ประชาสัมพันธ์ การจัดโครงการประเมินความรู้ความเข้าใจ "การเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุน"

        
Views: 860
Votes: 10
Comments: 4
Posted: 25 Feb, 2015
by: พลทองมาก น.ว.
Updated: 25 Feb, 2015
by: พลทองมาก น.ว.

Showing: 1-4 of 4  
Comments
27 May, 2015   |  apisit.to
1. การเลือกวารสารส�ำหรับตีพิมพ์
เมื่อท�ำการวิจัยจนส�ำเร็จลุล่ วง งานวิจัยนั้นจะเกิดประโยชน์ในวงกว้างก็ต่อเมื่อมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนน�ำไป สู่ความ
ก้าวหน้าทางวิชาการหรือการประยุกต์ใช้ต่อไป ซึ่งการเผยแพร่องค์ความรู้ให้เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการหรือวิชาชีพก็จะต้อง
มีกา รตีพิมพ์ผลงานในระดับนานาชาติ โดยนักวิจัยน�ำผลงานวิจัยที่ได้มาเรียบเรียงถ่ายทอดออกมาเป็นบทความทางวิชากา รหรือ
ต้นฉบับที่เรียกว่า Manuscript แล้วน�ำส่งวารสารเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป การเลือกวารสารจึงถือเป็นขั้นตอนแรกที่ส�ำคัญ เพื่อ
จัดเตรียมต้นฉบับได้สอดคล้องตามเกณฑ์ที่วารสารแต่ละฉบับก�ำหนดไว้ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่ง
พิมพ์หรือเป็นวารสารออนไลน์ ที่มีก�ำหนดการเผยแพร่ที่ชัดเจนแน่นอน แนวทางในการเลือกวารสารส�ำหรับตีพิมพ์ มีดังนี้
1.1 ควรเลือกวารสารทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ ซึ่งจะมีการตรวจคัดกรองคุณภาพผลงานโดยผู้ประเมิน
อิสระ (peer review)
1.2 วารสารนั้นควรอยู่ในฐานข้อมูลสากลอันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น Academic Search Premier, Scopus,
ScienceDirect, Pubmed, Agricola, SciFinder , Infotrieve, INSPEC และ BIOSIS เป็นต้น
1.3 ควรพิจารณาค่า Impact factor ประกอบด้วย เพราะเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพของวารสารซึ่งวัดจ�ำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่
บทความ ในวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิงในแต่ละปี
ปัจจุบันมีการผลิตและเผยแพร่วารสารแบบเสร ีหรือวารสารแบบเปิด (open access journals) ครอบคลุมหลากหลาย
สาขาวิชาทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ฯลฯ วารสารแบบเปิด เป็น
วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดกว้างส�ำหรับผู้อ่านในการเข้าถึง อ่าน ดาวน์โหลด ท�ำส�ำเนา เผยแพร่ พิมพ์ ค้นหา หรือ
เชื่อมโยงไปยังเนื้อหาฉบับเต็ม (full text) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่ต้องขออนุญาตจากผู้เขียนหรือผู้สร้างสรรค์งาน แต่ต้อง
อ้างอิงแหล่งที่มาภายใต้ลิขสิทธิ์ด้วย ซึ่งกฎหมายใหม่ของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (UK) และสหภาพยุโรป (EU) ก�ำหนด
ว่างานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากรัฐบาลจะต้องเผยแพร่ให้ส าธารณชนเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จึงเป็นประโยชน์
ส�ำหรับนักวิจัยในการสืบค้นข้อมูลและตีพิมพ์เผยแพร่ได้อย่า งสะดวกยิ่งขึ้น ตัวอย่างวารสารแบบเปิดที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น PLOS ONE เป็นต้น
2. เทคนิคการเขียนบทความวิจัยภาษาอังกฤษ
บทความวิจัย เป็นงานเขียนทางวิชาการที่ผู้เขียนก�ำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะ ห์อย่างชัดเจน มีการ
ประมวล ร้อยเรียง และวิเคราะห์ตามหลักวิชาการอย่างเป็นระบบจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได ้ โดยที่ผู้เขียน
แสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน มีการอ้างอิงและบรรณานุกรมที่ครบถ้วนและสมบูรณ์
การเขียนบทความวิจัยจึงต้องมีการผส มผสานความรู้ในอดีตกับความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยของตน การเขียนบทความ
วิจัยแตกต่างจากรายงานการวิจัยคือ บทความวิจัยมีความยาวจ�ำกัด จ�ำนวนหน้าน้อยกว่ารายงานการวิจัย จัดท�ำขึ้นเพื่อน�ำ
เสนอในวารสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ และการพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาและรูปแบบการจัดพิมพ์ตามที่
ก�ำหนด
ในการเขียนบทความพึงตระหนักเสมอว่าสิ่งที่บรรณาธิการหรือผู้ประเมิ น (reviewer) ให้ความส�ำคัญในการพิจารณา
มี 2 ประเด็นหลัก คือ (1) ความน่าสนใจของเรื่อง เช่น เป็นงานที่แสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มในประเด็นที่ยังไม่มีใครท�ำมาก่อน
แ ละ (2) ความถูกต้องเชื่อถือได้ตามหลักวิชาการ มีส่วนประกอบหลัก ๆ ของบทความอย่างครบถ้วน มีความชัดเจนสมเหตุสมผล
สามารถน�ำกระบวนการวิจัยไปท�ำซ�้ำได้ อีก ฯลฯ
ส่วนประกอบหลัก ๆ ของบทความวิจัย มีดังนี้
Title -> Abstract -> Introduction -> Method -> Analysis -> Results -> Discussion – Conclusions
ชื่อเรื่อง (Title) เทคนิคการตั้งชื่อเรื่อง ควรสั้น กะทัดรัด บ่งบอกประเด็นส�ำคัญของเรื่อง มีความเฉพาะเจาะจง หลีกเลี่ยง
การตั้งชื่อที่กว้างเกินไป ก�ำกวม และไม่ดึงดูดความสนใจ
บทคัดย่อ (Abstract) เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนการโฆษณางานวิจัยโดยย่อ ซึ่งวารสารส่วนใหญ่จะจ�ำกัดจ�ำนวนค�ำ เช่นไม่
เกิน 250 หรือ 300 ค�ำ เนื้อหาในบทคัดย่อควรแสดงตัวตนที่น่าสนใจของงานวิจัยนั้น ๆ ว่ามีอะไรที่แปลกใหม่ น่าสนใจ (What’s
new?) โดยสาระส�ำคัญในบทคัดย่อควรกล่าวถึงปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตามด้วยวิธีการศึกษา/ทดลองที่ใช้ในการ
ศึกษาครั้งนี้ จากนั้นเป็นผลการวิจัย ข้อค้นพบหลัก และชี้ให้เห็นข้อสรุปส�ำคัญที่ได้จากการวิจัยนั้น ๆ เทคนิคการเขียนบทคัดย่อ
ให้น่าสนใจคือ ต้องแสดงว่าผู้เขียนรู้ในสิ่งที่เป็นทฤษฎีและได้ทบทวนสิ่งที่เคยมีผู้ท�ำวิจั ยก่อนหน้านี้มาแล้ว แต่งานวิจัยนี้จะเป็น
ส่วนเสริมหรือได้ข้อค้นพบใหม่อย่างไร
ส�ำหรับเนื้อหา ของบทความวิจัยนั้นมีแนวทางการเขียนหลายรูปแบบแต่ส่วนประกอบหลักจะคล้ายกัน ในที่นี้ขอน�ำเสนอ
เทคนิคการเขียนเนื้อหาตามรูปแบบ IMRaD ซึ่งเป็นรูปแบบที่ช่วยให้ผู้วิจัยเรียบเรียงเนื้อความได้สอดคล้องตามองค์ประกอบของ
บทความวิจัยที่เป็นมาตรฐาน รูปแบบ IMRaD มีส่วนประกอบหลักดังแสดงในภาพข้างล่างนี้
ภาพแสดงส่วนประกอบหลักของบทความวิจัยตามร ูปแบบ IMRaD
2.1 บทน�ำ (Introduction) เป็นส่วนน�ำที่เขียนขึ้นเพื่อตอบค�ำถาม “WHY” คือ ท�ำไมจึงต้องท�ำการวิจัยนี้ แนวทางการ
เขียนควรมีการจัดล�ำดับความคิดและเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย เนื้อหาที่ซับซ้อนควรแบ่งเป็นตอนหรือย่อหน้าย่อย ๆ ไม่เขียนแบบ
พื้น ๆ ที่พบเห็นกันทั่วไป แต่ควรใช้รูปแบบที่น่าสนใจ เช่น
Introduction
บทนํา
Method
วิธีการวิจัย
Results
ผลการวิจัย
Discussion
อภิปรายผล 1) อ้างอิงทฤษฎีและงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ทบทวนมาว่ามีอะไรที่เป็นที่รับรู้กันทั่วไป การทบทวนวรรณกรรมควร
เรียบเรียงโดยเลือกข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (selectively) ในประเด็นที่ส�ำคัญ (main points) และทันสมัย เน้นความ
เชื่อมโยง ไม่เขียนในรูปแบบที่เรียกว่า “ที่ตัดคุ้กกี้” (cookie cutter) อันเปรียบเสมือนคุ้กกี้แต่ละชิ้นที่ผลิตออกมาจาก
ที่ตัดอันเดียวกัน
2) ชี้ให้เห็นช่องว่างของความรู้ (gap of knowledge) ว่ายังมีประเด็นใดที่ถูกละเลยยังไม่ได้มีการศึกษา หรือยัง
ไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดในบริบทต่าง ๆ โดยอาจขึ้นต้นด้วยประโยค อาทิ
- “However, no studies have examined…. ”
- “One aspect has been neglected in previous studies …. ”
- “However, this previous work leaves a number of key questions unanswered.”
3) เติมช่องว่างนั้นโดยชี้ให้เห็นว่างานวิจัยนี้ได้แก้ปัญหาหรืออุดช่องว่างที่มีอยู่ได ้อย่างไร เช่น
- “Four propositions to be tested are given.”
นอกจากนี้ อาจน�ำเสนอว่างานวิจัยนี้แตกต่างหรือโดดเด่นจากงานก่อนหน้านี้อย่างไร มีขอบเขตการวิจัยอย่างไร
และประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัยครั้งนี้
2.2 วิธีการวิจัย (Methods) เป็นส่วนที่เขียนขึ้นเพื่อตอบค�ำถาม “HOW” คือ การวิจัยนี้ท�ำอย่างไร เนื้อหา
ในส่วนนี้จึงต้องมีการอธิบายอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากที่สุด โดยทั่วไปผู้เขียนจึงมักเริ่มเขียนส่วนนี้ก่อนส่วน
