Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


รายงานผลการดำเนินงาน

รายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้

กลุ่มจิปาถะ

แผนการจัดการความรู้ที่ 2

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

ประจำปีงบประมาณ 2557

คำนำ

            ด้วยวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ จัดตั้งกลุ่มการจัดการความรู้ กลุ่ม จิปาถะ ของบุคลากรฝ่ายสนับสนุนวิชาการ โดยในปีงบประมาณ 2557 นี้ องค์ความรู้ที่สนใจของกลุ่ม ได้แก่ “การพัฒนาฐานข้อมูลศิษย์เก่า เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และให้บริการ”  เพื่อต้องการพัฒนาฐานข้อมูลศิษย์เก่าเพื่อเชื่อมสัมพันธ์และให้บริการ  ตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับศิษย์เก่าและชุมชน อีกทั้งเป็นการสร้างความประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆระหว่างวิทยาลัยฯกับศิษย์เก่า รวมทั้งเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างศิษย์ปัจจุบันกับศิษย์เก่าอีกด้วย

            หวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์ความรู้ที่ได้นี้ จะสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และนำไปประยุกต์กับหน่วยงานอื่นๆภายในมหาวิทยาลัยต่อไป

                                                                                                            สมาชิกกลุ่มจิปาถะ

                                                                                                               สิงหาคม 2557

                                       

สารบัญ

เรื่อง

หน้า

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มความรู้

1

            ความเป็นมาของกลุ่มความรู้

1

            สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของสมาชิก

1

ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้

2

            การบ่งชี้ความรู้

2

            การสร้างและแสวงหาความรู้

2

            การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

4

            การประมวลและกลั่นกรองความรู้

5

            การเข้าถึงความรู้

6

            การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

6

            การเรียนรู้

7

ส่วนที่ 3 ผลผลิตและผลลัพธ์

8

ความรู้ที่ได้และการกลั่นกรองความรู้

8

การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

8

            ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด

9

            สรุปผลการดำเนินการจัดการความรู้

9

            การต่อยอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้น

10

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มความรู้

  1. ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ (กลุ่มความรู้) ระบุข้อมูล ดังนี้

กลุ่มความรู้ “จิปาถะ” ประกอบด้วยบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ โดยที่มาของชื่อกลุ่มมาจากการมีหน้าที่ให้บริการกับผู้รับบริการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรภายนอกหน่วยงาน การทำงานของบุคลากรจึงมีหน้าที่หลากหลาย และต้องประสานงานร่วมกับหลายฝ่าย ดังนั้นคำว่า “จิปาถะ” จึงเป็นคำศัพท์ที่สามารถสะท้อนและสื่อความหมายของการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกกลุ่ม

จากการระดมสมองในการคัดเลือกหัวข้อองค์ความรู้ที่จำเป็นของกลุ่ม สำหรับปีงบประมาณ 2557 นั้น ได้แก่ “การพัฒนาฐานข้อมูลศิษย์เก่าเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และการให้บริการ” เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างวิทยาลัยฯกับศิษย์เก่า เพื่อสานสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายระหว่างอาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่า เพื่อกิจกรรมร่วมกันในอนาคตของวิทยาลัยฯต่อไป อีกทั้งยังเชื่อมโยงในการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยอีกด้วย และตอบสนองยุทธศาสตร์ที่ 2 ของมหาวิทยาลัย คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับศิษย์เก่าและชุมชน

สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของสมาชิก

ลำดับ

ชื่อ-นามสกุล

บทบาทหน้าที่

หน่วยงานที่สังกัด

1.

นายนพปฏล อินยาศรี

คุณอำนวย

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

2.

นางสาวอัญชนา สอนแตง

คุณกิจ

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

3.

นางธัญลดา เลี้ยงอยู่

คุณกิจ,คุณลิขิต

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

4.

นางสาวอัญชา แดงทองดี

คุณกิจ

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

5.

นางสาววันวิสา หนูเมียน

คุณวิศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

6.

นางสาวสุธามาศ นุ่มพญา

คุณประสาน

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

7.

นางสาวอรณิช พวงมาลี

คุณกิจ

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

8.

นายวิชรพัฒน์ เลิศบัณฑิตกุล

คุณวิศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

หมายเหตุ  ระบุบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน (คุณอำนวย, คุณกิจ, คุณลิขิต, คุณประสาน และคุณวิศาสตร์)

ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้

  1. การบ่งชี้ความรู้

1.1 รายละเอียดผลการดำเนินงาน 

การกำหนดองค์ความรู้ของกลุ่มจิปาถะ จะกำหนดจากการขอบเขตและเป้าหมายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยองค์ความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับศิษย์เก่าและชุมชน โดยองค์ความรู้ที่จำเป็น ได้แก่ การพัฒนาฐานข้อมูลศิษย์เก่าเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และให้บริการ

