การต่อยอดองค์ความรู้สู่งานวิจัย หรือนวัตกรรม

        
Views: 1593
Votes: 379
Comments: 9
Posted: 17 Jul, 2015
by: คุณะสารพันธ์ อ.ว.
Updated: 17 Jul, 2015
by: คุณะสารพันธ์ อ.ว.

การต่อยอดองค์ความรู้สู่งานวิจัย หรือนวัตกรรม

                กลุ่ม Go Published ได้ต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้สู่ผลงานวิจัย โดยได้พัฒนาโครงร่างงานวิจัย โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า แรงจูงใจ และอุปสรรคในการทำวิจัย และการคัดเลือกแหล่งเผยแพร่งานวิจัย ของอาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  และชื่อภาษาอังกฤษว่า Perceived barriers of research conducting and publishing:  A case of lecturers of International College, Suan Sunandha Rajabhat University, Thailand โดยที่มาของงานวิจัยนี้ เกิดขึ้น เนื่องจาก กลุ่มฯ ได้เห็นว่า อุปสรรคสำคัญของการคัดเลือกแนวทางในการเผยแพร่งานวิจัย คือ การที่อาจารย์ส่วนใหญ่ยังไม่มีแรงจูงใจที่มากพอ หรือมีปัญหาอุปสรรคในการทำงานวิจัย และเผยแพร่ผลงานวิจัยของตนเอง  โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญของงานวิจัยนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ

1 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงแรงจูงใจที่ทำให้อาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทำวิจัย และเผยแพร่ผลงานวิจัย

2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงอุปสรรค และ/หรือปัญหาที่ทำให้อาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาไม่ต้องการทำงานวิจัย และไม่ต้องการเผยแพร่ผลงานวิจัย

3. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการส่งเสริมให้อาจารย์วิทยาลัยนานาชาติทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ และเผยแพร่ผลงานวิจัยในแหล่งเผยแพร่ที่มีคุณภาพ

Showing: 1-9 of 9  
Comments
27 Aug, 2015   |  yuichutiya
การต่อยอดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการความรู้ ทำให้องค์ความรู้นั้นๆไม่ถูกเก็บไว้เฉยๆ แต่ทำให้เกิดวงจรของการจัดการความรู้ต่อไปเรื่อยๆ นับว่าเป็นวิธีการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาการทำงานของสมาชิกกลุ่มและของหน่วยงานที่มี ประสิทธิภาพ

27 Jul, 2015   |  nokkanok2010
หัวข้องานวิจัยนี้ น่าจะทำโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพนะคะ เพราะจะได้ข้อมูลเชิงลึกถึงปัญหาและอุปสรรคจริงๆในการทำวิจัยและส่งงานวิจัยเผยแพร่

26 Jul, 2015   |  mamyberries
คิดว่า งานวิจัยเรื่องนี้น่าจะเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ในเรื่องนี้ได้ดี เพราะจะทำให้ทราบถึงอุปสรรคสำคัญในการเผยแพร่งานวิจัย สำหรับตัวเองนั้น ได้เคยส่งผลงานวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหลายครั้ง และเคยทั้งได้รับการตอบรับและถูกปฏิเสธ ในส่วนตัวแล้ว คิดว่า อุปสรรคสำคัญในการส่งงานวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสาร คือ งานวิจัยของตัวเองยังไม่ตอบโจทย์ของวารสารนั้นๆ

26 Jul, 2015   |  pookyyanakorn
หัวข้อ KM เรื่องการทำวิจัยให้มีคุณภาพน่าสนใจมากค่ะ เพราะหากเรามีงานวิจัยที่มีคุณภาพแล้ว เราก็คงจะคิดถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัยต่อไป แต่ถ้าเรายังไม่มีงานวิจัย หรือมีงานวิจัยแล้ว แต่ไม่มั่นใจว่างานวิจัยของเราดีหรือเปล่า เราก็คงกลัว หรือเกิดความไม่มั่นใจในการเขียนบทความวิจัยเพื่อทำการเผยแพร่ แต่อย่าไรก็ตามหัวข้องานวิจัยที่กลุ่ม Go Published เป็นหัวข้อที่น่าจะให้ข้อมูลสำคัญเบื้องต้นว่า เพราะอะไรคนจึงต้องการ และไม่ต้องการทำงานวิจัย คิดว่าหัวข้อนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนางานตามแผนยุทธศาสตร์ที่ 4 ของมหาวิทยาลัยฯ เลยค่ะ

26 Jul, 2015   |  pkakorn
ส่วนตัวแล้ว เห็นด้วยกับคุณ ssriphomma และคุณ jiraphat171 ค่ะ ที่เราจำเป็นจะต้องมีงานวิจัยที่ดีก่อน จึงค่อยคิดถึงการคัดเลือกแหล่งเผยแพร่งานวิจัย จึงขอเสนอแนะว่า หากกลุ่ม Go Published ได้มีโอกาสดำเนินการจัดการความรู้อีกในปีงบประมาณหน้า น่าจะลองดำเนินการจัดการความรู้เรื่องการทำงานวิจัยที่มีคุณภาพนะคะ

26 Jul, 2015   |  jiraphat171
การมีความรู้ในเรื่องการคัดเลือกแหล่งเผยแพร่งานวิจัยที่มีคุณภาพถือว่ามีความสำคัญ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญคือการทำให้มีงานวิจัยออกมาครับ เพราะถ้าไม่มีงานวิจัยถึงเราจะรู้เรื่องอื่นๆดีมากเพียงไรก็จะไม่มีประโยชน์ครับ

26 Jul, 2015   |  ssriphomma
งานวิจัยนี้น่าสนใจครับ เพราะจะต่อยอดจากการที่สามารถที่จะคัดเลือกแหล่งเผยแพร่ที่มีคุณภาพ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือต้องมีงานวิจัยก่อน งานวิจัยนี้จะตอบคำถามได้ว่าอะไรทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัยครับ

25 Jul, 2015   |  raweewan
เมื่อได้ผลการวิจัยจะต้องเผยแพร่แน่นอนค่ะ สำหรับตัวเองนั้น อุปสรรคที่สำคัญสำหรับการทำวิจัย คือ เวลาเช่นเดียวกันค่ะ

25 Jul, 2015   |  bussaya
หัวข้องานวิจัยนี้น่าสนใจนะคะ เพราะเมื่อพูดถึงเรื่องงานวิจัยแล้ว มีคนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาที่คิดว่าเป็น "ภาระ" เพราะฉะนั้นถ้าได้ผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ช่วยเผยแพร่ด้วยนะคะ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่ทำให้มีการแก้ไขปัญหาการที่คนไม่ต้องการทำวิจัยท ี่ถูกจุด ส่วนตัวแล้วคิดว่า อุปสรรคในการทำวิจัย คือ การไม่มีเวลาที่เพียงพอค่ะ

Others in this Category
document ความเป็นมาของกลุ่ม Go Published
document สมาชิกในกลุ่ม Go Published
document กิจกรรมที่ 1 การบ่งชี้ความรู้
document กิจกรรมที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้
document กิจกรรมที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
document กิจกรรมที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้
document กิจกรรมที่ 5 การเข้าถึงความรู้
document คู่มือแนวทางในการคัดเลือกแหล่งเผยแพร่งานวิจัยในวารสารและงานประชุมนานาชาติ
document กิจกรรมที่ 6 การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้
document กิจกรรมที่ 7 การเรียนรู้
document องค์ความรู้ที่ได้และการนำไปใช้ประโยชน์