อื่น ๆ เทคนิคการเขียนต้องระลึกเสมอว่าถ้ามีผู้สนใจต้องการท�ำวิจัยซ�้ำ จะสามารถท�ำซ�้ำได้จากรายละเอียดที่เขียนไว้
ประเด็นส�ำคัญใน ส่วนวิธีด�ำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ชนิดของงานวิจัย (study design) กลุ่มเป้าหมายและประชากร
ที่ศึกษา (target group and study population) จ�ำนวนตัวอย่าง (sample size) วิธีคัดเลือกตัวอย่าง (sampling
technique) เกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออก (inclusion and exclusion criteria) เครื่องมือวิจัยและวัสดุอุปกรณ์ที่
ใช้ (research tools and materials) การวัดผล (outcome measurement) ว่าจะวัดอะไร โดยใคร ที่ไหน เมื่อไร
วัดอย่างไร การทดสอบความเชื่อถือได้ (reliability test) ของเครื่องมือวิจัย/กระบวนการการวัด จริยธรรมการวิจัย
(research ethics) รวมทั้งสถิติที่จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (statistical analysis)
2.3 ผลการวิจัย (Results) เป็นส่วนที่เขียนขึ้นเพื่อตอบค�ำถาม “WHAT” คือ การวิจัยนี้ได้ผลอะไรบ้างควร
เขียนให้ได้ใจความชัดเจนและตรงประเด็น โดยเรียงล�ำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย กรณีที่มีตัวแปรที่ศึกษาหรือ
ตัวเลขมาก ควรน�ำเสนอเป็นรูปภาพ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ อาทิ
- Table x shows/presents/illustrates/demonstrates/suggests/reveals/summarizes….
นอกจากนี้ ควรอธิบายผลการวิจัยให้ชัดเจน มีการสรุปโดยใช้ค�ำที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มของข้อมูล เช่น rise/decline, increase/decrease,
etc.
2.4 อภิปรายผล (Discussion) เป็นส่วนที่เขียนขึ้นเพื่อตอบค�ำถาม “SO WHAT” คือ จากผลการวิจัยที่ได้นี้
แล้วเป็นไง ข้อค้นพบที่ได้มีความส�ำคัญและมีคุณค่าอย่างไร ส่วนอภิปรายผลจึงถือเป็นส่วนส�ำคัญที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจ
ของงานวิจัยเลยท ีเดียว เพราะเป็นส่วนที่ตีความผลการวิจัยและให้ความเห็นส�ำหรับข้อค้นพบ อาทิ
- ผลการวิจัยที่ได้นั้นตอบค�ำถามการวิจัยหรือยัง ข้อค้นพบที่ได้มีส่วนช่วยเสริมเติมเต็มช่องว่างของความรู้อย่างไร
- ค�ำตอบที่ได้สอดคล้องหรือขัดแย้งกับทฤษฎีหรือองค์ความรู้เดิมหรือไม่ อย่างไร
เทคนิคการเขียนส่วนอภิปรายผล ควรเน้นเฉพาะบริบทของการท�ำวิจัยนี้เท่านั้น ไม่ตีความแบบเหมารวมเกินขอบเขต
งานวิจัยของตน และที่ส�ำคัญควรอภิปรายโดยกล่าวถึงข้อจ�ำกัดของงานวิจัยด้วย ซึ่งมิได้ท�ำให้งานวิจัยด้อยลง แต่กลับ
จะชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยมีความรู้และตระหนักในจุดอ่อนหรือข้อจ�ำกัด ดังกล่าว ท�ำให้งานวิจัยดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นโดยอาจเสนอ
แนวทางแก้ไขข้อบกพร่องส&#65 533;ำหรับผู้สนใจที่จะท�ำการวิจัยต่อในอนาคตด้วย นอกจากนี้ ในตอนท้ายควรมีการสรุป (Conclusion) ในส่วนที่เป็นข้อมูลจากผลการวิจัยโดยย่อ และข้อเสนอ
แนะ (Recommendations) ในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือข้อเสนอแนะในการท�ำวิจัยเพื่อต่อยอดงานวิจัย
นี้ บางบทความอาจมีกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) ซึ่งเป็นส่วนที่ระบุถึงผู้ให้การสนับสนุนการวิจัยทั้งทาง
ด้านความรู้ หรือทุนในการวิจัย หรือสนับสนุนเครื่องมือหรือสถานที่ในการท�ำวิจัย และส่วนสุดท้ายคือเอกสารอ้างอิง
(References) เป็นการระบุเอกสารที่น�ำมาใช้หรืออ้างอิงในการวิจัย ผู้เขียนควรเลือกแหล่งอ้างอิงเชื่อถือได้และระบุให้
ครบถ้วน โดยใช้ระบบการอ้างอิงตามเกณฑ์ที่วารสารก�ำหนด
……………………………………….
เอกสารอ้าง อิง
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ ส�ำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556
สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ (2557) บันทึกความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การเขียนบทความวิจัยภาษาอังกฤษ”
จัดโดยศูนย์ประกันคุณภาพ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Essay Writing – IMRAD Format – Explanation. Retrieved February 27, 2014 from
http://www.study-habits.com/imrad-format-explanation

