หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2557 / สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ / การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
|
|
|||||
|
Comments
|
27 Aug, 2014
| juju
|
กำหนดห้องสมุดต้นแบบโครงการศึกาาดูงานห้องสมุดมีชีวิต เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มฯ ได้เรียนรู้กระบวนการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาความเป็นห้องสมุดมีชีวิตของศูนย์วิทย บริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
27 Aug, 2014
| juju
|
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยการสร้างสื่อ/ช่องทางในการระดมความคิดเห็นของประชาคมชาวสวนสุนันทา เกี่ยวกับสภาพความเป็นห้องสมุดมีชีวิตของศุนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เช่น การจัดทำแบบสอบถามความต้องการด้านห้องสมุดมีชีวิตของผู้ใช้บริการ หรือการจัดทำเนื้อหาในเว็บไซต์ KM เกี่ยวกับสภาพความเป็นห้องสมุดมีชีวิต ของศูนย์วิทยบริการ |
27 Aug, 2014
| apichad.bu
|
สหวิธีการที่ใช้ในการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มห้องสมุดมีชีวิตในครั้งนี้ เป็นส่วนสำคัญของ 2 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศเกี่ยวกับทฤษฎีห้องสมุดมีชีวิต (information literacy) และ 2) กระบวนดึงความรู้ที่อยู่ในตัวคน (Tacit Khowledge)ให้ออกมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)ซึ่งอธิบายได้ดังนี้ 1) กระบวนการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศเกี่ยวกับทฤษฎีห้องสมุดมีชีวิต (information Literacy) สหวิธีการ ช่วยให้สมาชิกของกลุ่มฯ เกิดทักษะการค้นคว้า ความรู้ ความฝัน ความคิดเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความเป็นห้องสมุดมีชีวิตของศูนย์วิทยบริการ เช่น วิธีการกรณีศึกษา สามารถช่วยให้สมาชิกของกลุ่ม ได้เห็นวิธีการดำเนินการของห้องสมุดต้นแบบโครงการศึกษาดูงาน ซึ่งทำให้มีความรู้ ความฝัน ความคิดเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ ที่อยากจะเห็นศูนย์วิทยบริการมีการพัฒนาเป็นห้องสมุดมีชีวิตเหมือนห้องสมุดต้นแบบฯ เป็นต้น 2) กระบวนดึงความรู้ที่อยู่ในตัวคน (Tacit Khowledge) ให้ออกมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) สหวิธีการที่ใช้ในการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ช่วยให้สมาชิกของกลุ่ม ได้มีโอกาสถ่ายทอดสารสนเทศเกี่ยวกับทฤษฎีห้องสมุดมีชีวิต เช่น ความหมาย ความสำคัญ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ (Information Sharing) ระหว่างบุคคลภายในและภายนอกกลุ่มได้ ถือเป็นการสร้างเครือข่ายสารสนเทศ (Information Network)ที่ยอดเยี่ยม และจะทำให้เกิดความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมพัฒนา ในการพัฒนาศูนย์วิทยบริการ ให้มีความเป็นห้องสมุดมีชีวิตต่อไป |
26 Aug, 2014
| peerapol.ke
|
การแลกเปลี่ยนความรู้เป็นกระบวนการสำคัญขั้นตอนหนึ่งของการจัดการความรู้ ที่ทำให้เกิดเวทีในการแสดงความคิดเห็น การต่อยอดความรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต |
26 Aug, 2014
| Supaporn.Wo
|
แหล่งในการแสวงหาความรู้ มีอยู่อย่างมากมาย นอกจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวแล้ว การที่ได้รับความรู้จากประสบการณ์ของบุคคลอื่นๆด้ วย ทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และยังได้รับความรู้เพิ่มขึ้นด้วย |
25 Aug, 2014
| lek
|
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เราสามารถพัฒนาความรู้และต่อยอดความรู้ใด้มากขึ้นกว่าเดิม |
25 Aug, 2014
| nitima.ka
|
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการสร้างเครือข่ายที่ดีมากเลยทีเดียวคะ ทำให้เห็นมุมมองของบุคคลภายนอก หรือการศึกษาดูงานที่สามารถน้ำความรู้มาประยุกต์ใช้กันได้ ทำให้การแปลกเปลี่ยนครั้งนี้ได้ผลออกมามีแบบสำหรับห้องสมุดมีชีวิตของศูนย์วิทบริการ |
23 Aug, 2014
| vasinee.sr
|
สาระสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองบริการการศึกษา. ทำให้เราได้รับความรู้และแนวทางการในจัดการความรู้ว่าเราต้องนำเสนอในรูปแบบไหน. เราเลยมีการปรัปกระบวนการนำเสนอใหม่ซึ่งสมาชิกในกลุ่มต้องมาระดมสมองกันอีกครั้ง |