หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2557 / บัณฑิตวิทยาลัย / การยกระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการ ระดับบัณฑิตศึกษา / หลักในการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการ
|
|
|||||
การเขียนบทความวิจัยเพื่อให้ถูกต้องและสมบูรณ์จามลักษณะของบทความวิชาการเพื่อการเผยแพร่ โดยเฉพาะในสิ่งพิมพ์นั้น มีข้อเสนอแนะในการเขียนและปัญหาที่พบ ส่วนใหญ่ปัญหาในการเขียน ได้แก่ ชื่อบทความ บทคัดย่อ บทนำ และการอภิปรายผล ดังนี้
โดยทั่วไปบทความวิจัยเป็นการเขียนข้อค้นพบโดยใช้งานวิจัย/วิทยานิพนธ์เป็นฐาน การเขียนชื่อบทความจึงไม่จำเป็นต้องชื่อเหมือนงานวิจัย แต่ต้องแสดงสิ่งสำคัญที่ต้องการศึกษาโดยย่อ ดังนั้นการเขียนชื่อบทความจึงควรคำนึงถึงหลักในการเขียน ดังนี้ 1.1 ชื่อเรื่องควรเป็นนามวลี ไม่ใช้คำที่แสดงเป็นประธานหรือกริยาด้านประโยค และควรมีจำนวนคำที่ระหว่าง 5-20 คำ 1.2 ชื่อเรื่องไม่ควรยาวเกินไป อธิบายงานวิจัยอย่างย่อที่สุด 1.3 ควรระบุคำสำคัญ (Keyword) และไม่ควรใช้คำศัพท์ เทคนิค หรือคำฟุ่มเฟือยมากเกินไป สำหรับการเขียนชื่อภาษาอังกฤษก็ให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับชื่อภาษาไทย และต้องระวังการใช้คำศัพท์เฉพาะให้ถูกต้องตามความนิยมของภาษา และบริบทของการนำมาใช้ในเชิงวิชาการด้วย
บทคัดย่อเป็นข้อความสรุปผลงานที่ทำอย่างรัดกุม ควรเป็นส่วนที่เขียนขึ้นหลังจากเขียนบทความเสร็จเรียบร้อย โดยมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้อ่านว่าควรอ่านบทความทั้งฉบับหรือไม่ หลักในการเขียนบทคัดย่อ จึงควรคำนึงถึงส่วนประกอบ และวิธีการเขียน ดังนี้
2.2 เขียนบอกเฉพาะ แรงจูงใจ ปัญหาหลัก วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย วิธีดำเนินการข้อค้นพบ ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์และ/หรือสมมุติฐาน โดยไม่ต้องบอกค่าสถิติที่ได้ 2.3 ไม่ควรเขียนรายละเอียดข้อมูลทั่วไป/กลุ่มตัวอย่าง และไม่ต้องอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ และไม่ควรเขียนผลการวิจัยเป็นข้อ ๆ 2.4 ควรมีความยาวประมาณ 100-300 คำ และระบุคำสำคัญ 1-3 คำ (หรือตามแต่วารสารนั้น ๆ จะกำหนด) 2.5 อาจเขียนเป็น 1 ย่อหน้า หรือ 2 ย่อหน้า โดยอาจแสดงออกเป็น ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยแรงจูงใจ ปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีวิจัย และส่วนที่ 2 ประกอบด้วย ข้อค้นพบเพื่อตอบวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐาน (ถ้ามี) อนึ่ง ในการเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ถูกต้องและเหมาะสม อาจใช้วิธีศึกษาจากวารสารต่าง ๆ ในประเด็นการศึกษารูปแบบเดียวกันหรือใกล้เคียง เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทาง และเป็นตัวแบบในการเขียนได้เช่นกัน 3. การเขียนบทนำ การเขียนบทนำ เป็นการเสนอความรู้พื้นฐานและงานวิจัยที่เคยมีผู้อื่นทำไว้แล้วอย่างย่อ โดยมีหลักฐานอ้างอิง โดยการเขียนบทนำที่ดีควรเขียนอย่างกระชับ โดยมีแนวทางการเขียนตามลักษณะการเขียนที่ดี ดังนี้ 3.1 ควรเสนอลักษณะและความเป็นมารวมทั้งขอบเขตของปัญหาที่นำมาศึกษาให้ชัดเจน 3.2 มีการทบทวนเอกสารในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ความก้าวหน้า และคำถามใดที่ยังไม่มีการศึกษาหาคำตอบ ซึ่งจะสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยในบทความนั้น ๆ 3.3 ระบุวิธีการที่จะศึกษาวิจัย 3.4 มีความยาวประมาณ 2-3 ย่อหน้า ข้อความควรมีความกระชับ ชัดเจน ไม่จำเป็น ต้องมีรายละเอียดที่ไม่จำเป็นหรือยาวเกินความต้องการ 3.5 การเขียนต้องมีการแสดงหลักฐานอ้างอิงแทรกไว้ในเนื้อหา โดยอาจเป็นแนวคิดจากนักวิชาการ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. การเขียนอภิปรายผลการวิจัย จุดประสงค์ในการเขียนคือเพื่อให้คำวิจารณ์ แสดงความคิดเห็นอธิบายผลการวิจัยที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเน้นการอธิบายสาเหตุการเกิดผลของการค้นพบ การเปรียบเทียบผลของข้อมูลหรือข้อสรุปจากการทบทวนวรรณกรรม ในกรณีที่ผลไม่ตรงกับทฤษฎีหรือไม่เป็นที่น่าพอใจ อาจอ้างถึงผลการวิจัยที่เคยมีผู้ทำไว้แล้ว เพื่อนำมาสนับสนุนผลการทดลอง ข้อสันนิษฐานหรือข้อสรุป เพื่อเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือ โดยมีข้อสรุปว่าผลที่ได้จากการวิจัยสามารถประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์จริงได้อย่างเป็นเหตุผล การเขียนอภิปรายผลเช่นเดียวกับการเขียนบทนำ คือ ควรกระชับ อ่านง่าย และได้ใจความสำคัญ ตามประเด็นของวัตถุประสงค์ และข้อค้นพบจากหลักฐานอ้างอิงประกอบ 5. การเขียนเอกสารอ้างอิง ในการเขียนบทความวิจัย ซึ่งเป็นเอกสารทางวิชาการ การเขียนหลักฐาน การอ้างอิงจากเอกสารทุกแห่งที่ปรากฏในบทความ เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องแสดงในรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ โดยผู้เขียนบทความควรตรวจสอบรูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงให้ถูกต้อง ตามประเภทการอ้างอิง รูปแบบการอ้างอิง ตามที่วารสารนั้นกำหนดรูปแบบไว้ และถูกต้องตามระบบการอ้างอิงของวารสารนั้น ๆ โดยทั่วไปวารสารแต่ละชื่อเรื่องจะระบุรูปแบบและระบบการอ้างอิง ดังนั้นผู้ที่เขียนบทความวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ควรปรับรูปแบบให้เป็นรูปแบบตามที่วารสารนั้นๆ กำหนดด้วย นอกเหนือจากประเด็นสำคัญในการเขียนที่เป็นปัญหา ส่วนอื่นๆ ในองค์ประกอบของการเขียนก็มีความสำคัญเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่เขียนบทความวิจัยควรทำความเข้าใจประเด็นปัญหา และศึกษาเกณฑ์และข้อกำหนดของวารสารนั้น ๆ ด้วย |