|
||
การแสวงหาความรูของกลุม มีจุดประสงค เพื่อหาความรูเกี่ยวกับการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ เพื่อนํามาสังเคราะห์ออกเปนวิธีการปฏิบัติ มีการประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อรวบรวมองคความรู เกี่ยวกับการบูรณาการงานวิจัย กับการเรียนการสอน และการบริการวิชาการ ดังนี้ วิธีการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ สมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์และวิธีการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนและงานบริการวิชาการว่า สามารถทําได้หลากหลายวิธีโดยสรุป ดังนี้ 1. การนํานักศึกษาร่วมลงพื้นที่เก็บข้อมูลการวิจัยกับอาจารย์เพื่อให้ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง 2. การนําข้อมูลความรู้ได้รับจากการวิจัย เป็นกรณีศึกษาให้กับนักศึกษาได้เรียนในชั้นเรียน 3. การนําประเด็นปัญหาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการวิจัยมาถ่ายทอดในชั้นเรียนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน 4. สรุปประเด็นปัญหาและองค์ความรู้ที่ได้รับ นำมาถ่ายทอดบริการวิชาการแก่สังคม ประเด็นการแลกเปลี่ยนจากสมาชิกกลุ่ม ผู้เข้าร่วมประชุม ได้มีประเด็นแลกเปลี่ยนกับวิทยากรในเรื่องการวางแผนการดําเนินงาน 2 ประเด็น คือ 1. การทําวิจัยก่อนการให้บริการวิชาการหรือการบริการวิชาการก่อนจึงนํามาสู่การวิจัย ประเด็นใดควรจะเกิดก่อน โดยผู้ร่วมกิจกรรมเห็นว่า ความเป็นจริงงานวิจัยควรเกิดขึ้นก่อน กล่าวคือ เมื่อนักวิจัยลงไปศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาบางอย่างในพื้นที่แล้วได้ความรู้จากผลการศึกษาวิจัยนั้นแล้ว จึงสามารถนําไปถ่ายทอดหรือให้บริการวิชาการแก่ประชาชนทั้งในพื้นที่นั้นหรือพื้นที่อื่น ๆ ได้และเมื่อให้บริการวิชาการแล้วก็อาจจะเกิดประเด็นปัญหาที่นํามาพัฒนาสู่การวิจัยต่อเนื่องกันเป็นวงจรสลับกัน 2. การบูรณาการงานบริการวิชาการไปสู่การวิจัยตามเกณฑ์สมศ. ต้องมีการให้บริการวิชาการก่อนจึงพัฒนาไปสู่การวิจัย ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการ สามารถทําได้หลายวิธีการ จากการประชุมสามารถสรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน และการวิจัย ได้ดังนี้ การบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน 1. การวิเคราะห์รายวิชาที่จะทําการสอน ก่อนเริ่มดําเนินโครงการบริการวิชาการ เป็นเทคนิคที่ดีที่ทําให้การบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนประสบผลสําเร็จ เพราะการบูรณาการสามารถดําเนินการได้ไม่ครอบคลุมทุกวิชา 2. การวางแผนการบริการวิชาการ ต้องวางแผนให้ครอบคลุมตลอดภาคการศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรม 3. การนํานักศึกษาร่วมออกพื้นที่ให้บริการวิชาการกับอาจารย์ เป็นเทคนิคการบูรณาการที่ทําให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง 4. ความรู้ได้รับจากการบริการวิชาการหรือประเด็นปัญหาจากการบริการวิชาการ สามารถนํามาใช้เป็นกรณีศึกษาให้กับนักศึกษาได้เรียนในชั้นเรียนได้ การบูรณาการงานบริการวิชาการกับการวิจัย 1. การบริการวิชาการใช้พื้นที่ระดับชุมชนที่อยูในเขตรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งการให้บริการวิชาการ ทําให้อาจารย์สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่องหลายปี เมื่อมีการดําเนินงานต่อเนื่องหลายปีทําให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างที่สามารถนํามาพัฒนาไปสู่การวิจัยได้ 2. จะใช้การทํางานควบคู่กันไปกับการสอนนักศึกษา กล่าวคือ จะมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงงาน หรือออกแบบกิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม กระบวนการบูรณาการงานวิจัย กับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ
|