การออกแบบเกี่ยวกับข้อมูล

        
Views: 418
Votes: 0
Comments: 2
Posted: 08 Sep, 2008
by: Sooksomchitra A.ก.
Updated: 08 Sep, 2008
by: Sooksomchitra A.ก.

การออกแบบเกี่ยวกับข้อมูล

การออกแบบแหล่งข้อมูล
นักวิจัยสามารถจะใช้ข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยข้อมูลทุติยภูมิจะเป็นข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้วด้วยจุดมุ่งหมายอื่นๆ แต่ข้อมูลปฐมภูมิเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในงานวิจัยนั้นๆ  เริ่มแรกนักวิจัยจะค้นคว้าของมูลทุติยภูมิก่อนโดยพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลปฐมภูมิเพราะมักจะใช้ต้นทุนที่สูง อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน และเมื่อข้อมูลที่ได้มายังไม่เพียงพอ โดยมากแล้วการวิจัยจะต้องมีการเก็บข้อมูลปฐมภูมิเสมอ ลูกค้าหรือฐานข้อมูลที่คาดหมายไว้ เป็นการเก็บข้อมูลแบบกว้างๆ เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของลูกค้าที่คาดหวัง หรือสิ่งที่ใช้พิจารณา

Showing: 1-2 of 2  
Comments
08 Sep, 2008   |  kunnika
ข้อมูล คือข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจศึกษา ประเด็นนี้ไม่เข้าใจว่า แหล่งข้อมูลทำไมต้องออกแบบด้วย น่าจะเป็นการเลือกแหล่งข้อมูลให้เหมาะสมกับงานวิจัยหรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้นหลักการที่ให้มาถือว่าเหมาะสมดีแล้ว

08 Sep, 2008   |  taweep
มีประโยชน์มาก ๆ เลยครับ ผมนำไปใช้แล้ว ได้หลักในการทำวิจัย ผลมีเพิ่มเติมมาฝากครับ


การออกแบบวิธีวิจัย
ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในก ารกำหนดวิธีวิจัยต่อไปนี้
1. การวิจัยชนิดนั้นต้องสามารถได้ผลการวิจัยตรงกับหัวข้อ เรื่อง ปัญหา และจุดมุ่งหมายของการวิจัยที่ได้กำหนดไว้
2. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลมาตอบคำถามในปั ญหาของการวิจัยได้
3. ผู้วิจัยมีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยประเภทนั้นๆได้
4. การกำหนดวิธีวิจัยหรือการออกแบบการวิจัย จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย เวลา และความพร้อมในเรื่องบุคลากรที่จะทำการวิจัยด้วย
การทำวิจัยโดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิสาม ารถเก็บข้อมูลได้ 5 วิธี คือ
1. การสังเกต เป็นการเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยผู้ถูกวิจัยไม่รู้ตัว
2. การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างจะประกอบด้วยบุคคลที่ได้รับเชิญมาร่วมประมาณ 6-10 คน โดยจะมีผู้ดำเนินงานที่ฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีเป็นผู้นำกลุ่มในการสนทนาเกี่ยวกับผลิตภ ัณฑ์ บริการ หรือสิ่งของต่างๆ ที่มีอยู่ในเรื่องที่จะทำวิจัย โดยใช้เวลาพูดคุยกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง ผู้ดำเนินงานต้องมีความรู้ความสามารถพอที่จะชักจูงผู้ร่วมกลุ่มให้ออกความคิดเห็นได้ โดยทั่วกัน การใช้กลุ่มตัวอย่างนี้อาจจะต้องมีการให้สิ่งตอบแทนเป็นการชักจูงใจในการเข้าร่วมสนท นา การใช้กลุ่มตัวอย่างนี้จะให้ประโยชน์มากในการสำรวจความคิดเห็นต่างๆ
3. การสำรวจ วิธีการนี้เหมาะกับการวิจัยแบบพรรณนามาก บริษัทต่างๆ มักจะใช้การสำรวจนี้เพื่อจะเรียนรู้ถึงความรู้ ความเข้าใจ ความคาดหวัง และความพึงพอใจของลูกค้า และใช้วัดขนาดของกลุ่มประชากร ซึ่งการวิจัยโดยวิธีการสำรวจจะใช้มากที่สุดในการทำวิทยานิพนธ์ทางบริหารธุรกิจ
4. การวัดพฤติกรรม เป็นการวิจัยโดยผู้ถูกวิจัยไม่รู้ตัว เช่น เมื่อลูกค้าซื้อของพวกเขามักจะทิ้งร่องรอยของพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยไว้ เราสามารถเรียนรู้ได้มากมายจากสิ่งเหล่านี้ เช่น ข้อมูลการสแกนสินค้าที่ลูกค้าซื้อไป การบันทึกการเลือกสินค้าจากแคตตาล็อกและจากฐานข้อมูลของลูกค้าเอง
5. การทดลอง เป็นวิธีการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลโดยกา รให้คำจำกัดความของสิ่งที่เราต้องการสังเกต เราจะใช้การตั้งสมมติฐานขึ้นมาเพื่อสร้างขอบเขตในการวิจัย ผู้ทำวิจัยสามารถที่จะให้ค่าความเชื่อมั่นแก่ผลการทดลองนี้ได้ด้วย

Others in this Category
document รายชื่อสมาชิก KM วิจัย กลุ่ม การออกแบบการวิจัย
document ขอเชิญสมาชิแลกเปลี่ยนในระบบ
document ความหมายของการออกแบบงานวิจัย
document หลักการออกแบบงานวิจัย
document รูปแบบของการวิจัยแบ่งตามลักษณะงาน
document การออกแบบเครื่องมือวิจัย
document การออกแบบการเลือกตัวอย่าง
document การออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล
document สิ่งที่ควรคำนึงในการออกแบบงานวิจัย