หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2557 / สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ / การนำความรู้ไปใช้ประโยนช์
|
|
|||||
|
Comments
|
27 Aug, 2014
| apichad.bu
|
ในความเข้าใจของผม การจัดการความรู้ของกลุ่มห้องสมุดมีชีวิต ช่วยให้ผมได้รับความรู้ และนำไปความรู้ไปใช้ประโยชน์ดังนี้ ครับ 1) ใช้ประโยชน์ในแง่รับรู้สภาพปัญหาของศูนย์วิทยบริการ การจะแกปัญหา หรือการจะพัฒนาเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ต้องรู้สภาพปัญหาก่อน กล่าวคือ สมาชิกกลุ่มฯ ต้องมีทักษะการวิเคราะห์ปัญหาว่า ปัจจุบันศูนย์วิทยบริการ ยังมีประเด็นใดบ้าง ที่ยังไม่มีสภาพความเป็นห้องสมุดมีชีวิต เพื่อที่เราจะได้นำมาสังเคราะห์วิธีการแก้ประเด็นปัญหาปัจจัยด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความเป็นห้องสมุดมีชีวิตของศูนย์วิทยบริการต่อไป เช่น สมาชิกต้องมีความรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิต เพื่อที่จะได้มองออกว่า สภาพแวดล้อมหรือเรื่องใดของศูนย์วิทยบริการ ณ ปัจจุบัน ที่ยังไม่มีสภาพความเป็นห้องสมุดมีชีวิต เช่น บรรยากาศในพื้นที่ใดยังไม่มีความเป็นห้องสมุดมีชีวิต เป็นต้น 2) นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในแง่การสังเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาความไม่มีสภาพความเป็นห้อง สมุดมีชีวิตของศูนย์วิทยบริการ กล่าวคือ สมาชิก นำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปใช้ในการกำหนดแผนการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตของศูนย์วิทยบริการ ซึ่งจะสามารถกำหนดปัจจัยและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับความเป็นห้องสมุดมีชีวิตของศู นย์วิทยบริการ ซึ่งจะเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะทำให้การพัฒนาศูนย์วิทยบริการ ไม่หลงทาง และบรรลุเป้าหมายได้ 3 ) การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในแง่การพัฒนาต่อยอดเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม กล่าวคือ เมื่อสมาชิกของกลุ่มสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว ก็จะสามารถนำแนวความคิดที่เกิดจากกาวิเคราะห์และสังเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับความเป ็นห้องสมุดมีชีวิตของศูนย์วิทยบริการ มาพัฒนาต่อยอดเป็นแนวทางปฏิบัติ เช่น โครงการต่างๆ กระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพ การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิต ได้ต่อไป |
26 Aug, 2014
| varunee.ak
|
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องห้องสมุดมีชีวิตทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้น และหวังว่าจะนำพาไปสู่ห้องสมุดมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้าเราลองใช้ แก้ไข และปรับปรุงตลอดเวลา |
26 Aug, 2014
| Supaporn.Wo
|
จากองค์ความรู้ที่ได้จากการระดมสมอง และกิจกรรมที่คิดขึ้น นอกจากจะสามารถตอบสนองในด้านการบริหารงานแล้ว ยังตอบโจทยจ์ของความเป็นห้องสมุดมีชีวิต ที่สร้างสีสันได้อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ |
25 Aug, 2014
| lek
|
ความรู้ที่เราได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องห้องสมุดมีชีวิต ทำให้เราได้แนวความคิดและรูปแบบของห้องสมุดมีชีวิตที่ดีขึ้นมา และนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยส่งเสริมการให้บริกาที่ดีขึ้นด้วย |
25 Aug, 2014
| vasinee.sr
|
ณวันนี้ศูนย์วิทยบริการกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นห้องสมุดมีชีวิต เป็นความท้าทายที่สมาชิกต้องรวมพลังกันเพื่อผลักดันไปสู่เป้าหมาย.ความรู้จากการแลกเ ปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้จะเป็นก้าวแรกของพวกเราที่จะนำพาห้องสมุดสวนสุนันทาไปสู่การเ ป็นห้องสมุดมีชีวิต |
25 Aug, 2014
| suliya.ni
|
การทำวิจัยเรื่องห้องสมุดมีชีวิตมีผู้ทำวิจัยไว้หลายเรื่อง อดีตผู้อำนวยการห้องสมุด ผศ. วรพจน์ วีรพลิน ท่านก็เคยทำไว้ คือการวิจัยเรื่องความต้องการรูปแบบห้องสมุดที่พึงประสงค์ของบุคลากรและนักศึกษามหาว ิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ |
25 Aug, 2014
| juju
|
ภาพลักษณ์ของศูนย์วิทยบริการจากมุมมองของหน่วยงานภายนอก มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ได้รับการชื่นชมถึงรูปแบบและบรรยากาศของห้องสมุดที่มีการพัฒนาในด้านที่ดี สวยงามและทันสมัย สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าใช้บริการ |
25 Aug, 2014
| juju
|
ภาพลักษณ์ของศูนย์วิทยบริการจากมุมมองของหน่วยงานภายนอก มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ได้รับการชื่นชมถึงรูปแบบและบรรยากาศของห้องสมุดที่มีการพัฒนาในด้านที่ดี สวยงามและทันสมัย สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าใช้บริการ |
25 Aug, 2014
| juju
|
ภาพลักษณ์ของศูนย์วิทยบริการจากมุมมองของหน่วยงานภายนอก มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ได้รับการชื่นชมถึงรูปแบบและบรรยากาศของห้องสมุดที่มีการพัฒนาในด้านที่ดี สวยงามและทันสมัย สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าใช้บริการ |