การต่อยอดองค์ความรู้

        
Views: 668
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 25 Aug, 2014
by: พัสระ ร.ว.
Updated: 25 Aug, 2014
by: พัสระ ร.ว.
  1. การต่อยอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้น
    1. งานวิจัย (อธิบายรายละเอียดของงานวิจัยที่มีการต่อยอดจากองค์ความรู้ที่ได้)

งานวิจัยที่มีการต่อยอดจากองค์ความรู้ที่ได้ คือ งานวิจัยในหัวข้อทัศนคติต่อการให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวต่างด้าวของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สี่ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติในการให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวต่างด้าวของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สี่ เนื่องจากนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สี่นั้นเป็นชั้นปีที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อศึกษาการวางแผนดูแลและสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชน และเป็นชั้นปีสุดท้ายก่อนจะก้าวเข้าสู่วิชาชีพพยาบาลอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาทัศนคติที่มีต่อการให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวต่างด้าว เนื่องจากพยาบาล ถือเป็นวิชาชีพแรกในแปดวิชาชีพ ที่มีการลงนามตกลงให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ดังนั้น วิชาชีพพยาบาลจึงต้องมีการตื่นตัวและเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดประชาคมอาเซียน และทำความเข้าใจถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้บริการสุขภาพและการพยาบาล ทั้งด้านการประเมินภาวะสุขภาพ การวินิจฉัย การวางแผนให้การช่วยเหลือดูแล การฟื้นฟูสภาพ และเสริมสร้างสุขภาพ รวมทั้งช่วยการบำบัดรักษาได้ตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้มาใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม ให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และเป็นที่พึงพอใจของทั้งผู้มาใช้บริการและผู้ให้บริการจากประสบการณ์การฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลชุมชนในหลากหลายพื้นที่พบว่า มีประชาชนในชุมชนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจากบุคคลากรทางสาธารณสุข และในจำนวนนี้พบว่ามีประชาชนชาวต่างด้าวจากประเทศที่เข้าร่วมสมาคมอาเซียนอาศัยปะปนอยู่ในชุมชนด้วย ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีความต้องการการตอบสนองทางด้านสุขภาพพื้นฐานเช่นเดียวกัน

ที่ผ่านมานักศึกษาประสบกับปัญหาไม่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจในการซักถามภาวะสุขภาพของบุคคลเหล่านี้ได้ เนื่องจากเหตุผลทางวัฒนธรรมภาษาที่แตกต่างกัน ทำให้บุคคลเหล่านี้ถูกละเลยในการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ควรได้รับการตอบสนองตามหลักสิทธิมนุษยชน และจรรยาบรรณทางการพยาบาล ดังนั้น กลุ่มครูสีฟ้าจึงได้ดำเนินการจัดการความรู้โดยสร้างคู่มือการซักประวัติและประเมินภาวะสุขภาพให้รองรับในความแตกต่างด้านภาษา เพื่อแก้ไขปัญหาการถูกละเลยในการดูแลภาวะสุขภาพแก่ชาวต่างด้าวที่เกิดจากอุปสรรคด้านการสื่อสาร และช่วยลดช่องว่างในการดูแลภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน และหากมีการศึกษาทัศนคติต่อการให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวต่างด้าวของนักศึกษาพยาบาล และนำผลการศึกษานี้มาเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการดูแลสุขภาพของชาวต่างด้าว ก็จะส่งผลให้นักศึกษาพยาบาลมีทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกคน ด้วยความมีคุณธรรมจริยธรรมของวิชาชีพที่ดี ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ดำรงชีวิตอย่างมีความกลมกลืนในภาวะสุขภาพที่ดี บนพื้นฐานของความเท่าเทียมในด้านการได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพและเคารพในสิทธิมนุษยชน อันจะก่อให้เกิดความมั่นคงด้านสุขภาพของคนไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนในอนาคต นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมจริยธรรมอันดีตรงตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอีกด้วย

  1. นวัตกรรม (อธิบายรายละเอียดผลงานนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด)

นวัตกรรมของทางกลุ่มครูสีฟ้านั้น เป็นนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ที่คิดและผลิตโดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สี่ โดยการนำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนซึ่งเป็น Explicit Knowledge ที่ได้จากการจัดการความรู้ปี 56 และทางกลุ่มได้นำมาใช้อย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น โดยนำไปประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน โดยให้นักศึกษาใช้ประกอบการสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชนซึ่งในหลายชุมชนมักมีชาวต่างด้าวอาศัยอยู่ด้วย และที่ผ่านมาชาวต่างด้าวเหล่านี้มักจะถูกละเลยในการสำรวจภาวะสุขภาพ เนื่องจากความแตกต่างด้านภาษา การนำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนมาใช้ประกอบการสำรวจนั้นจะช่วยลดช่องว่างด้านการสื่อสารลงได้ จากนั้นนักศึกษาจะนำข้อมูลสุขภาพที่สำรวจได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาหัวข้อปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขและนำเข้าสู่กระบวนการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาร่วมกับประชาชนทุกคนในชุมชนรวมทั้งชาวต่างด้าวที่อาศัยในชุมชนนั้นด้วย เมื่อได้หัวข้อปัญหาที่ต้องการแก้ไขแล้ว นักศึกษาจะวางแผนจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาและจะผลิตนวัตกรรมด้านสุขภาพขึ้นมาประกอบกับการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทำให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ ทั้ง 7 ขั้นตอน ส่งผลให้นักศึกษาเป็น เป็นนักปฏิบัติ หมายถึง เป็นบัณฑิตที่มีความสามารถด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะและมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน สามารถใช้หลักวิชาการด้วยความชำนาญ มีคุณธรรม ใฝ่ศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง มีจิตสาธารณะ หมายถึง เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น มุ่งทำความดีที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ และเชี่ยวชาญการสื่อสาร หมายถึง เป็นบัณฑิตที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สามารถสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาที่ศึกษา โดยใช้ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยสู่ชุมชนและสังคม ตรงตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Others in this Category
document ปัญหาและที่มาของการจัดการความรู้ในปี 2557 ค่ะ
document รายงานผลการดำเนินงานจัดการความรู้ รอบ 3 เดือน
document รายงานผลการดำเนินงานจัดการความรู้ รอบ 6 เดือน
document รายงานผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน
document การดำเนินงานจัดการความรู้ทั้ง 7 ขั้นตอน
document ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพครั้งที่ 1 ปี 2557
document ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพครั้งที่ 2
document ภาพกิจกรรมการดำเนินงานในชุมชนโดยนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
document ภาพกิจกรรมการนำเสนอนวัตกรรมเพื่อสุขภาพในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ และการถอดบทเรียนภายหลังการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
document ความสำคัญและความเป็นมาของการจัดการความรู้
document การเรียนรู้ 7 ขั้นตอน
document ผลผลิตและผลลัพธ์การเรียนรู้
document การนำความรู้ไปใช้ และสรุปผลการดำเนินงาน