หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2557 / คณะวิทยาการจัดการ / De by FMS. / การต่อยอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรม
|
|
|||||
การต่อยอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรม งานวิจัย กลุ่ม De by FMS. มีการเขียนโครงร่างงานวิจัยที่เป็นการต่อยอดจากองค์ความรู้ที่ได้ 1 เรื่อง คือ แนวทาง ปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาบุคลากรด้านบุคลิกภาพที่ดีในการบริการ โดยมีสมาชิกในกลุ่มเป็นนักวิจัยหลักและนักวิจัยร่วม เนื่องจากสมาชิกมีความคิดเห็นว่า บุคลากรจัดเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญขององค์กร การที่องค์กรจะขับเคลื่อนหรือพัฒนาไปได้ จำเป็นต้องมีบุคลากรที่เก่งและมีความสามารถ ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนา และในการพัฒนานั้นสิ่งที่สำคัญอีกสิ่ง คือ การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีในการบริการ เนื่องด้วยเป็นการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมทั้งสื่อสารภาพลักษณ์ขององค์กรสู่ภายนอกและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เวลซ์ (Welch, 2001 อ้างถึงใน ศิริอร พงษ์สมบูรณ์, 2545:2) ได้กล่าวไว้ว่า องค์กรใดต้องการเป็นองค์การชั้นนำและสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรนั้น จำเป็นจะต้องมีการสร้างทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ให้เกิดกับองค์กร กล่าวคือ บุคลากรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดขององค์กร ซึ่งจะมีทิศทางไปทางใด ขึ้นอยู่กับคุณภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรขององค์กรนั้นๆ ดังนั้นจากปัญหา การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาบุคลากร เมื่อเกิดการเปรียบเทียบมาตรฐานการปฏิบัติขององค์กรอื่น โดยเฉพาะองค์การคู่แข่ง ทำให้องค์กรไม่สามารถกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และระยะเวลาในการปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการปฏิบัติของพนักงานได้ ทรัพยากรบุคคล จึงนับว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดองค์กร เนื่องจากบุคลากรจะเป็นผู้ผลักดันให้ภารกิจ ต่าง ๆ ขององค์กร สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นการส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ มีสมรรถนะสอดคล้องตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์ขององค์กร ตลอดจนมีคุณลักษณะที่ดีพึงประสงค์ และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร จะทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้า และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากร ให้สามารถรองรับและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วย เนื่องด้วยการจัดบริการที่ดีมีคุณภาพให้นักศึกษา บุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ที่ทางคณะวิทยาการจัดการต้องดำเนินการ ต้องมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการให้มีมาตรฐาน อันจะนำมาซึ่งคุณภาพการให้บริการที่ดี นักศึกษา บุคคลที่เกี่ยวข้องเกิดความพึงพอใจ เป็นการยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงาน คณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญและมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทาง ปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาบุคลากรด้านบุคลิกภาพที่ดีในการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย : 1) เพื่อศึกษาแนวทาง ปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาบุคลากรด้านบุคลิกภาพที่ดีในการบริการ 2) เพื่อนำแนวทาง ปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาบุคลากรด้านบุคลิกภาพที่ดีในการบริการมาปรับใช้ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด ได้แก่ 1) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของคณะวิทยาการจัดการ มีการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก โดยการคล้องบัตรประจำตัวที่แสดงชื่อ-สกุล หน้าที่รับผิดชอบ เสริมให้มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น ทำให้ผู้รับบริการสามารถรู้จักและรับบริการได้อย่างดี 2) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของคณะวิทยาการจัดการ มีการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก โดยการแต่งกายที่เรียบร้อยสุภาพ การยืน การนั่ง ท่าทางที่ดูสง่างาม 3) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของคณะวิทยาการจัดการ มีการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน โดยการให้บริการด้วยรอยยิ้ม เต็มใจในการให้บริการ รวดเร็วและสื่อสารได้อย่างถูกต้อง 4) เกิดกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ(Community of practice : CoP), เพื่อนช่วยเพื่อน(Peer Assist), การศึกษาดูงาน(Study tour), รวมทั้งเรื่องเล่าเร้าพลัง(Storytelling) ในการจัดการความรู้ เพื่อการบ่งชี้ความรู้, การสร้างและแสวงหาความรู้, การจัดความรู้ให้เป็นระบบ, การประมวลและกลั่นกรองความรู้, การเข้าถึงความรู้, การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้, การเรียนรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานจริง 5) เกิดการต่อยอดเป็นหัวข้องานวิจัย เพื่อศึกษาค้นคว้าต่อไป |