27 May, 2015   |  apisit.to
การรับทุนวิจัยแบบมืออาชีพจะไม่มีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับยาวส่งไปให้เจ้าขอ งทุน แต่จะเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยสั้น ๆ ประมาณ 3 ? 10 หน้าเท่านั้นเพื่อตกลงในหลักการ (ซึ่งฉบับนี้เรียกกันว่า Proposal) หากถูกใจกันระหว่างผู้ให้ทุนและนักวิจัยก็จะตกลงทำสัญญารับทุนวิจัย โดยฝ่ายผู้ให้ทุนจะเขียนข้อตกลงในการทำงาน เรียกว่า TOR (Terms of Reference) โดยมีเนื้อหาจาก Proposal ฉบับสั้นนั้นอยู่ด้วย ซึ่งในการรับทุนนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องลงนามกำกับทุกหน้าของ TOR นี้ หลังจากรับทุนมาแล้วนักวิจัยจะต้องเขียน Inception report ส่งไปบอกผู้ให้ทุนให้ทราบว่ารายละเอียดของการทำงานเป็นอย่างไร หากผู้ให้ทุนเห็นว่าไม่เหมาะสมก็อาจจะระงับการให้ทุนได้

Inception report เป็นสิ่งที่บอกว่านักวิจัยพร้อมที่จะลงสนามแล้ว โดยถือแผนที่การทำวิจัยฉบับหนึ่งไว้ในมือ ซึ่งโดยมากประกอบด้วยวิธีการทำวิจัยโดยละเอียด และในทางสังคมศาสตร์ต้องแนบแบบสอบถามที่จะใช้ในในเบื้องต้นเสมอ (โดยมากมักมีการปรับแบบสอบถามหลายครั้งในภายหลังจนกว่าจะเข้าที่) เมื่อผู้ให้ทุนอนุมัติให้ทำวิจัยต่อได้ นักวิจัยก็จะใช้แบบสอบถามฉบับเบื้องต้นนั้นออกเก็บข้อมูลได้ทันที และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวิธีที่ระบุไว้ใน Inception report ต่อไป รวมทั้งแปลผลตามแนวทางที่ระบุไว้ด้วยเช่นกัน พูดง่าย ๆ ก็คือสามารถทำงานออกมาเสร็จสรรพได้

