รูปแบบของการวิจัยแบ่งตามลักษณะงาน

        
Views: 584
Votes: 0
Comments: 2
Posted: 08 Sep, 2008
by: Sooksomchitra A.ก.
Updated: 08 Sep, 2008
by: Sooksomchitra A.ก.
รูปแบบของการวิจัยแบ่งตามลักษณะงาน 
การออกแบบงานวิจัยสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะหรือจุดมุ่งหมายของการทำวิจัยได้ 3 แบบ คือ
การวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Research) เป็นขั้นตอนแรกสำหรับกระบวนการตัดสินใจ การวิจัยชนิดนี้ถูกออกแบบเพื่อการศึกษาค้นคว้าถึงข้อมูลใหม่ๆ ที่ยังไม่มีที่ไหนอ้างอิงได้มาก่อน ผู้วิจัยจะพยายามค้นคว้าหาข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ตนยังไม่มีความรู้เพียงพอ การตั้งสมมติฐานอาจยังไม่ชัดเจน รูปแบบการวิจัยจะไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ข้อมูลที่ใช้จะเป็นข้อมูลทุติยภูมิ การสังเกต การสัมภาษณ์ผู้มีความชำนาญหรือผู้รู้ และกรณีศึกษา
การวิจัยเชิงสรุป  (Conclusive Research) เป็นรูปแบบการวิจัยที่ช่วยจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้ผู้บริหารตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เป็นการวิจัยที่มีรูปแบบที่แน่นอน
การวิจัยเชิงวัดผล (Performance – Monitoring Research) เป็นรูปแบบการวิจัยที่จะต้องตอบคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้น” และเป็นรูปแบบงานวิจัยที่มีความสำคัญมากในการควบคุมแผนการตลาด
Showing: 1-2 of 2  
Comments
08 Sep, 2008   |  kunnika
แบบของการวิจัยแบ่งตามลักษณะงาน ก็เห็นด้วยนะ แต่อยากรู้ว่า การวิจัยเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพเขาใช้เกณฑ์อะไรมาแบ่ง ช่วยบอกหน่อย

08 Sep, 2008   |  taweep
ได้ทดลองนำไปใช้กำหนดจุดมุ่งหมายของการทำวิจัยแล้วครับ และ ผมมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบของการวิจัย 3 แบบนี้มาฝากครับ

การวิจัยเชิงสำรวจ
มักจะเป็นขั้นตอนแรกในการศึกษาข้อมูลที่ใช้ส ำหรับการตัดสินใจ จุดประสงค์เพื่อจะอธิบายปัญหาหรือโอกาสที่เกิดขึ้น มักจะใช้ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ตัวอย่างเช่น
1. คำพูดในการโฆษณาถึงสินค้าประเภทอาหารชนิดหนึ่งว่า “มีคุณค่าทางสารอาหาร” ย่อมทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ดีกว่าการโฆษณาด้วยคำพูดที่ว่า “มีรสชาติดี”
2. การเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ X จากช็อคโกแลตเทียมมาเป็นข็อคโกแลตแท้ ย่อมจะเพิ่มความชื่นชอบในหมู่ผู้บริโภคและทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน
3. การลดราคาสิ นค้าลง 10% จะเพิ่มยอดขายได้ 1% ภายใน 6 เดือน
การวิจัยแบบนี้มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง ผู้บริหารส่วนมากไม่สนใจงานวิจัยลักษณะนี้เพราะดูเลื่อนลอยในผลที่ได้รับ

การวิจั ยเชิงสรุป
มักเป็นการวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 1 ตัวแปรขึ้นไป บางครั้งเรียกว่า การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นรูปแบบการวิจัยที่ใช้ทั่วไปมากที่สุดในงานวิจัยธุรกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) บรรยายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
2) อธิบายถึงลักษณะหรือความสำคัญของตัวแปร
3) ทำการพยากรณ์โอกาสต่างๆ ทางการตลาดจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
การวิจัยเชิงพรรณนาต้องการคำตอบที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าการวิจัยเชิงสำรวจ ดังนั้นผู้ทำวิจัยต้องมีความเข้าใจหรือมีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีพอสมควรเกี่ยวกับปัญ หาที่ทำการวิจัย ตัวอย่างเข่น การศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าประเภทเครื่องสำอางในสตรีวัยทำงาน การวิจัยเชิงพรรณนาจะไม่มีการค้นหาหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดเหตุ การณ์เช่นนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น