1.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง

แผนการจัดการความรู้  วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2557

  1. การสร้างและแสวงหาความรู้

2.1 รายละเอียดการ

สำหรับวิธีการที่ใช้ในการสร้างและแสวงหาความรู้นั้น ได้ทำการศึกษาจากฐานข้อมูลที่มีการเผยแพร่บนเว็บไซต์ โดยจะพิจารณาจากฐานข้อมูลศิษย์เก่าของสถาบันที่มีศิษย์เก่าหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยหน่วยงานภายนอกจะตั้งเป็นสมาคมศิษย์เก่า และมีเว็บไซต์ของศิษย์เก่า โดยมีจดตั้งคณะกรรมการสมาคม และบางสถาบันจะมีการใช้ Social Network ได้แก่ Facebook เพิ่มเติมอีกด้วย

โดยข้อมูลบนเว็บไซต์ของสถาบัน ที่ปรากฏจะเป็นรายชื่อของคณะกรรมการสมาคม ข่าวประชาสัมพันธ์ และข่าวกิจกรรมต่างๆ

2.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง

ฐานข้อมูลเว็บไซต์ศิษย์เก่าของหน่วยงานภายนอก

http://nualumni.kku.ac.th/

http://www.nurse.cmu.ac.th/alumni/

http://med.mahidol.ac.th/ramanursealumni/

km1.jpg

ฐานข้อมูลใน Social Network (Facebook) แบบ Private Account

km2.jpg

ฐานข้อมูลใน Social Network (Facebook) แบบ Fan Page

km3.jpg

  1. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

3.1 รายละเอียดการดำเนินงาน

สำหรับวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มีผู้สำเร็จการศึกษาเมื่อปีการศึกษา 2553 เป็นรุ่นแรก โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นจำนวน 3 รุ่น (นับรวมปีการศึกษา 2556) โดยฐานข้อมูลศิษย์เก่าจะใช้ตามปีการศึกษาที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยขอความอนุเคราะห์ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากกองพัฒนานักศึกษา

ปัจจุบันมีฐานข้อมูลของศิษย์เก่าจำนวน 2 รุ่น ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2554 และ 2555 ที่เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลศิษย์เก่าของวิทยาลัยฯ โดยเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯ

นอกจากนี้มีการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Facebook Fanpage โดยใช้ชื่อว่า College of Nursing and Health Alumni Association เนื่องจากเหมาะกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ สะดวกในการใช้งาน และการเข้าถึงข้อมูลง่ายกว่า

3.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง

http://www.nurse.ssru.ac.th/index.php/th/2013-09-27-03-55-53/2013-12-20-08-01-56.html

https://www.facebook.com/CNHAA

  1. การประมวลและกลั่นกรองความรู้

4.1 รายละเอียดการดำเนินงาน

เนื่องจากข้อจำกัดของการสร้างฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ไม่สามารถนับจำนวนผู้เข้ามาชมเว็บไซต์ได้ ช่องทางที่นำมาใช้การรับข้อมูลที่ได้มีการประชาสัมพันธ์ไป จึงจะสามารถดูได้จาก Facebook Fanpage ของศิษย์เก่า ซึ่งทางผู้รับผิดชอบในการดูแล และให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆของแฟนเพจ จะสามารถทราบจำนวนของผู้ที่มองเห็นข้อความที่ได้อัพโหลดขึ้นว่ามีกี่คน หรือนับจากจำนวนการไลค์ในข้อความต่างๆที่อยู่บนแฟนเพจได้

ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีนโยบายในการเสียค่าใช้จ่ายเพื่อโฆษณาแฟนเพจ ดังนั้นการที่จะให้บุคคลทั่วไปเห็นข้อมูลอาจจะไม่สูงมากนัก แต่อาศัยการแจ้งข่าวกับนักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่าตามวาระโอกาสต่างๆ

4.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง

https://www.facebook.com/CNHAA

  1. การเข้าถึงความรู้

5.1 รายละเอียดการดำเนินงาน

สำหรับข้อมูลที่เผยแพร่ ส่วนใหญ่จะเน้นบน Social Network หรือการมีข้อมูลบน Facebook Fanpage ทั้งนี้เพราะวิถีการดำเนินชีวิตจะใช้สมาร์ทโฟนมาขึ้น และเป็นช่องทางที่นิยมในปัจจุบัน สะดวก รวดเร็ว โดยข้อมูลจะเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมข่าวสารของวิทยาลัยฯ เช่น การทำบุญครบรอบ 7 ปี,พิธีไหว้ครู เป็นต้น และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับศิษย์เก่า อาทิเช่น การสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพฯ, พิธีพระราชทานปริญญาบัตร เป็นต้น

นอกจากนี้จะมีข้อมูลที่มีประโยชน์และน่าสนใจในวันสำคัญต่างๆ หรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เผยแพร่ สำหรับเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯ จะมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมของวิทยาลัยฯ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ งานวิจัย การประกันคุณภาพ ฯลฯ

5.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง

https://www.facebook.com/CNHAA

          http://www.nurse.ssru.ac.th/index.php/th/

  1. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

6.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการถ่ายทอดความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ชัดแจ้งและความรู้ฝังลึก)