แต่อย่าลืมว่างานวิจัยที่ดีจะต้องถามต่อ ดังนั้นงานที่ออกมาในรอบแรกนั้น โดยมากนักวิจัยมืออาชีพจะยังไม่พอใจกับสิ่งที่ได้มานี้ (แม้ว่าผู้ให้ทุนจะพอใจแล้ว และครบถ้วนตามสัญญา) แต่จะพยายามทำต่อให้ได้สิ่งที่หนักแน่นขึ้นมานำเสนอ (นักวิจัยมืออาชีพจึงมักจะทำให้ผู้ให้ทุนได้กำไรอยู่เสมอ) ดังนั้นอาจจะต้องมีการปรับแบบสอบถามกันใหม่ ลงมือเก็บข้อมูลกันใหม่ และวิเคราะห์กันใหม่อีกหลายรอบ จนกว่านักวิจัยจะมั่นใจในหลักฐานและคำตอบที่ได้จากการวิจัย เรื่องนี้เป็นความแตกต่างระหว่างนักวิจัยมืออาชีพและนักวิจัยทั่วไป

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักวิจัยทั่วไปทดสอบพบว่าการที่คนยากจนเพราะไม่ได้รับการศึกษา แล้วมักจะหยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่นักวิจัยมืออาชีพจะศึกษาต่อไปว่าแล้วทำไมคนยากจนถึงไม่ได้รับการศึกษา เพราะพ่อแม่ไม่อยากให้เรียน ไม่มีเงินเรียน อยู่ห่างโรงเรียน ไม่มีเวลาเรียน หรือหากหญิงมีการศึกษาแล้วอาจจะไม่มีสามี เป็นต้น นักวิจัยมืออาชีพมักจะไม่หยุดจนกว่าจะได้คำตอบที่ละเอียดขึ้นอีก นอกจากงบประมาณและเวลาจะไม่พอจริง ๆ แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เขียนอยู่ใน Inception report แต่ถือว่าเราทำเพิ่มให้

27 May, 2015   |  apisit.to
การรับทุนวิจัยแบบมืออาชีพจะไม่มีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับยาวส่งไปให้เจ้าขอ งทุน แต่จะเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยสั้น ๆ ประมาณ 3 ? 10 หน้าเท่านั้นเพื่อตกลงในหลักการ (ซึ่งฉบับนี้เรียกกันว่า Proposal) หากถูกใจกันระหว่างผู้ให้ทุนและนักวิจัยก็จะตกลงทำสัญญารับทุนวิจัย โดยฝ่ายผู้ให้ทุนจะเขียนข้อตกลงในการทำงาน เรียกว่า TOR (Terms of Reference) โดยมีเนื้อหาจาก Proposal ฉบับสั้นนั้นอยู่ด้วย ซึ่งในการรับทุนนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องลงนามกำกับทุกหน้าของ TOR นี้ หลังจากรับทุนมาแล้วนักวิจัยจะต้องเขียน Inception report ส่งไปบอกผู้ให้ทุนให้ทราบว่ารายละเอียดของการทำงานเป็นอย่างไร หากผู้ให้ทุนเห็นว่าไม่เหมาะสมก็อาจจะระงับการให้ทุนได้

