ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

        
Views: 872
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 25 Aug, 2008
by: มสนสวาส จ.ก.
Updated: 25 Aug, 2008
by: มสนสวาส จ.ก.

ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี มีข้อกำหนดที่ใช้กันอยู่ทั่วไปหรือเป็นข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

            2. สารเคมีทุกตัวที่นำมาใช้ต้องมีการระบุข้อควรระวัง เรื่องความปลอดภัย และความเป็นพิษมากน้อยต่อมนุษย์ในเอกสารที่เรียกว่า Material Safety Data Sheet: MSDS ซึ่งเอกสารนี้จะระบุเรื่องความเป็นพิษมากน้อยของสารเคมีแต่ละตัว ซึ่งทั่วไปแล้วสารเคมีทุกตัวต้องมีเอกสารนี้แนบด้วย            3. การใช้สารเคมีที่มีไอระเหยควรเตรียมอยู่ในควัน และมีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในการสัมผัสกับผิวหนัง หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน

 

            4. มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดการสัมผัสของสารเคมี เช่น มีอุปกรณ์ล้างตา ยาที่ใช้เบื้องต้นเวลาเกิดเหตุ

            5. มีการทำข้อบ่งชี้ของสารเคมีแต่ละประเภทในการใช้ให้ชัดเจน หรือแบ่งจำพวกสารเคมีตามข้อกำหนดความปลอดภัยสากล และสถานที่เก็บสารเคมีต้องมีการระบายอากาศได้ดี หรือมีตู้เก็บที่มีคุณภาพ สามารถป้องกันการลั่นไหลของสารเคมี นอกจากนี้ ยังต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ ต้องมีสถานที่แยกเก็บที่เหมาะสม

            6. อุปกรณ์ที่ระบายอากาศ หรือดูดไอของตู้ควัน ต้องมีเครื่องป้องกันกรองไออีกชั้น เพื่อป้องกันการทำลายสภาวะแวดล้อมภายนอกและสิ่งมีชีวิตภายนอก

            7. ไม่ควรรับประทานอาหารหรือสูบบุหรี่ในห้องปฏิบัติการหรือสถานที่เก็บสารเคมี นอกจากนี้เวลาเลิกทำงานควรล้างมือทุกครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย

           8. อุปกรณ์เครื่องแก้วควรแยกเก็บจากสารเคมี เพราะว่าสารเคมีบางตัวสามารถทำลายเนื้อของแก้วได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อประสิทธิภาพของเครื่องแก้ว ที่นำมาเป็นส่วนประกอบของมาตรฐานในเรื่องของการใช้เครื่องแก้ว มาวิเคราะห์หาปริมาณจะเกิคดวามเสียหาย และเพิ่มค่าสิ้นเปลืองในการตรวจสอบ หรือสอบเทียบใหม่

           9. ต้องมีการแสดงสัญลักณณ์ระบุสถานที่เก็บสารเคมีตามมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อบ่งชี้ให้ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและหาอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม ในการเข้าไปปฏิบัติงาน ณ จุดทำงานนั้น ๆ

         10. ต้องมีการรักษาความสะอาดสถานที่เก็บอยู่สม่ำเสมอ และมีการจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ เป็นระเบียบง่ายต่อการหยิบใช้หรือเคลื่อนย้าย

         11. ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้น เช่น ถังดับเพลิง เป็นต้น

          12. ถ้าต้องเคลื่อนย้ายของสารเคมีปริมาณมาก ควรมีอุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้าย เช่น ตะกร้า หรือรถเข็น เป็นต้น

             1. เก็บหรือสะสมสารเคมีที่เกิดระเบิดได้ง่ายให้น้อยที่สุดและเท่าที่จำเป็น โดยต้องกำหนดการใช้หรือการเก็บรักษาและข้อกำหนดในเรื่องของการป้องกัน การระเบิดอย่างไรบ้าง แะลเรื่องของการเคลื่อนย้าย การนำไปใช้ โดยต้องมีเอกสารในเรื่องความปลอดภัยหรือการเกิดพิษที่ทำให้เกิดอันตราย กับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ปฏิบัติงานแนบมาด้วย                                                                                                                                  
Others in this Category
document การใช้สารเคมี
document การจัดการสารเคมีระดับสากล
document การใช้สารเคมี
document สารเคมีในชีวิตประจำวัน (เครื่องสำอาง)
document ความร้ายแรงของสารเคมีในสบู่ที่เราใช้น่ากลัวแค่ไหน
document ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
document สารเคมี....มีอันตราย