การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

        
Views: 958
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 16 Jun, 2015
by: ภัทรดาภา น.บ.
Updated: 03 Aug, 2015
by: ภัทรดาภา น.บ.

ขั้นตอนการนำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล

ที่มา: http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/TCI%20process.html

1. ศูนย์ TCI เปิดรับเอกสารสำหรับวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี

2. กองบรรณาธิการวารสารส่งตัวเล่มวารสารย้อนหลัง 3 ปี (นับจากปีปัจจุบัน) หรือ ตัวเล่มวารสารที่ตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 6 ฉบับ (กรณีวารสารที่ตีพิมพ์ไม่ถึง 3 ปี) พร้อมทั้งข้อมูลการบริหารจัดการวารสารแบบฟอร์มสำหรับการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI

สำเนาผลการประเมินบทความของผู้ทรงวุฒิที่พิจารณาบทความย้อนหลัง 1 ปี (นับจากปีปัจจุบัน)

มายังศูนย์ TCI

วารสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรุณาส่ง ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140

วารสารด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

กรุณาส่ง ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200

3. ศูนย์ TCI พิจารณาตัวเล่มวารสารตามเกณฑ์ในการคัดเลือกวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI

4. ศูนย์ TCI แจ้งผลการพิจารณากลับไปยังกองบรรณาธิการวารสาร ภายในต้นเดือนเมษายนของทุกปี

5. ศูนย์ TCI ดำเนินการบันทึกข้อมูลการตีพิมพ์และข้อมูลการอ้างอิงของวารสารที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก เข้าสู่ฐานข้อมูล TCI

6. ศูนย์ TCI จะประกาศค่า T-Journal Impact Factors (T-JIF) ทุกวันที่ 15 กรกฎาคมของทุกปี

เกณฑ์การคัดเลือกวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI

ที่มา: http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/quality_TCI57.html

เทคนิคและวิธีการนำงานวิจัยลงวารสาร

การตีพิมพ์เผยแพร่

ที่มา: http://rd.vru.ac.th/tech.pdf

สามารถทาในรูปแบบใดบ้าง การเผยแพร่ตามสากลนิยมสามารถทาได้สองรูปแบบ ซึ่งมีจุดประสงค์ และระดับความยากและง่ายจะแตกต่างกัน
1. การเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ (conference) ซึ่งมักเป็นการนา ผลงานวิจัยที่เพิ่งทาเสร็จมาเขียนเป็นบทความแล้วส่งให้บรรณาธิการของที่ประชุมวิชาการพิจารณา หลังจาก นั้นจึงมีการส่งผลต่อผ่านขั้นตอนพิชญพิจารณ์ เพื่อการประเมินคุณค่าและความถูกต้อง เมื่ออนุมัติผ่าน บทความก็จะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (proceedings) ซึ่งในการประชุม ผู้วิจัยจะต้องมีหน้าที่นาเสนอบทความของตนเอง โดยการนาเสนออาจจะอยู่ในรูปโปสเตอร์หรือแบบปากเปล่า ข้อดีของการเผยแพร่ในรูปแบบนี้ก็คือผลงานวิจัยจะได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็วรวดเร็ว ปัจจุบัน มีเวที ลักษณะนี้จานวนมาก โอกาสในการนาเสนอจึงมีมากนอกจากนี้ที่ประชุมวิชาการยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับบรรดานักวิจัยท่านอื่น จึงมีประโยชน์มากสาหรับการส่งบทความที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ออกไป ชิมลาง เพื่อนาผลตอบรับกลับมาปรับปรุงให้ดีขึ้นสาหรับการตีพิมพ์อย่างสมบูรณ์ต่อไป นอกจากนี้ประโ ยชน์ที่ สาคัญอีกอย่างหนึ่งคือการสร้างชื่อเสียงให้นักวิจัยอื่นรู้จักและสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยในสาขาเดียวกันอย่างไรก็ตาม ทุกอย่างก็มีข้อดีข้อเสียในตัวของมันเอง เนื่องจากจานวนการจัดประชุมวิชาการซึ่ง เพิ่มขึ้นอย่างมากในหลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้คุณภาพในภาพรวมตกต่าลงไปด้วย งานประชุมวิชาการหลายแห่ง เป็นธุรกิจที่จัดขึ้นเพียงหวังผลกาไร หรือเป็นเพียงการจัดเพื่อให้บรรดาผู้จัดงานและครอบครัวได้ไปเที่ยวฟรี หลายมหาวิทยาลัยเริ่มมีการจัดประชุมตามกระแสนิยม ทาให้ขาดคุณภาพในแง่การประเมินบทความวิชาการ และขาดความเป็นเวทีแลกเปลี่ย นความรู้อย่างจริงจัง อาทิ กลุ่มบุคคล สมาคมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยที่จัด ตลอดจนสาขาที่ประชุมวิชาการแต่ละแห่ง ควรเลือก ที่มีความเกี่ยวข้องหรือความเชี่ยวชาญตรงกับงานของ นักวิจัย
2. การเผยแพร่งานวารสารวิชาการ ช่องทางการเผยแพร่ในรูปแบบนี้จัดได้ว่าเป็นทางการและได้รับ การยอมรับมากที่สุดในวงการวิชาการโดยทั่วไป สาหรับขั้นตอนที่เป็นทางการเพื่อเผยแพร่ก็จะเริ่มจากการส่ง ต้นฉบับของบทความพร้อมทั้งจดหมายนา (Coverletter) ถึงบรรณาธิการเพื่อเกริ่นนาการค้นพบหรือ ความสาคัญของงาน ปัจจุบันวารสารหลายฉบับได้มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองและผู้เขียนสามารถลงทะเบียนเข้า เป็นผู้ใช้งานและทาการส่งเอกสารต้นฉบับ เพื่อตีพิมพ์ รวมไปถึงการติดตามผลทางออนไลน์ได้เลย โดยไม่ จาเป็นต้องส่งทางไปรษณีย์เหมือนในอดีต สาหรับผลของการพิจารณาจะเป็นไปได้ 3 กรณี ดังนี้

