ความร้ายแรงของสารเคมีในสบู่ที่เราใช้น่ากลัวแค่ไหน
สารเคมีสังเคราะห์ในสบู่เหลวภัยเงียบที่มองไม่เห็น
ดังได้กล่าวแล้วว่าส่วนประกอบส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตสบู่เหลวนั้นเป็นสารเคมีสังเคราะห์ จะมีส่วนผสมของสมุนไพรหรือสารสกัดจากธรรมชาติอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อย ส่วนผสมของสบู่เหลวมีอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนประกอบหลักและส่วนประกอบเพิ่มเติม
ส่วนประกอบหลัก
ส่วนประกอบหลักคือ สารชำระล้าง (detergent) เพื่อทำหน้าที่ในการทำความสะอาด ชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง สารชำระล้างแบ่งออกเป็นหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติ และประสิทธิภาพในการทำความสะอาดแตกต่างกัน และมีความเหมาะสมกับผิวแต่ละชนิดแตกต่างกันไปด้วย สารชำระล้างที่ใช้ในสบู่เหลวแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
สารชำระล้างชนิดประจุลบ มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดได้ดีกว่าชนิดอื่น ทำให้เกิดฟองเร็วและมากราคาถูก จึงเป็นที่นิยมใช้เป็นสารหลักในสบู่เหลว แชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาทำความสะอาดอื่นๆ แต่สารชำระล้างชนิดประจุลบนี้ค่อนข้างแรง จึงอาจระคายเคืองต่อผิว ที่นิยมใช้มีอยู่หลายตัวเช่น
กลุ่ม fatty alcohol sulfate เช่น sodium lauryl sulfate
กลุ่ม fatty alcohol ether sulfate เช่น sodium lauryl ether sulfate
กลุ่ม alkyl ether sulfosuccinate เช่น sodium lauryl ether sulfosuccinate
สารชำระล้างชนิดประจุบวกมีประสิทธิภาพในการชำระล้าง และเกิดฟองน้อยกว่าชนิดประจุลบระคายเคืองต่อผิวหนัง และเนื้อเยื่อตา มีราคาแพงแต่มักจะนำมาใช้ร่วมกับสารชำระล้างชนิดประจุลบในปริมาณไม่มากนัก เพื่อช่วยแก้ไขจุดอ่อนของสารชำระล้างชนิดประจุลบ เพื่อไม่ให้สบู่เหลวมีประจุลบมากเกินไป ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่
polyquaternium 7, 10, 22
quaternary esters
สารชำระล้างชนิดไม่มีประจุ มีประสิทธิภาพในการชำระล้างได้ดี แต่มีฟองไม่มาก เป็นสารเคมีที่มีความอ่อนโยนกว่าสองชนิดที่ผ่านมา จึงมักใช้ในสบู่เหลวสำหรับเด็ก หรือใช้เป็นสารเสริมร่วมกับสารชนิดประจุลบ ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่ polyxyethylene fatty alcohols
สารชำระล้างชนิดสองประจุ สารชำระล้างในกลุ่มนี้ให้ฟองปานกลางและระคายเคืองต่อผิวน้อย จึงนิยมใช้ในการผลิตสบู่เหลวที่อ่อนโยน สบู่เหลวสำหรับเด็ก ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่ cocamidopropyl betaine
ส่วนประกอบรอง ที่อาจเพิ่มเติมเข้าไปในสบู่เหลว ได้แก่
สารปรับสภาพผิว ช่วยเพิ่มความอ่อนนุ่มให้แก่ผิวสารที่นิยมใช้ได้แก่ PEG - 7 glycerylco coate
สารทำให้ข้น เพื่อเพิ่มความเหนียวหนืดให้แก่สบู่เหลว สารที่นิยมใช้ได้แก่
coconut diethanolamine
lauric acid diethanolamine
sodium chloride หรือเกลือแกง
PEG 6000 distearate
PEG - 55 propylene glycol oleate
สารที่ทำให้เกิดประกายมุก เพื่อทำให้สบู่เหลวดูสวยงาม น่าใช้ ดูมีราคา สารที่ใช้ได้แก่ ethylene glycol distearate
ตัวทำลาย ช่วยเพิ่มความสามารถในการละลายน้ำของส่วนประกอบที่ไม่ละลายน้ำ เช่น น้ำหอม สารที่ใช้ได้แก่ PEG - 40 hydrogenated castor oil
สารกันเสีย สารที่นิยมใช้ได้แก่
methyl paraben, propyl paraben
2- bromo-2-nitro-1, 3 propanediol
isothiazolinone derivertives
ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สีน้ำหอม สารฆ่าเชื้อโรค สมุนไพร วิตามินอี เป็นต้น โดยทั่วไปการใช้สารเคมีเหล่านี้ในการผลิตสบู่เหลว จะมีข้อกำหนดอย่างเข้มงวดในเรื่องของเกรดของสารเคมีที่เหมาะสมต่อผิว ปริมาณและความเข้มข้นที่เหมาะสม เพราะหากมีการใช้เกรด ปริมาณ และความเข้มข้นที่ไม่เหมาะสม เพราะหากมีการใช้เกรด ปริมาณ และความเข้มข้นที่ไม่เหมาะสม ก็จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ทำให้เกิดอาการแพ้ถ้าเข้าตาจะทำให้เยื่อบุตาอักเสบ หรือถึงขั้นตาบอดได้ เป็นต้น
อย่างที่กล่าวแล้วว่า สารเคมีสังเคราะห์เหล่านี้สามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ แล้วไปสะสมอยู่ในเซลล์อวัยวะภายในและกระแสเลือด มีรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ในยุโรปและอเมริกายืนยันว่า สารเคมีเหล่านี้มีโอกาสที่จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ตัวอย่างเช่น
สาร SLS และ SLES สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และจะไปสะสมอยู่ในดวงตา สมอง หัวใจ และตับ ซึ่งจะมีผลเสียต่ออวัยวะเหล่านี้ในระยะยาว SLS สามารถเป็นสาเหตุของโรคต้อกระจกในผู้ใหญ่ และมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสายตาของเด็ก ทั้ง SLS และ SLES สามารถก่อให้เกิด nitrosamine ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อมันถูกใช้ร่วมกับ DEA : Diethanolamine หรือ TEA : Triethanolamine ซึ่งเป็นสารประกอบรอง
DEA หรือ TEA เมื่อทำปฏิกิริยากับ nitrosating agent ที่อาจปนเปื้อนมากับสารเคมี (เช่นสารกันบูด) ที่ใช้ในสบู่หรือเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตและเก็บรักษา จะทำให้เกิดสาร introsamine ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ผลการศึกษาของโครงการพิษวิทยาแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาพบว่า DEA และ TEA สามารถซึมผ่านผิวหนัง และสะสมอยู่ในอวัยวะภายใน และเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในตับและไต สำนักงานคณะกรรมอาหารและยา สหรัฐอเมริกาก็มีคำแนะนำให้ลดการใช้ DEA และ TEA แต่ก็ปรากฏว่าสารเคมีทั้งสองนี้ยังพบได้ไม่ยากในสบู่เหลว แชมพู และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ
PEG หรือ Polyethylene เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้ทดแทนสารเพิ่มความชุ่มชื้น จึงมักถูกใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และถนอมผิวพรรณสถาบันเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัตถุในสหรัฐอเมริกาได้ออกคำเตือนให้หลีกเลี่ยงการใช้ PEG เพราะเป็นสารที่ระคายเคืองต่อผิวมาก และอาจเป็นสาเหตุของ ความผิดปกติในตับและไตได้นอกจากนี้สารเคมีในกลุ่ม PEG มีโอกาสที่จะปนเปื้อน dioxanes ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เป็นมะเร็งในตับและจมูกได้ กระทรวงสาธารณสุขของไทยก็มีประกาศข้อห้ามและข้อกำหนดในการใช้ PEG ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและเครื่องสำอางเช่นเดียวกัน
เอกสารอ้างอิง : " เครื่องสำอางเพื่อความสะอาด " เขียนโดย ผศ.พิมพร ลีลาพิสิฐ
พิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมตำราและเอกสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ พ.ศ. 2532 " คู่มือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อเศรษฐกิจชุมชน "
จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข กันยายน พ.ศ. 2543