การวิจัยเชิงเหตุผล (Casual Research) เป็นวิจัย ศึกษา วิเคราะห์ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมากกว่า 1 ตัวแปรขึ้นไป โดยที่ตัวแปรหนึ่งถูกสันนิษฐานว่าเป็นสาเหตุของตัวแปรอีกตัวแปรหนึ่ง (Cause-and-Effect Relationships) โดยทั่วไปการวิจัยประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาถึงสาเหตุและผลจากการดำเนิ นงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
2) เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมากกว่า 1 ตัว ที่ถูกสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุของการเกิดตัวแปรอีกตัวหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการลดราคาสินค้า หรือเพิ่มงบประมาณในการส่งเสริมการขาย จะทำให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น การวิจัยประเภทนี้ถือว่าอยู่ในขั้นสูงกว่าการวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงพรรณนา กระบวนการวิจัยจะมีกรอบในการทำงานที่เข้มงวดกว่า เพราะผู้วิจัยจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา โดยปกติรูปแบบการวิจัยที่ใช้ในการอธิบายความเป็นเหตุผลกันนี้คือ การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

การวิจัยเชิงวัดผล
เป็นงานวิจัยที่มีความสำคัญเพราะเป็นส่วนประกอบของการควบคุม ธุรกิจ แต่ไม่นิยมใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่ออธิบายว่าทำไมแผนธุรกิจที่วางไว้จึงประสบความสำเร็จ

2. เพื่อให้ทราบว่าแผนธุรกิจที่วางไว้นั้นมีความสอดคล้องกันหรือไม่
3. เพื่อให้ทร าบว่าสถานการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลต่อแผนธุรกิจที่วางไว้อย่างไร
แหล่งที ่มาของข้อมูล มาจาก การตั้งคำถาม ข้อมูลทุติยภูมิ และการสังเกต
ทั้งนี้งานวิจัยชนิดนี้ สามารถรวมไปถึงการศึกษาแบบพิเศษ 3 ประเภทที่เป็นการวิจัยแบบต่อเนื่องในระยะยาวได้ด้วย
• Ad Hoc Performance Monitoring เป็นการศึกษาวิจัยที่ใช้ระยะเวลาต่อเนื่องกัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆ
• Continuous Performance Measure โดยทั่วไปจะเป็นการศึกษาที่มีระบบแบบแผน เพื่อที่จะวัดตัวแปรต้นในระบบทางการตลาด แต่ในปัจจุบันก็ได้มีความพยายามที่จะวัดตัวแปรอิสระด้วยสิ่งที่ต้องการวัด
• Longit udinal Design การวิจัยแบบต่อเนื่องระยะยาว เป็นการศึกษาข้อมูลทางการตลาด ในบางครั้งจำเป็นต้องศึกษาในระยะยาวเพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมที่ต่อเนื่องของผู้บริโภ ค ดังนั้นการวิจัยแบบนี้จึงต้องมีกลุ่มตัวอย่างที่อยู่กับเราในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้นักวิจัยสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง

Others in this Category
document รายชื่อสมาชิก KM วิจัย กลุ่ม การออกแบบการวิจัย
document ขอเชิญสมาชิแลกเปลี่ยนในระบบ
document ความหมายของการออกแบบงานวิจัย
document หลักการออกแบบงานวิจัย
document การออกแบบเกี่ยวกับข้อมูล
document การออกแบบเครื่องมือวิจัย
document การออกแบบการเลือกตัวอย่าง
document การออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล
document สิ่งที่ควรคำนึงในการออกแบบงานวิจัย