การตอบรับให้ตีพิมพ์ (accept) การส่งกลับมาแก้ไข (revise) และการปฏิเสธ (reject)

กรณีการส่งกลับมาแก้ไข (revise) มักจะมีกาหนดระยะเวลาให้ส่งกลับคืนด้วย อาจจะแนะให้ทาการ ทดลองเพิ่ม ให้แก้ไขต้นฉบับและ/หรือให้ตอบคาถามต่างๆ การแก้ไขอาจต้องทา 2-3 รอบซึ่งเมื่อแก้ไขแล้วมี โอกาสได้รับการตีพิมพ์มากกว่า 50%

กรณีที่ถูกปฏิเสธ (reject) นักวิจัยอาจจะนามาแก้ไขตามที่ผู้อ่านพิจารณาผลงาน (reviewer) แนะนา ดาเนินการปรับรูปแบบและส่งไปวารสารอื่น

เมื่อได้รับการตอบให้ตีพิมพ์ (accept) ทางวารสารจะจัดทาต้นฉบับที่เหมือนจริงในวารสารส่งให้ นักวิจัยตรวจทานอีกครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด นักวิจัยต้องรีบดาเนินการตรวจแก้ไขและส่งกลับคืนอย่าง
รวดเร็ว

คล้ายกับการประชุมวิชาการ ในปัจจุบันมีวารสารวิชาการจานวนมากที่เป็นสนามให้นักวิจัยตีพิมพ์ ผลงานวิจัย แต่คุณภาพและมาตรฐานของวารสารแต่ละเล่มจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงยากมาก และใช้เวลาในการพิจารณาหลายเดือนถึงเป็นปี เปรียบเสมือนการประกวดนางงาม ผู้ประกวดสามารถเลือก เวทีได้ตั้งแต่ประเภทเทพีเงาะ มังคุด ไปจนกระทั่งถึงเวทีระดับนางสาวไทยหรือนางงามจักรวาล วิธีการสังเกตุ คุณภาพของวารสารก็มักดูที่ความเก่าแก่ สมาคมซึ่งเป็นผู้ดูแลการจัดพิมพ์ และอีกวิธีหนึ่งคือการพิจารณาจาก ดัชนีอ้างอิงของวารสารแต่ละฉบับว่าอยู่ในฐานข้อมูลใด อย่างไรก็ดีปัจจุบั นมีฐานข้อมูลอยู่เป็นจานวนมาก แยกกันไปตามบริษัทหรือหน่วยงานที่ให้บริการแต่ฐานข้อมูลซึ่งเป็นที่นิยมของนักวิจัยในปัจจุบันก็คือฐานข้อมูล ที่มีการคิดค่าดัชนีอ้างอิง (impact  factor) ให้กับวารสารฐานข้อมูลที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและมีดัชนี อ้างอิง (จานวนครั้งเฉลี่ยของการอ้างอิงของบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละวารสาร) มีอยู่หลายแห่ง บางข้อมูลที่เป็น ของคนไทยคือ ดัชนีอ้างอิง Thailand  Citation  Index  (TCI) ซึ่งดูแลโดยศูนย์อ้างอิงดัชนีวารสารไทยส่วน ฐานข้อมูลของต่างประเทศมีหลายแห่ง ได้แก่ ดัชนีอ้างอิง SCImago ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier  และต้นตาหรับคือดัชนีอ้างอิง ISI  ซึ่งเป็นของบริษัทยักใหญ่ผู้ให้บริการด้านข้อมูล คือ Thomson Reuters อย่างไรก็ตามดัชนีชี้วัดที่นักวิชาการพยายามสร้างขึ้นมาเหล่านี้ก็เพื่อจัดลาดับคุณภาพของวารสาร เท่านั้น แต่ยังขาดความสมบูรณ์และมีช่องโหว่อยู่มากฉะนั้นจึงไม่ควรไปยึดติดมากจนเกินไป


เทคนิคการเขียนต้นฉบับ
อาจเริ่มต้นเขียนดังนี้
1. เริ่มต้นจากการสรุปรวบรวมผลงานวิจัยและการเขียนคาอธิบาย (legend) ของรูป ไดอะแกรม ตาราง กราฟ ฯลฯ ก่อน
2. ต่อด้วยการเขียนส่วนวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ (material and method)
3. ต่อด้วยการเขียนส่วนผลการวิจัย/ทดลอง (result) ซึ่งอธิบายผลจากรูป ไดอะแกรม ตาราง กราฟ ฯลฯ ที่จัดเรียงเนื้อหาไว้ตามลาดับ
4. กลับมาเขียนบทนา (introduction) อาจจะนามาจากภูมิหลังที่มาของปัญหา/ความสาคัญและ เหตุผล (background/significance and rationale) ของโครงการวิจัย ซึ่งปรับปรุงให้ครบถ้วนและทันสมัย
5. เขียนส่วนวิจารณ์ผล (discussion) และสรุป (conclusion)
6. เขียนบทคัดย่อ (abstract) ซึ่งต้องสั้นและกระชับ
7. จัดทาเอกสารอ้างอิง (reference) และส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งจะได้เป็นต้นฉบับ (manuscript) ออกมา


นอกจากนี้สิ่งอื่นๆ ที่จะต้องคานึงในการเขียนเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ โดยเฉพาะหากต้องการตีพิมพ์
เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติหรือในเวทีระดับโลก ผลการวิจัยและการเขียนจะต้องมีลักษณะดังนี้
1. งานวิจัยที่ทามีความคิดริเริ่ม (originality) และมีความแปลกใหม่ (novelty)
2. งานวิจัยที่ทามีคุณภาพและผลการวิจัยดี
3. ตั้งชื่อเรื่อง (title) ได้ตรงกับผลงานและดึงดูดใจบรรณาธิการ (editor) และผู้อ่านพิจารณา (reviewer)
4.  คุณภาพของผลซึ่งแสดงโดยรูป  ไดอะแกรม  ตาราง  กราฟ  ฯลฯ  ชัดเจนสวยงามถูกต้องและ น่าเชื่อถือ เพราะเป็นส่วนที่สาคัญที่จะมองเห็นได้ง่าย
5. เตรียมต้นฉบับตรงตามคาแนะนา (instruction for author) ของวารสาร
6. เขียนในแต่ละส่วนได้อย่างชัดเจน (clear) กระชับ (concise) หนักแน่น (solid) เข้มข้น (strong) เรียงลาดับอย่างถูกต้องและสมเหตุผล (right and logical order)
7. เนื้อหาสัมพันธ์ กลมกลืนไปด้วยกัน (coherent) และอ่านแล้วลื่นไหล (smooth)
8. อ่านแล้วได้ความรู้ใหม่ (new knowledge) ทฤษฎีใหม่ (new theory) มโนทัศน์หรือความคิดใหม่ (new concept or idea)

Others in this Category
document ความเป็นมาของกลุ่ม Grad Public KM
document รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
document การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ เทคนิคการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่
document แผนการจัดการความรู้ บัณฑิตวิทยาลัย แผน 4 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
document [กิจกรรมที่ 2] การสร้างและแสวงหาความรู้
document [กิจกรรมที่ 3] การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
document [กิจกรรมที่ 4] การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
document [กิจกรรมที่ 5] การเข้าถึงความรู้
document [กิจกรรมที่ 6] การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
document [กิจกรรมที่ 7] การเรียนรู้