Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


การนำความรู้ไปใช้ และสรุปผลการดำเนินงาน

การนำความรู้ไปใช้ภายในและภายนอกหน่วยงาน

  1. ภายในหน่วยงาน (อธิบายรายละเอียดกระบวนการในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงาน)
  • นำคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ แจกจ่ายแก่อาจารย์นิเทศและนักศึกษา เพื่อนำไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน และถอดบทเรียนหลังทดลองใช้ ซึ่งผลการถอดบทเรียนพบว่าคู่มือสามารถช่วยให้ความรู้และแนวทางการผลิตนวัตกรรมสุขภาพจากวัสดุในชุมชนได้ และช่วยให้รายงานการศึกษาชุมชนมีความสมบูรณ์ของข้อมูลมากขึ้น และคะแนนประเมินนักศึกษาหลังฝึกปฏิบัติผ่านเกณฑ์ 60 คะแนน
  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จากการฝึกปฏิบัติออกมาเป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และถอดบทเรียนหลังจัดเวทีเพื่อเก็บข้อมูลไว้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการความรู้ครั้งต่อไป
  • เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ในวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้ระหว่างกลุ่ม

  1. ภายนอกหน่วยงาน (อธิบายรายละเอียดกระบวนการในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานภายนอก)
  • นำคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ แจกจ่ายแก่พยาบาลประจำศูนย์บริการสาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน เพื่อนำไปใช้ประกอบการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน  ผลการนำไปใช้พบว่า คู่มือสามารถช่วยให้ความรู้และแนวคิดในการผลิตนวัตกรรมสุขภาพจากวัสดุในชุมชนได้
  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ หลังการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จากการฝึกปฏิบัติออกมาเป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมชมงานเพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อนำไปปรับใช้ในหน่วยงานอื่นได้
  • เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ในวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้ระหว่างกลุ่ม
  • ส่งผลการดำเนินงานกลุ่มความรู้เข้าร่วมประกวดหา Best Practice ของมหาวิทยาลัย

  1. ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด (KPI) ตามแผนการจัดการความรู้

ค่าเป้าหมาย

ผล

จำนวนนวัตกรรมที่ผลิตเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

1 ชิ้น

บรรลุ

          

เอกสารหลักฐานอ้างอิง

  1. คู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
  2. รายงานการศึกษาชุมชนของนักศึกษากลุ่มละ 1 เล่ม
  3. ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ และ 30 กรกฎาคม 2557 8.30 - 12.00 น. ณ ลานนวัตกรรม ชั้น 1 อาคาร 37
  4. รายงานการถอดบทเรียนหลังการใช้คู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนและหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. สรุปการดำเนินการจัดการความรู้ของกลุ่มความรู้
    1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
  • จิตสำนึกของการพัฒนาการเรียนการสอนและการคำนึงถึงคุณค่าของการศึกษาของอาจารย์และนักศึกษาทุกท่าน
  • ความร่วมมือร่วมใจกันในการดำเนินงานของอาจารย์และนักศึกษา
  • การสนับสนุนโดยอำนวยความสะดวกในการทำงาน งบประมาณ สถานที่ เวลา และกำลังใจที่ดีจากเพื่อนร่วมงานผู้บังคับบัญชาและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน และภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • การมองเห็นโอกาสภายใต้วิกฤตที่ประสบระหว่างการดำเนินงาน
  • ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในกลุ่มความรู้และระหว่างกลุ่มความรู้อื่นในหน่วยงานเดียวกันและระหว่างหน่วยงาน
  • จิตวิญญาณของการเป็นครูที่พร้อมและเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้แก่ผู้รับ ทั้งจากอาจารย์อาวุโสสู่อาจารย์รุ่นน้อง และจากอาจารย์สู่นักศึกษา และจากนักศึกษาสู่นักศึกษาด้วยกันเอง
  • ความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเครือข่ายทางด้านสุขภาพที่เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของชาวต่างด้าวที่อาศัยในประเทศไทย
    1. ปัญหาและอุปสรรค
  • การดำเนินงานในบางขั้นตอนคาบเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาในรายวิชาอื่น ทำให้มีเวลาในการเตรียมงานการจัดการความรู้จำกัด และมีโอกาสพบปะพูดคุยกันไม่เท่าที่ควร แก้ไขปัญหาโดยการติดต่อทางโทรศัพท์ อีเมลล์
  • เนื่องจากผู้ดำเนินงานคืออาจารย์พยาบาลซึ่งมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทำให้บางช่วงอาจติดภารกิจ ทำให้การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ต่อเนื่อง
  • กำหนดการจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่ระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติ ทำให้การประชาสัมพันธ์โครงการไม่ทั่วถึง แต่การดำเนินงานก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี