หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 / วิทยาลัยนานาชาติ / Go Published / กิจกรรมที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
|
|
|||||
ในการประชุมครั้งที่ 4/2558 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2558 สมาชิกกลุ่มความรู้ KM Go Published ได้ร่วมกันดำเนินการในขั้นตอนที่ 3 ของกระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งก็คือ การจัดการความรู้ภายใต้หัวข้อ ?แนวทางการคัดเลือกแหล่งเผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการ และงานประชุมวิชาการนานาชาติ? ให้เป็นระบบ ซึ่งความรู้ที่นำมาจัดให้เป็นระบบนี้ เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้ ในขั้นตอนนี้สมาชิกลุ่มได้ร่วมกันพิจารณา และนำประเด็นความรู้ทั้ง 10 ประเด็น ซึ่งเป็นผลของขั้นตอนที่ 2 มาจัดให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้เป็นระบบ และให้ง่ายต่อการเข้าถึงความรู้ของทั้งสมาชิกในกลุ่มและบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยประเด็นความรู้ 10 ประเด็น ดังกล่าว มีดังนี้ สมาชิกได้มีความคิดเห็นร่วมกันว่า ควรมีการจัดประเด็นความรู้ทั้ง 10 ประเด็นข้างต้นให้เป็นหมวดหมู่ โดยแบ่งออกเป็น 2 หมวดหมู่หลัก ตามลักษณะของการเผยแพร่ผลงานวิจัย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ดังต่อไปนี้
ซึ่งผลของการจัดหมวดหมู่ประเด็นความรู้ทั้ง 10 ประเด็น ได้ถูกแสดงอยู่ในแผนภาพ ดังต่อไปนี้ |
Comments
|
27 Aug, 2015
| yuichutiya
|
เห็นด้วยนะคะ ว่าการจัดความรู้ให้เป็นระบบในหัวข้อนี้ ควรแบ่งเป็นการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ และในงานประชุมวิชาการ น่าจะเหมาะสมที่สุด เพราะเป็น 2 แนวทางหลักๆในการเผยแพร่งานวิจัยอยู่แล้ว และทำให้ผู้สนใจในความรู้นี้ได้เข้าใจ และทราบแนวทางด้วยว่า หากจะเผยแพร่ในงานวิจัยในแต่ละช่องทางจะต้องทำอย่างไร |
27 Jul, 2015
| nokkanok2010
|
สำหรับหัวข้อการคัดเลือกแหล่งเผยแพร่งานวิจัย เท่าที่พิจารณาดูแล้ว ก็คิดว่า การแบ่งหมวดหมู่เป็นการคัดเลือกเผยแพร่งานวิจัยในวารสาร กับการคัดเลือกแหล่งเผยแพร่ในงานประชุม ก็น่าจะเหมาะสมและเข้าใจง่ายที่สุดแล้วค่ะ เพราะว่าโดยปกติแล้วการเผยแพร่งานวิจัยก็มี 2 tracks หลักๆ |
26 Jul, 2015
| mamyberries
|
สำหรับเรื่องการจัดความรู้ให้เป็นระบบ ขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมค่ะ ว่า ในการจัดหมวดหมู่ของความรู้ ควรให้ความสำคัญกับ "ความสะดวกในการนำไปใช้งานของหน่วยงาน" การแบ่งหมวดหมู่ที่กลุ่ม Go Published ได้ดำเนินการ ก็คิดว่าเหมาะสมดีแล้ว เพราะว่าสอดคล้องกับช่องทางหลักๆ ของการเผยแพร่งานวิจัย ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 tracks และการแบ่งแบบนี้น่าจะสะดวกต่ออาจารย์ กล่าวคือ อาจารย์ที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ก็เลือกอ่านส่วนที่เป็นการเผยแพร่ในที่ประชุมไปก่อ น ส่วนอาจารย์ที่มีประสบการณ์มากขึ้นก็อ่านในส่วนของการเผยแพร่ในวารสาร |
26 Jul, 2015
| pkakorn
|
จากการที่ได้บทความนี้ ในส่วนตัวคิดว่า เป็นการจัดระบบ หรือหมวดหมู่ความรู้ที่เข้าใจง่าย และสามารถมองเห็นภาพค่ะ เพราะเมื่อพูดถึงการเผยแพร่งานวิจัย เราก็จะนึกถึง การเผยแพร่ในวารสารวิชาการ กับการเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการ ส่วนในการเผยแพร่วารสารวิชาการ อาจแบ่งย่อยออกตามฐานข้อมูลอีกก็ได้นะคะ เช่น แบ่งเป็นวารสารที่ indexed ในฐาน ISI และ Scopus เป็นต้นค่ะ หรืออาจแบ่งตาม field of study ก็ได้นะคะ |
25 Jul, 2015
| raweewan
|
ขอตอบคุณ Psontisa นะคะว่า การจัดความรู้ให้เป็นระบบน่าจะค่อนข้างยืดหยุ่นได้นะคะ จะหมวดหมู่ของความรู้ออกตาม explicit knowledge หรือ tacit knowledge ก็ได้นะคะ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างความรู้ ถ้าจัดระบบแล้วทำให้สมาชิกกลุ่ม และบุคคลอื่นที่สนใจเข้าใจความรู้นั้นๆได้ง่ายขึ้นค่ะ |
25 Jul, 2015
| bussaya
|
อยากสอบถามว่า สำหรับการจัดระบบ หรือการจัดหมวดหมู่ความรู้ในเรื่องนี้ สามารถแบ่งหมวดหมู่ของความรู้ในลักษณะอื่นๆได้อีกหรือไม่คะ |
25 Jul, 2015
| psontipan
|
ในการจัดหมวดหมู่ประเด็นความรู้นั้น ความรู้ที่เป็น explicit knowledge และ Tacit knowledge เป็นปัจจัยในการจัดหรือไม่ |