มีการจัด โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการความรู้ในการพัฒนาการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มความรู้ภายในวิทยาลัยฯ โดยมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่จำเป็นของแต่ละกลุ่มร่วมกัน

นอกจากนี้มีการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาฐานข้อมูลศิษย์เก่าเพื่อเชื่อมสัมพันธ์และให้บริการ ที่เป็นความรู้ชัดแจ้งก็คือการมีฐานข้อมูลของศิษย์เก่าของวิทยาลัยฯ ที่สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและกิจกรรมของวิทยาลัยฯที่จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆต่อไป ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์แก่บุคลากรของวิทยาลัยฯให้รับทราบ

6.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง

https://www.facebook.com/CNHAA

          http://www.nurse.ssru.ac.th/index.php/th/

  1. การเรียนรู้

            7.1 รายละเอียดการดำเนินงาน

สามารถรวบรวมและนำความคิดเห็นต่างๆที่มีผู้เสนอแนะ บนฐานข้อมูลศิษย์เก่าที่วิทยาลัยฯ มาใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรม/โครงการที่เป็นประโยชน์สำหรับศิษย์เก่า และตรงกับความต้องการของศิษย์เก่า/ศิษย์ปัจจุบันอีกด้วย

7.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง

https://www.facebook.com/CNHAA

ส่วนที่ 3 ผลผลิตและผลลัพธ์

  1. ความรู้ที่ได้และการกลั่นกรองความรู้

ความรู้ที่ได้

ปัจจุบันมีฐานข้อมูลของศิษย์เก่าจำนวน 2 รุ่น ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2554 และ 2555 ที่เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลศิษย์เก่าของวิทยาลัยฯ โดยเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯ

นอกจากนี้มีการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Facebook Fanpage โดยใช้ชื่อว่า College of Nursing and Health Alumni Association เนื่องจากเหมาะกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ สะดวกในการใช้งาน และการเข้าถึงข้อมูลง่ายกว่า

ผ่านการกลั่นกรองจาก สมาชิกของกลุ่มจิปาถะ

บันทึกอยู่ที่

https://www.facebook.com/CNHAA

          http://www.nurse.ssru.ac.th/index.php/th/

  1. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
    1. ภายในหน่วยงาน

บุคลากรภายในวิทยาลัยฯได้รับข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ของศิษย์เก่า มีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างวิทยาลัยฯ และศิษย์เก่า นอกจากนี้สามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้รับมาใช้ในการวางแผนกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับศิษย์เก่า และใช้การประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ

  1. ภายนอกหน่วยงาน

            ศิษย์เก่าได้รับทราบข้อมูลการประชาสัมพันธ์กิจกรรม ข่าวสารต่างๆของวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางสำหรับการประชาสัมพันธ์การรับสมัครงานต่างๆได้ด้วย

  1. ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด (KPI) ตามแผนการจัดการความรู้

ค่าเป้าหมาย

ผล

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

> ร้อยละ 80*

อยู่ในระหว่างดำเนินการ

จำนวนของผู้เข้ามาใช้บริการในระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า

ผู้เข้ามาใช้บริการ

> 200 ครั้ง*/เดือน

นับจากจำนวนผู้เข้าถึงข้อมูล

> 200 ครั้ง/เดือน

            *นับจากผู้จำนวนบุคคลที่เข้ามาชมสถานะข้อมูลที่อัพโหลดแต่ละเดือน

เอกสารหลักฐานอ้างอิง

  1. https://www.facebook.com/CNHAA
  2.  จำนวน People Reached ข้อความบนแฟนเพจ

  1. สรุปการดำเนินการจัดการความรู้ของกลุ่มความรู้
    1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การเลือกช่องทางการสื่อสารที่เข้ากับยุคสมัย สามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งใช้การประชาสัมพันธ์บอกต่อซึ่งกันและกัน ทั้งระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง อาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยฯ อีกทั้งได้รับความอนุเคราะห์ฐานข้อมูลจากกองพัฒนานักศึกษาทำให้ได้มีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ

  1. ปัญหาและอุปสรรค

การสร้างระบบฐานข้อมูลของศิษย์เก่าบนเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯ มีข้อจำกัดในการสร้างข้อมูลต่างๆเอง เนื่องจากมีรูปแบบที่ตายตัว เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป ไม่เอื้ออำนวยในการสร้างสรรค์ได้ตามต้องการ จำเป็นต้องมีโปรแกรมหรือใช้ระบบอื่นๆมาช่วย และการใช้งานค่อนข้างซับซ้อน

สำหรับการใช้งานบน Facebook Fanpage นั้น เนื่องจากเป็นสื่อสาธารณะ ดังนั้นจึงไม่สามารถควบคุมหรือคัดกรองบุคคลที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้นข้อมูลที่เผยแพร่จะต้องเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มา แหล่งอ้างอิง เพื่อป้องกันความเสียหายหรือผลกระทบอื่นๆได้

  1. การต่อยอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้น
    1. งานวิจัย

ชื่อโครงการงานวัยที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ดังกล่าวได้แก่

“ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า”

  1. นวัตกรรม

การสร้างฐานข้อมูลศิษย์เก่าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน