Q1: จะเลือกวารสารที่จะลงตีพิมพ์ได้จากไหน
A1: เลือกวารสารจากการอ่านงานวิจัยในช่วงทบทวนวรรณกรรม ค้นหาจากฐานข้อมูลด้านวารสารที่ได้รับการยอมรับ เช่น ISI สกอ. เป็นต้น และใช้คะแนนความถี่ของการอ้างอิงบทความ (Impact Factor) ร่วมพิจารณาด้วย (ในการเขียนแรกๆ เลือกวารสารที่มี Impact Factor ต่ำๆ หรือวารสารที่เปิดตัวใหม่)
Q2: เขียนบทความอย่างไรให้ต้องตาผู้ตรวจ (น่าสนใจ/ถูกใจกองบรรณาธิการ)
A2: ตั้งชื่อบทความให้น่าสนใจ โดยอย่าไปยึดติดกับชื่อหัวข้อวิจัย หากสามารถชี้ให้เห็นผลของงานวิจัยได้สามารถนำมาตั้งชื่อเพื่อดึงความน่าสนใจ คัดเลือกข้อมูลวิจัยที่สำคัญ นำเสนอในรูปแบบของกราฟหรือโมเดลเพื่อให้เข้าใจง่าย ในกรณีที่เป็นบทความภาษาอังกฤษต้องให้ Native speaker ที่มีความเข้าใจในสาขาวิชาอ่านเพื่อตรวจสอบภาษา
Q3: มีหลักสากลในการเขียนบทความหรือไม่ อย่างไร
A3: วารสารแต่ละฉบับจะมี Author instruction ซึ่งหาได้จากเว็บไซต์ของวารสารนั้นๆ ซึ่งจะกำหนดรูปแบบ (format) การเขียนบทความว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ข้อกำหนดขนาดของอักษร รูปภาพ ซึ่งจะไม่แตกต่างกันมากนัก โดยทั่วไปชนิดอักษรที่ใช้คือ Time New Roman ขนาด 12 และมีเว้น Double space ถ้ามีภาพถ่ายควรคัดเลือกเฉพาะที่สำคัญเพราะจะต้องเสียเงินเพิ่มเติมหากจำนวนภาพมากเกินกว่ากำหนด กราฟให้ปรับเป็นขาวดำ
Q4:บทความควรมีความยาวกี่หน้า
A4:วารสารไม่ควรมีความยาวเกิน 14 หน้า ควรเลือกเนื้อหาที่สำคัญของงานวิจัยนำเสนอ ไม่จำเป็นต้องนำเสนองานวิจัยทั้งหมด หากงานวิจัยมีเนื้อหามากสามารถแบ่งเป็นวารสารได้มากกว่า 1 เรื่อง
Q5:ถ้าทำงานวิจัยคนเดียว จะหาใครมาช่วยอ่านได้บ้าง หาได้จากไหน
A5:บทความวิจัยที่มีชื่อผู้เขียนเพียงคนเดียวจะได้รับความน่าเชื่อถือน้อยกว่าบทความที่มีผู้ร่วมวิจัย ถ้ามีผู้ร่วมเขียนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในศาสตร์นั้นๆ จะช่วยให้งานได้รับการพิจารณาได้ง่ายขึ้น การหาที่ปรึกษาในการช่วยอ่านบทความอาจจะเลือกจากผู้ที่มีชื่อเสียงในศาสตร์นั้นๆ สามารถแนบไฟล์และส่งอีเมล์ไปขอความช่วยเหลือโดยไม่ต้องอาย ครั้งแรกอาจได้รับการปฏิเสธแต่ถ้าพยายามบ่อยๆ มักจะได้รับการช่วยเหลือ