หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 / คณะวิทยาการจัดการ / กลุ่ม BAC Team / การดำเนินงานจัดการความรู้ :การสร้างและแสวงหาความรู้
|
|
|||||
รายละเอียดการดำเนินงาน จากการประชุมกลุ่มเพื่อระดมความคิดของทางกลุ่ม BAC. ที่เกิดคำถามว่า จะต้องจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิบัติอย่างไรที่จะสามารถเพิ่มศักยภาพนักศึกษาบริหารธุรกิจสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ ทางกลุ่มได้เริ่มต้นการแสวงหาจากทั้งความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) และความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge) โดยวิธีการดังนี้คือ - ชุมชนนักปฏิบัติแสวงหาความรู้แบบความรู้ฝัง ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล ผ่านการเล่าเรื่อง (Story Telling)ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ที่เป็นสมาชิกกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติซึ่งมีประสบการณ์ในด้านการเรียนการสอนมามากกว่า 10 ปี โดยมีคุณอำนวยเป็นผู้ดำเนินการควบคุมการถ่ายทอดความรู้ของผู้เล่าเรื่อง และจดบันทึกการเล่าเรื่องโดยคุณลิขิต ซึ่งรายละเอียดที่ได้รับคือขั้นตอนการเตรียมแผนการเรียน กระบวนการถ่ายทอดวิธีการสอนสู่ผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผล รวมถึงปัญหาและอุปสรรคจากการจัดการเรียนการสอน ซึ่งความรู้ดังกล่าวนี้มีประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเน้นปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มศักยภาพนักศึกษาบริหารธุรกิจสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมทั้งแสวงหาความรู้โดยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม คือคุณจักรกริศน์ ศิลาทอง มาให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวทางการเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติในยุคอาเซียน - ชุมชมนักปฏิบัติแสวงหาความรู้แบบชัดแจ้ง โดยการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบปฏิบัติจริง ในรูปแบบของเอกสาร ตำรา รวมทั้งศึกษารายงานของผู้เรียนเพื่อศึกษาย้อนกลับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของคุณกิจ เพื่อช่วยเสริมให้ความรู้ฝังลึกที่ถูกถ่ายทอดออกมาไม่ครบถ้วนมีความสมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากคู่มือเทคนิคการพัฒนานักศึกษาให้ได้ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งได้จากการจัดการความรู้ของกลุ่ม BAC เอง ซึ่งจัดทำขึ้นในการจัดการความรู้ในปีการศึกษา 2256 และปีการศึกษา 2557 เพื่อนำมาต่อยอดทางด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับการพัฒนานักศึกษาให้ก้าวสู่บัณฑิตที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นเพื่อก้าวสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จากนั้นทางกลุ่ม BAC Team. ได้นำความรู้ที่ได้จากการแสวงหาทั้งความรู้ฝังลึก และ ความรู้ชัดแจ้ง มาประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนโดยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เหมาะสมสำหรับการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาขาบริหารธุรกิจแบบเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มศักยภาพนักศึกษาบริหารธุรกิจสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการวิเคราะห์ทั้ง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้กระทำโดยพิจารณาภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อัตลักษณ์ของหมายวิทยาลัยฯ และผลการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต พบว่าบัณฑิตของกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจสามารถปฏิบัติงานได้จริงอย่างมีศักยภาพในยุคอาเซียนนั้น จะต้อง มีความรู้และทักษะทางวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะด้านการสื่อสาร มีภาวะผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ มีกระบวนการคิดและการวางแผนอย่างเป็นระบบ อีกทั้งจะต้องสามารถนำกระบวนการคิดหรือแผนงานต่างๆมาสู่การปฏิบัติจริงโดยการทำงานเป็นทีม ซึ่งคุณลักษณะและกระบวนการเหล่านี้ได้ถูกนำพิจารณาเพื่อสอดแทรกเข้าสู่ทุกขั้นตอนของจัดการเรียนการสอนซึ่งได้จากการแสวงหา จึงก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มศักยภาพนักศึกษาบริหารธุรกิจสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ โดยการมุ่งเน้นไปนำความรู้ภาคทฤษฏีลงสู่การทำงานโครงการจริง ซึ่งก็คือโครงการ BA.Fair เหตุเพราะรายวิชาโดยส่วนใหญ่ของกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการซึ่งยากต่อการทำความเข้าใจ ดังนั้น การจัดการเรียนการสู่แบบเน้นปฏิบัติจริงผ่านการจัดงานโครงการเข้ามาเสริมการเรียนการสอนจะทำให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ได้อย่างชัดแจ้งขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนการคิดและวางแผนอย่างเป็นระบบได้มากขึ้น ทางกลุ่มสมาชิกจึงมีความเห็นร่วมกันว่าในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นการปฏิบัติจริงโดยการทำโครงการทางวิชาการ ควรมีการนำวงจรคุณภาพ PDCA เข้ามาช่วยในการช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผน การลงมือทำ การตรวจสอบติดตามผลการดำเนินการ และการปรับปรุงข้อผิดพลาด เพราะเมื่อผู้เรียนสามารถลงมือทำอย่างครบวงจรอาจจะสามารถมองเห็นจุดเด่น จุดด้อยของแต่ละขั้นตอนของกระบวนการได้ และอาจก่อให้เกิดการต่อยอดทางความคิดได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น |