หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2557 / คณะวิทยาการจัดการ / De by FMS. / ความรู้ที่ได้และการนำไปใช้ประโยชน์
|
|
|||||
ความรู้ที่ได้ สมาชิกกลุ่ม รวบรวมความรู้ที่ได้จากการการสร้างและแสวงหา มาทำการแลกเปลี่ยนความรู้ การค้นคว้าเพิ่มเติม ทำการพิจารณาและจัดทำเป็นกระบวนการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีในการบริการ โดยแบ่งความรู้เป็น ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ เน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป และความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จาก ประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือ สัญชาตญาณ ของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ การจัดการความรู้ซ่อนเร้น เน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป โดยจัดความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและบุคคลอื่นที่สนใจสามารถค้นหาและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ เข้าถึงได้ง่ายและ เปรียบได้กับ หางปลา หรือ KA (Knowledge Access) ทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนที่ไป เปรียบเสมือนการเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) หรือ คลังความรู้ ที่ได้จากการเก็บสะสมความรู้ที่มาจากการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งความรู้เหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือ คู่มือต่างๆ ที่เข้าถึงรวดเร็ว ดังนั้น ทางกลุ่มจึงทำการนำข้อมูลที่มีลงบนเว็บไซด์การจัดการความรู้ ทาง www.km.ssru.ac.th และในรูปแบบของ รายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2557 รวมทั้งภาพถ่าย การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1. ภายในหน่วยงาน 1) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของคณะวิทยาการจัดการ มีการพัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก ทำให้เกิดผลการปฏิบัติงานและการให้บริการที่ดีขึ้น เป็นที่พึงพอใจแก่ผู้รับบริการ โดยเห็นได้จากผลการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของคณะวิทยาการจัดการ ให้ความสำคัญและตระหนักถึงการให้บริการที่ดี 3) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของคณะวิทยาการจัดการ ให้ความสำคัญและพัฒนาความรู้มากขึ้น จากการจัดการความรู้(KM) 4) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของคณะวิทยาการจัดการ เกิดความสามัคคี ทำงานเป็นทีม เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากขึ้น 5) เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่คณะวิทยาการจัดการ 2. ภายนอกหน่วยงาน 1) เกิดความร่วมมือ มีเครือข่ายระหว่างกัน 2) บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง เพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดีและการบริการที่พึงพอใจของผู้รับบริการ 3) เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน |