|
||
1.1 รายละเอียดผลการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการบ่งชี้ความรู้ โดยแสดงรายละเอียดว่าเราต้องการความรู้เรื่องอะไรที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์) เป้าหมาย - ต้องการรวบรวมปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานและสามารถนำมาบูรณาการการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ ยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของสวนสุนันทา - นำข้อมูลปัญหาที่รวบรวมได้ มาตั้งเป็นหัวข้อในการจัดการความรู้ 1 เรื่อง - ต้องการนำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนจากการจัดการความรู้เมื่อปี56 นำมาดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและบูรณาการให้สอดคล้องการดูแลสุขภาพประชาชนและสอดคล้องกับการจัดการความรู้ในครั้งนี้ ตัวชี้วัด - ได้ข้อมูลปัญหาที่ต้องนำมาทบทวนเพื่อเป็นหัวข้อจัดการความรู้ 1 เรื่อง - ได้หัวข้อในการจัดการความรู้ 1 เรื่อง - ได้ข้อมูลสำคัญในการดำเนินการเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและบูรณาการให้สอดคล้องการดูแลสุขภาพประชาชนและสอดคล้องกับการจัดการความรู้ในครั้งนี้ คำอธิบายผลการดำเนินงาน - จัดตั้งกลุ่มความรู้ Community of Practice (CoP) ครูสีฟ้า - กำหนดบทบาทสมาชิกในกลุ่มตามความเหมาะสม ดังนี้
- สุนทรียสนทนา ( Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) และนำมาจัดตั้งหัวข้อการจัดการความรู้ เรื่อง การสร้างนวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของชาวต่างด้าวที่อาศัยในชุมชน 1.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง - รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 1 - ภาพการประชุมกลุ่มความรู้
2.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีที่ใช้ในการสร้างและแสวงหาความรู้ให้ได้ตามที่กำหนดในขั้นตอนการบ่งชี้ความรู้ โดยระบุว่าความรู้อยู่ที่ใคร อยู่ในรูปแบอะไร และจะนำมาเก็บรวบรวมได้อย่างไร) เป้าหมาย - ได้แนวทางการพัฒนาคู่มือการซักประวัติภาษาอาเซียนเพื่อนำไปสู่การผลิตนวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของชาวต่างด้าวที่อาศัยในชุมชน - ปัญหาสุขภาพของชาวต่างด้าวเพื่อนำไปสร้างนวัตกรรม ตัวชี้วัด - ได้ขั้นตอนในการนำคู่มือการซักประวัติภาษาอาเซียนไปใช้ในการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพของชาวต่างด้าวและปัญหาสุขภาพของชุมชน ตามขั้นตอนดังนี้ 1. ประเมินสภาพชุมชน และสำรวจปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชน 2. นำข้อมูลที่สำรวจได้มาวิเคราะห์ 3. จัดลำดับความสำคัญของปัญหา 4. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 5.วิเคราะห์โยงใยสาเหตุของปัญหา 6. จัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา 7. ดำเนินการแก้ไขปัญหา 8. ประเมินผลกระบวนการและผลลัพธ์ - ได้ปัญหาสุขภาพของชาวต่างด้าวเพื่อนำไปสร้างนวัตกรรม คำอธิบายผลการดำเนินงาน - สุนทรียสนทนา ( Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน ว่าขั้นตอนการวินิจฉัยชุมชนขั้นตอนใดบ้างที่สามารถนำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนมาใช้ในการสำรวจปัญหาควบคู่กันได้ เพื่อเป็นการบูรณาการระหว่างคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน (Explicit knowledge) และการสร้างเสริมความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) จากการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน - สุนทรียสนทนา (Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน ว่าจากประสบการณ์การฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนที่ผ่านมา สมาชิกแต่ละคน ประสบกับปัญหาในการสื่อสารกับชาวต่างด้าวอย่างไรบ้าง เพื่อกำหนดแนวทางการนำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน (Explicit knowledge) ไปใช้ควบคู่กับการสำรวจปัญหาสุขภาพ
- รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 1, 2 - คู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน - คู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน - ภาพการประชุมกลุ่มความรู้ - ภาพการสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน
3.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการจัดระบบความรู้ที่ได้จากการสร้างและแสวงหา โดยระบุถึงความรู้ที่ได้มาจะเก็บอย่างไร และจะแบ่งประเภทหัวข้อของความรู้อย่างไร) เป้าหมาย - ปัญหาสุขภาพของชาวต่างด้าวเพื่อนำไปสร้างนวัตกรรม ตัวชี้วัด - ได้ข้อมูลสำคัญจากการซักประวัติโดยใช้คู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย
นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้อง คำอธิบายผลการดำเนินงาน - สุนทรียสนทนา ( Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิก ถึงขั้นตอนการนำข้อมูลที่สำรวจได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาคัดเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสุขภาพ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ซึ่งกระบวนการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาจะมีเกณฑ์การให้คะแนนตามหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 1. การจัดลำดับความสำคัญตามขนาดของปัญหา (Magnitude of the problem) 2. การจัดลำดับความสำคัญตามความรุนแรงของปัญหา (Severity of the problem) 3. ความเป็นไปได้ในการแก้ไข (Feasibility) 4. ความสนใจของชุมชนต่อการแก้ปัญหา (Community Concern) - สุนทรียสนทนา ( Dialogue) ภายในกลุ่ม เพื่อกำหนดหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานครั้งนี้ ดังนี้
3.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง - รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 2, 3, 4 - คู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน - ภาพการประชุมกลุ่มความรู้ - ภาพการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาร่วมกับประชาชนในชุมชน
4.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการประมวลและกลั่นกรองความรู้ที่ได้ โดยระบุถึงรูปแบบของความรู้ ที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายและสมบูรณ์) เป้าหมาย - ได้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชนที่จะนำมาดำเนินการวางแผนแก้ไขปัญหา - ได้แนวทางการนำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนไปใช้ในการสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน ตัวชี้วัด - ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน ชุมชนละ 1 ปัญหา - แผนงานโครงการในการแก้ไขปัญหาปัญหาในแต่ละชุมชน - ผลการประเมินโครงการแก้ไขปัญหาและผลลัพธ์ของโครงการ - การนำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนโดยนักศึกษาและอาจารย์นิเทศ - รายงานการถอดบทเรียน After Action Review (AAR) หลังใช้คู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนไปใช้ในการสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน คำอธิบายผลการดำเนินงาน -นำปัญหาสุขภาพของประชาชนที่ได้จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา มาวิเคราะห์โยงใยสาเหตุของปัญหา เพื่อหาแนวทางการจัดทำแผนโครงการแก้ไขและสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ -แบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ทดลองใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและถอดบทเรียนหลังการทดลองใช้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น - นำผลการทดลองใช้และผลการถอดบทเรียนมาเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมสุขภาพ และนำเสนอต่อพยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพ (Peers Review) ประจำศูนย์บริการสาธารณสุขและอาจารย์นิเทศเพื่อปรับปรุงให้นวัตกรรมมีความสมบูรณ์ พร้อมแก่การนำไปใช้จริงมากที่สุด 4.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง - ภาพนวัตกรรมด้านสุขภาพและการทดลองใช้ - ภาพการจัดโครงการตามแผนงานแก้ไขปัญหาสุขภาพ - รายงานการถอดบทเรียนหลังทดลองใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ - รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 4, 5
5.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการทำให้ความรู้ใช้งานได้ง่ายและเข้าถึงได้ง่าย) เป้าหมาย - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน - จัดทำรายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ - จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า - จัดทำคู่มือดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการผลิตนวัตกรรมด้านสุขภาพและการนำไปใช้ - จัดทำเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) - เผยแพร่ผลการดำเนินงานทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้า ตัวชี้วัด - การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge sharing) - รายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ - คู่มือดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการผลิตนวัตกรรมด้านสุขภาพและการนำไปใช้ - การจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) - การจัดบอร์ดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของกลุ่มจัดการความรู้ครูสีฟ้า - การเผยแพร่ข้อมูลและผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ทาง www.km.ssru.ac.th - แฟ้มการดำเนินงานกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า คำอธิบายผลการดำเนินงาน การเข้าถึงความรู้ -นำนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน -จัดทำคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน -มีการจัดบอร์ดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานโครงการ KM ให้บุคคลอื่นสามารถทราบข้อมูลได้ - จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน - เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้า เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์ - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing) จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 และ 30 กรกฎาคม 2557 8.30-12.30 น. ณ ลานนวัตกรรม ชั้น 1 ตึก 37 - เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 9.00-12.00 น. ณ ห้อง Self Study ชั้น 3 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างกลุ่มความรู้ 5.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง - คู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ - กำหนดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ และ 30 กรกฎาคม 2557 8.30-12.00 น. - รายงานการถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ After Action Review (AAR) - เว็บไซด์ www.km.ssru.ac.th กลุ่มครูสีฟ้า - ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ การเข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน - แฟ้มการดำเนินงานกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า - รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 6, 7
6.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการถ่ายทอดความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ชัดแจ้งและความรู้ฝังลึก) เป้าหมาย - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge Sharing) - จัดทำรายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ (After Action Reviews) - จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า - แจกจ่ายคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน - จัดทำเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) - เผยแพร่ผลการดำเนินงานทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้า ตัวชี้วัด - การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge sharing) - รายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ (After Action Reviews) - สรุปรายงานการดำเนินงานกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า - การจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) - การแจกจ่ายคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน - การจัดบอร์ดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของกลุ่มจัดการความรู้ครูสีฟ้า - การเผยแพร่ข้อมูลและผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ทาง www.km.ssru.ac.th คำอธิบายผลการดำเนินงาน - การแจกจ่ายคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน - จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า (Explicit Knowledge) เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน - เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้า เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์ - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing) เพื่อสกัด Tacit Knowledge จากการฝึกปฏิบัติงาน ออกมาเป็น Explicit Knowledge ที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มได้ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ และ 30 กรกฎาคม 2557 8.30-12.00 น. ณ ลานนวัตกรรม ชั้น 1 ตึก 37 - เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 9.00-12.00 น. ณ ห้อง Self Study ชั้น 3 6.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง - กำหนดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ และ 30 กรกฎาคม 2557 8.30-12.00 น. - รายงานการถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ After Action Review (AAR) - เว็บไซด์ www.km.ssru.ac.th กลุ่มครูสีฟ้า - ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ และการเข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน - รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 7, 8
7.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และทำให้เกิดการแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงานอย่างไร) เป้าหมาย - ติดตามผลการใช้ นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง - ถอดบทเรียนอาจารย์ผู้ฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงนวัตกรรมและวิธีการเรียนการสอนในปีถัดไป - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge Sharing) และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ เข้าชมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ และด้านการบูรณาการความรู้ เพื่อนำรูปแบบการดำเนินงานไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่นๆ - จัดทำรายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ (After Action Reviews) เพื่อให้สมาชิกและผู้สนใจสามารถศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นๆ - จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกและผู้สนใจสามารถศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน และเป็นแนวทางในการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นๆ - แจกจ่ายคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน - จัดทำเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) เพื่อให้กลุ่มความรู้และสมาชิกทุกท่านมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานการจัดการความรู้อย่างทั่วถึง - เผยแพร่ผลการดำเนินงานทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้า ตัวชี้วัด - การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge sharing) - รายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ (After Action Reviews) - สรุปรายงานการดำเนินงานกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า - การจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) - การแจกจ่ายคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน - การจัดบอร์ดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของกลุ่มจัดการความรู้ครูสีฟ้า - การเผยแพร่ข้อมูลและผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ทาง www.km.ssru.ac.th คำอธิบายผลการดำเนินงาน - แจกจ่ายคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน - จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า (Explicit Knowledge) เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเป็นแบบอย่างในการจัดการความรู้ในหน่วยงานอื่นๆ - เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้า เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์ - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing) เพื่อสกัด Tacit Knowledge จากการฝึกปฏิบัติงาน ออกมาเป็น Explicit Knowledge ที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มได้ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ และ 30 กรกฎาคม 2557 8.30-12.00 น. ณ ลานนวัตกรรม ชั้น 1 ตึก 37 และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชม เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานเพื่อเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติในหน่วยงานอื่นๆ - เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 9.00-12.00 น. ณ ห้อง Self Study ชั้น 3 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละกลุ่ม และนำข้อมูลที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานในหน่วยงานอื่นๆ - ตรวจสอบความสมบูรณ์ของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและคู่มือการนำไปใช้ - ถอดบทเรียนหลังสิ้นสุดการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า เพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลการดำเนินงานจัดการความรู้ในปีถัดไป 7.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง - กำหนดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ และ 30 กรกฎาคม 2557 8.30-12.00 น. - รายงานการถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ After Action Review (AAR) - เว็บไซด์ www.km.ssru.ac.th กลุ่มครูสีฟ้า - ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ และการเข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน - รายงานการศึกษาชุมชน ของนักศึกษา - รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 7, 8 |