑิตให้รองรับการก้าวเข้าสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการรวมกลุ่มดังกล่าวนี้ได้ใช้ชื่อเดิมที่ซึ่งใช้สำหรับการจัดการความรู้ในปีการศึกษา 2556 และ ปีการศึกษา 2557 คือ Business Administration Class (BAC) ที่มีความหมายถึง ห้องเรียนบริหารธุรกิจ ซึ่งเมื่อได้รวมกลุ่มกันก็ได้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม พร้อมทั้งกำหนดหัวข้อในการจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มศักยภาพนักศึกษาบริหารธุรกิจสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะทำการจัดการความรู้สำหรับมุ่งเป้าประสงค์ไปสู่การพัฒนาศักยภาพบัณฑิตของกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ และมีความพร้อมทั้งด้านวิชาการ คุณธรรมจริยธรรม และทักษะต่างๆที่จำเป็นเพียงพอสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในยุคประชาคมศรษฐกิจอาเซียน ในปลายปี 2558
  • เป็นความรู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน จากการประชุมสมาชิกได้ มีการระดมความคิดเห็นและตัดสินใจร่วมกัน ว่ามีความต้องการจัดการความรู้ เกี่ยวกับการการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเกี่ยวข้องกับภารกิจหลักโดยตรงของสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องสามารถจัดการเรียนการสอนที่สามารถสร้างผู้เรียน หรือ บัณฑิต ให้มีความพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานของสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีการแข่งขันทางด้านแรงงานอย่างเสรี ในปี 2558 ดังนั้น โดยประเด็นปัญหาที่พบกับจากการสำรวจผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ใช้บัณฑิตโดยตรง นั้น พบว่าบัณฑิตของกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ยังคงขาด ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ กระบวนการคิดที่เป็นระบบ การต่อยอดทางความคิด ภาวะผู้นำ การนำความรู้จากการเรียนไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างบูรณาการ เป็นต้น ซึ่งประเด็นปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการจัดการเรียนที่ยังคงมุ่งเน้นไปทางวิชาการมากกว่าการเสริมสร้างทักษะทางด้านการปฏิบัติ ทักษะทางด้านการบูรณาการทฤษฎีกับการปฏิบัติจริง ดังนั้น สมาชิกจึงสรุปร่วมกันว่า ควรมีการจัดการความรู้ในหัวข้อ การจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มศักยภาพนักศึกษาบริหารธุรกิจสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีการนำความรู้และเข้าใจทางวิชาการ ไปสู่การสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และนำกระบวนการคิดที่เป็นระบบเหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติจริงได้มากขึ้น