Inception report เป็นสิ่งที่บอกว่านักวิจัยพร้อมที่จะลงสนามแล้ว โดยถือแผนที่การทำวิจัยฉบับหนึ่งไว้ในมือ ซึ่งโดยมากประกอบด้วยวิธีการทำวิจัยโดยละเอียด และในทางสังคมศาสตร์ต้องแนบแบบสอบถามที่จะใช้ในในเบื้องต้นเสมอ (โดยมากมักมีการปรับแบบสอบถามหลายครั้งในภายหลังจนกว่าจะเข้าที่) เมื่อผู้ให้ทุนอนุมัติให้ทำวิจัยต่อได้ นักวิจัยก็จะใช้แบบสอบถามฉบับเบื้องต้นนั้นออกเก็บข้อมูลได้ทันที และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวิธีที่ระบุไว้ใน Inception report ต่อไป รวมทั้งแปลผลตามแนวทางที่ระบุไว้ด้วยเช่นกัน พูดง่าย ๆ ก็คือสามารถทำงานออกมาเสร็จสรรพได้

แต่อย่าลืมว่างานวิจัยที่ดีจะต้องถามต่อ ดังนั้นงานที่ออกมาในรอบแรกนั้น โดยมากนักวิจัยมืออาชีพจะยังไม่พอใจกับสิ่งที่ได้มานี้ (แม้ว่าผู้ให้ทุนจะพอใจแล้ว และครบถ้วนตามสัญญา) แต่จะพยายามทำต่อให้ได้สิ่งที่หนักแน่นขึ้นมานำเสนอ (นักวิจัยมืออาชีพจึงมักจะทำให้ผู้ให้ทุนได้กำไรอยู่เสมอ) ดังนั้นอาจจะต้องมีการปรับแบบสอบถามกันใหม่ ลงมือเก็บข้อมูลกันใหม่ และวิเคราะห์กันใหม่อีกหลายรอบ จนกว่านักวิจัยจะมั่นใจในหลักฐานและคำตอบที่ได้จากการวิจัย เรื่องนี้เป็นความแตกต่างระหว่างนักวิจัยมืออาชีพและนักวิจัยทั่วไป

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักวิจัยทั่วไปทดสอบพบว่าการที่คนยากจนเพราะไม่ได้รับการศึกษา แล้วมักจะหยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่นักวิจัยมืออาชีพจะศึกษาต่อไปว่าแล้วทำไมคนยากจนถึงไม่ได้รับการศึกษา เพราะพ่อแม่ไม่อยากให้เรียน ไม่มีเงินเรียน อยู่ห่างโรงเรียน ไม่มีเวลาเรียน หรือหากหญิงมีการศึกษาแล้วอาจจะไม่มีสามี เป็นต้น นักวิจัยมืออาชีพมักจะไม่หยุดจนกว่าจะได้คำตอบที่ละเอียดขึ้นอีก นอกจากงบประมาณและเวลาจะไม่พอจริง ๆ แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เขียนอยู่ใน Inception report แต่ถือว่าเราทำเพิ่มให้

25 Feb, 2015   |  dung
รับทราบค่ะ
โครงการจัดอบรมแบบนี้ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเต็มมากยิ่งขึ้น

Others in this Category
document ประวัติและความเป็นมาของกลุ่ม "การเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุน"
document สมาชิกในกลุ่ม
document กิจกรรมที่ 1 : บ่งชี้ความรู้
document กิจกรรมที่2 : การสร้างและแสวงหาความรู้
document รายงานผลการดำเนินการ ประจำปี 2558
document กิจกรรมที่3 : การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
document กิจกรรมที่ 4 : ประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
document กิจกรรมที่ 5 : การเข้าถึงความรู้
document กิจกรรมที่ 6 : การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
document กิจกรรมที่ 7 : การเรียนรู้
document องค์ความรู้ที่ได้และการนำเอาไปใช้ประโยชน์
document การต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้สู่งานวิจัยและนวัตกรรม